ยื่นภาษี 2559 เป็นหนึ่งหน้าที่คนไทยพึ่งปฎิบัติ ในปีนี้กรมสรรพากรเปิดให้ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.) ผ่านอินเตอร์เน็ตปีภาษี 2558 ตั้งแต่ 1 มกราคมไปจนถึง วันสุดท้าย 8 เมษายน 2559 ทั้งนี้ TerraBKK ขอเสนอข้อมูลที่มนุษย์เงินเดือน และผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาควรรู้ ทั้งในด้านเอกสารประกอบการยื่นแบบ, วิธีการยื่นแบบออนไลน์ ไปจน บทลงโทษหากยื่นแบบภาษีเกินระยะกำหนด รายละเอียดดังนี้

ประเภทภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สำหรับบุคคลธรรมดาจะต้องทำหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรมสรรพากรแบ่งออกเป็น 5 ประเภท โดยมนุษย์เงินเดือนชาวไทยจะมีโอกาสเสียภาษีหลักๆ คือ ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91 ขึ่นอยู่กับแหล่งที่มารายได้ รายละเอียดดังนี้

  • ภ.ง.ด. 90 ผู้มีเงินได้พึงประเมินทั่วไป หมายถึง คนที่มีรายได้หลากหลายช่องทาง เช่น เงินเดือน ,เงินปันผล , ค่าเช่า เป็นต้น จะยื่นภาษีระหว่าง มกราคม - มีนาคม ของปีภาษีถัดไป
  • ภ.ง.ด. 91 ผู้มีเงินได้พึงประเมินจากการจ้างแรงงานอย่างเดียว หมายถึง เป็นมนุษย์เงินเดือนเต็มตัวโดยไม่ได้มีรายได้อื่นๆ จะยื่นภาษีระหว่างมกราคม - มีนาคม ของปีภาษีถัดไป
  • ภ.ง.ด. 93 ผู้มีเงินได้พึงประเมินขอชำระภาษีล่วงหน้า ก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบตามปกติ เพื่อแบ่งเบาภาษีปลายปี
  • ภ.ง.ด. 94 การยื่นภาษีครึ่งปีแรกของผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา จะยื่นภาษีระหว่างกรกฎาคม - กันยายน ของปีภาษีนั้น เฉพาะกับผู้มีเงินได้พึงประเมิน 4 ประเภท ดังนี้
  • เงินได้ประเภทที่ 5 ได้แก่ เงินได้ตากค่าเช่า/ค่าผิดสัญญาเช่า เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น หมอ นักบัญชี นักกฎหมาย สถาปนิก วิศวกร ฯลฯ เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่มีการเตรียมอุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างเอง เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่เงินได้จากการทำธุรกิจ การพาณิชย์ เกษตรกรรม หรือเงินได้อื่นๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เงินได้ประเภท 1-7
  • ภ.ง.ด. 95 บุคคลต่างด้าวผู้มีเงินได้พึงประเมินจากการจ้างแรงงาน

เอกสารประกอบการยื่นแบบภาษี

จะเป็นเอกสารแสดงแหล่งที่มารายได้ รวมทั้งเอกสารหลักฐานเพื่อหักลดหย่อนรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปีนั้น

  • เอกสารแสดงรายได้ เช่น หนังสือรับเงินเดือน (50 ทวิ) รับจากนายเจ้า โดยจะมีรายละเอียดชื่อลูกจ้าง , จำนวนเงินได้ทั้งปี , จำนวนเงินจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น
  • หลักฐานหักลดหย่อนจากรายการการลงทุน เช่น เอกสารรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF),กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) , เอกสารเครดิตภาษีเงินปันผลจากตลาดหลักทรัพย์ , หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย กองทุนรวมต่าง ๆ เป็นต้น
  • หลักฐานหักลดหย่อนจากรายการครอบครัว เช่น หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา, ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา, ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ เป็นต้น
  • หลักฐานลดหย่อนอื่นๆ เช่น ใบเสร็จรับเงินบริจาคการกุศลสาธารณะ , ใบกำกับภาษีค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวในประเทศ , ใบกำกับภาษีค่าซื้อสินค้าและบริการช่วง 25-31 ธค. 58 ที่ผ่านมา เป็นต้น

การยื่นแบบภาษีออนไลน์

มนุษย์เงินเดือนผู้มีรายได้ จะสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2558 ผ่านระบบออนไลน์ได้ตลอด 24 ชม. ทาง เว็บไซต์กรมสรรพากร ดังนี้

(คลิกภาพเข้าสู่ Web กรมสรรพากร)

    • ลงทะเบียน สำหรับผู้ยื่นแบบครั้งแรกจะต้องทำการลงทะเบียน กรอกข้อมูลส่วนตัว แล้วยืนยันการลงทะเบียนให้เรียบร้อยจึงจะเข้าสู่การยื่นแบบภาษีได้

(คลิกภาพเข้าสู่หน้าลงทะเบียน กรมสรรพากร)

    • ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90/91 เข้าสู่หน้าเว็บยื่นแบบโดยทำการ Login เข้าสู่หน้ายื่นแบบออนไลน์ กรมสรรพากร และปฎิบัติ 6 ขั้นตอน ตามลำดับดังนี้

(คลิกภาพเข้าสู่หน้า Login กรมสรรพากร)

      • หน้าหลัก : แสดงรายละเอียดขอผู้มีเงินได้ เช่น ชื่อ-สกุล ที่อยู่ สถานภาพ เป็นต้น
      • เลือกเงินได้/ลดหย่อน : แสดงรายการเงินได้พึงประเมิน และรายการยกเว้น/ค่าลดหย่อน ให้เลือกทำเครื่องหมายหน้าข้อตามข้อมูลของตัวเรา
      • บันทึกเงินได้ : ใส่รายละเอียดแต่ละรายการเงินได้ตามเอกสารหลักฐาน
      • บันทึกลดหย่อน : ใส่รายละเอียดแต่ละรายการรายการตามเอกสารหลักฐาน
      • คำนวณภาษี : ระบบจะทำการสรุปข้อมูล กรอกตัวเลขสรุป และมีช่องให้เลือกแสดงความประสงค์จะบริจาคภาษีให้พรรคการเมือง และคำร้องขอคืนภาษี
      • ยืนยันการยื่นแบบ : ตรวจสอบข้อมูลให้เรียบร้อยก่อนกดยืนยัน

กรณีผู้มีเงินได้มีภาษีชำระไว้เกิน

        ระบบจะปรากฏส่วน “คำร้องขอคืนภาษี” จัดส่งเช็คคืนภาษีทางไปรณีย์ เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยดี ระบบจะแสดงผลการยื่นแบบ ให้กด “พิมพ์แบบ”

กรณีผู้ที่ต้องชำระภาษีเพิ่มเติ่ม

        ระบบจะปรากฎส่วน “ยืนยันชำระภาษี” หลากหลายช่องทาง เช่น ชำระออนไลน์บัตรเครดิต หรือ Pay-in Slip จ่ายที่Counter Service เป็นต้น แล้วกด “พิมพ์แบบ” ทั้งนี้

กรณีสอบถามข้อมูลการขอคืนภาษี

      สามารถตรวจสอบได้หลังจากที่ยื่นแบบ 1 วัน

(คลิกภาพเข้าสู่หน้าบริการขอคืนภาษี กรมสรรพากร)

กรณียื่นแบบเกินระยะเวลากำหนด

  • ไม่ยื่นแบบ หรือ ยื่นแบบฯเกินระยะเวลากำหนด ปรับไม่เกิน 2,000 บาท สามารถขอลดค่าปรับได้
  • ไม่ชำระเงินภาษีเพิ่มเติ่ม ภายในระยะเวลากำหนด ต้องไปยื่นแบบ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา จ่ายชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน รวมทั้งค่าปรับตามข้อข้างต้น
  • ยื่นแบบเพิ่มเติม ภายหลัง ระยะเวลากำหนด หากมีเงินภาษีต้องชำระเพิ่มเติ่ม ให้ชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หากไม่มีชำระเพิ่มเติ่ม ไม่ต้องเสียเงินใดๆ
  • ยื่นแบบ ขอผ่อนชำระเงินภาษี หากไม่ได้ชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่งภายในกำหนดเวลา ถือว่าหมดสิทธิ์การผ่อนชำระและต้องชำระภาษีอากรที่ค้างอยู่ทั้งหมด โดยต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ --เทอร์ร่า บีเคเค

ที่มา : อ้างอิงข้อมูลจากกรมสรรพากร

บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก