จากงาน สัมมนา Capital Market Research Forum ครั้งที่ 1/2559 กับหัวข้อ “เดินหน้า เศรษฐกิจไทย กับ บริบทใหม่ (new normal) ที่ต้องเผชิญ” โดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมุมมองต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยจากมุมองของคนในวงการการเงิน ได้แก่ ดร. พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จากัด (มหาชน) ดร. เบญจรงค์ สุวรรณคีรี หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ธนาคารทหารไทย จากัด (มหาชน) คุณวิน พรหมแพทย์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จากัด โดย TerraBKK ได้รวมรวมประเด็นสำคัญรายละเอียดดังนี้

บริบทใหม่ (new normal)คืออะไร ?

โดยปกติคนเรามักคาดหวังว่าอัตราการเติบโต GDP ของประเทศจะอยู่ราวเดียวกันกับปีก่อน ทุกครั้งที่เกิดวิกฤติ เศรษฐกิจจะหดตัว และมักไม่สามารถกลับไปที่อัตราการเติบโตเดิมได้ กลายเป็นข้อจำกัดที่ไม่สามารถเป็นไปตามการคาดหวังในอดีตได้ กลายเป็นรูปแบบบริบทใหม่ (new normal) เช่น GDPปี 1993อยู่ที่ 7.5% หลังจากหลังก็ลดลงเฉลี่ย 5% และช่วงล่าสุดตั้งแต่ปี 2008 เฉลี่ย 3% เป็นต้น

บริบทใหม่ (new normal)เกิดจากอะไร ?

มาจากปัจจัย Globolization ที่หลังจากปี 2008 การส่งออกค้าขายต่างประเทศหดตัว แต่ละประเทศต่างพึ่งพิงการผลิตในประเทศตัวเอง จากสถิติ World Export GDP ตั้งแต่ปี 2008 ปรับตัวลงอย่างเห็นได้ชัด ประเทศพึ่งพาการส่งออกจึงเดือดร้อน อย่างกลุ่มเศรษฐกิจ BRIC ประเทศบลาซิล (Brazil )หรือรัสเซีย (Russia)ก็ได้รับผลกระทบไปแล้ว ประเทศจีน( China) ก็เกิดปัญหาเศรษฐกิจอยู่ อินเดีย( India) จะตามมาในอนาคตหรือไม่ รวมไปถึงการสินค้าคอมมูนิตี้ และ Emerging Market (เศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่) ด้วย

ความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ ?

เศรษฐกิจโลก ก่อนหน้านี้ ถูกกระตุ้นด้วยนโยบายการเงิน เช่น มาตรการ QE ,นโยบายดอกเบี้ยต่ำ ทำให้เศรษฐกิจดูคึกคักได้สักพักก็หยุด Fed เองก็ไม่ชัดเจนว่าจะกระตุ้นเพิ่มมากน้อยเพียงใด การคาดเดาทิศทางความเป็นไปของเศรษฐกิจโลกจึงเป็นไปอย่างไม่ชัดเจน ประเทศจีน ยักษ์ใหญ่มาแรงก่อนหน้านี้ก็เร่งลงทุนเพิ่มการเติบโตประเทศอย่างมาก สังเกตว่า 40%ของGDP มาจากภาคการลงทุน และเมื่อเริ่มเกิดปัญหา ก็จะมาปรับเปลี่ยนจากการภาคลงทุนไปเน้นภาคการบริโภคภายในประเทศ เพื่อพึ่งพาตนเองมากขึ้น รวมทั้งมาตรการแก้ไขปัญหาหลายอย่างในประเทศพร้อมกัน จึงคาดว่าประเทศจีนคงไม่ถึงขนาด Hard Landing แต่การลดการนำเข้า ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศคู่ค้าส่งออกหลายประเทศอยู่แล้ว ทั้งนี้ ความกังวลที่มีต่อประเทศจีนที่สุดในขณะนี้ คือ ไม่ทราบว่าปัญหาเศรษฐกิจแท้จริงของประเทศจีนคืออะไร เกิดการคาดเดาไปในหลายภาคส่วนอย่างภาคอสังหา หรือการทำ shadow banking ทำให้ชี้ชัดความชัดเจนในเรื่องนี้ได้ยาก ด้านราคาน้ำมัน กับความกังวลที่ว่าแนวโน้มลดลงขนาดนี้ มีโอกาสเกิดวิกฤติเศรษฐกิจได้หรือไม่? โดยปกติแล้ววิกฤติเศรษฐกิจมันเกิดจากปัญหา Real Sector ขนาดใหญ่จนกระทบฝั่ง Bank เกิดเป็นปัญหาเศรษฐกิจโลกได้ ซึ่งขณะนี้ก็ต้องติดตามว่า บริษัทขุดเจาะน้ำมันระดับเล็กและกลางมีผลต่อภาคการเงินการธนาคารมากน้อยเพียงใด ซึ่งระดับสัดส่วนเงินกู้คงไม่น่ากังวลมากนัก แต่สำหรับ High Yield ความกังวลของนักลงทุนมีผลต่อการขายออกสูง ซึ่งก็เกิดภาวะอันตรายได้ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป

ประเทศไทยจะเดินหน้าทิศทางใด ?

ปัญหาสำคัญประเทศตอนนี้อยู่ที่ภาคการส่งออกและภาคเกษตรกรรม ขณะที่หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น อัตราหนี้ครัวเรือนต่อGDP อยู่ที่ 80 ซึ่งนี้คือตัวเลขหนี้ในระบบเท่านั้น หากรวมหนี้นอกระบบจะเป็นอย่างไร และพบว่าการก่อหนี้เหล่านี้กลับไม่ก่อเกิด Consumption ด้วย รูปแบบบริบทใหม่(new normal)ของประเทศไทย คือความท้าทายในการกล้าทำสิ่งที่ต่างไปจากเดิม เช่น นอกเหนือจากการค้าขาย CLMV ทำยังไงให้เราเป็นไปในแบบที่เหมือนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในประเทศเรา , ภาคบริการที่ไม่ใช่แค่การท่องเที่ยว เป็นต้น ทั้งนี้ก็คาดว่าประเทศไทยยังคงต้องพึ่งพาการลงทุนภาครัฐเป็นหลัก การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน สร้างความเชื่อมั่นเพื่อให้กระตุ้นให้เกิดการลงทุนภาคเอกชนต่อไป

ภาพรวมตลาดหุ้นไทยปี 2559

ตลาดหุ้นไทยโดยรวมยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจประเทศที่ยังอ่อนแอ การเลือกลงทุนตลาดหลักทรัพย์ควรเน้นไปที่ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์จากโครงการลงทุนรัฐบาล , การท่องเที่ยว เช่น กลุ่มโรมแรม ,กลุ่มค้าปลีก เป็นต้น และกลุ่มที่เติบโตตามโครงการประชากรผู้สูงวัย เช่น กลุ่มประกัน ,กลุ่มโรงพยาบาล เป็นต้น ทั้งนี้ เน้นไปที่หุ้นขนาดกลางที่แนวโน้มเติบโตดี ผลการดำเนินงานดี และพึ่งพิงภายในประเทศเป็นหลัก --เทอร์ร่า บีเคเค

บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก