ภายหลังจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC พื้นที่บริเวณการค้าชายแดนต่างก็ได้เป็นที่จับจ้องของนักลงทุน อีกทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็ให้ความสำคัญ โดยได้จัดให้เมืองชายแดนเหล่านี้เป็น เขต เศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งยิ่งกระตุ้นให้เกิดการพัฒนามากมายในพื้นที่ ทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานเดิมทางเศรษฐกิจ การเพิ่มสิทธิประโยชน์จากการลงทุนในเขตเศรษฐกิจ การหนุนเสริมในด้านการรองรับการขนส่ง (Logistic) เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับประเทศคู่ค้าและดึงดูดเม็ดเงินเข้ามาในประเทศ “อ. แม่สอด ” เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดตาก และเป็นอีกหนึ่งเมืองที่มีการจัดตั้งให้มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ได้ถูกประกาศบริเวณจังหวัดตาก ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ 14 ตำบล ได้แก่ อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด และอำเภอพบพระ พื้นที่ 1,419 ตารางกิโลเมตร โดยอำเภอแม่สอดได้ถูกกำหนดให้มีบทบาทในการเป็นเมืองหน้าด่าน มีศูนย์กลางการบริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมและการค้าชายแดน ศูนย์กระจายสินค้า OTOP การคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ และเป็นจุดเปลี่ยนผ่านสู่การท่องเที่ยวในประเทศเมียนมาร์ ทั้งนี้เนื่องจากอำเภอแม่สอดมีอาณาเขตพื้นที่ติดกับประเทศเมียนมาร์ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของเมืองไทย อีกทั้งทางประเทศเมียนมาร์เองก็มีแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาธุรกิจในเมืองเมียวดี ซึ่งมีระยะทางการค้าที่สะดวกที่สุดอยู่ที่เส้นทางแม่สอด

1. นโยบายตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด เป็นนโยบายที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนเพื่อดึงดูดการลงทุนและกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจ รวมทั้งช่วยกระจายอำนาจการปกครอง ทำให้เขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน กลายเป็น “ศูนย์กลางการค้า” กับเพื่อนบ้าน เขตเศรษฐกิจพิเศษจะให้สิทธ์ BOI สูงสุดกับธุรกิจ 13 ประเภท ดังนี้ 1.อุตสาหกรรมการเกษตร ประมง และกิจการที่เกี่ยวข้อง 2.เซรามิก 3.อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง4.อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือน 5. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 6.การผลิตเครื่องมือแพทย์ 7.อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักรและชิ้นส่วน 8.อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 9.การผลิตพลาสติก 10.การผลิตยา 11.กิจการโลจิสติกส์ 12.นิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรม และ 13.กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว สิทธิประโยชน์ทางด้านการลงทุนและการเงินจากการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแนวชายแดน ดังนี้ สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนที่ได้รับจากก BOI ภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้รับการยกเว้น 8 ปี และลดหย่อนสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติเป็นระยะเวลา 5 ปีนับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล อากรขาเข้า ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร และยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 5 ปี แรงงานต่างด้าว อนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมสำหรับกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI จะได้รับการลดหย่อยภาษีจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 10 เป็นเวลา10 รอบระยะเวลาบัญชี สิทธิประโยชน์ทางการเงิน เงินกู้ ดอกเบี้ยผ่อนปรนรายละ 1-20 ล้านบาท 2. มูลค้าการค้าชายแดนกับประเทศเมียนมาร์ในพื้นที่ชายแดนแม่สอด ประเทศไทยมีจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเมียนมาร์ด้วยกันทั้งหมด 6 จังหวัด โดยอำเภอแม่สอด เป็นพื้นที่ชายแดนที่มีมูลค่าการค้าชายแดนสูงที่สุดรองจากชายแดนฝั่งกาญจนบุรี โดยมีรายได้จากการส่งออกสินค้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านปีละกว่า 50,000-70,000 ล้านบาท อีกทั้งยังมีการเติบโตของมูลค่าการส่งออกสินค้าเฉลี่ยถึง 25% ต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2559 จากข้อมูลล่าสุดที่กรมการค้าต่างประเทศได้เก็บไว้ พื้นที่การค้าชายแดนของจังหวัดตาก มีดุลการค้าถึง 52,906 ล้านบาท โดย TerraBKK Researchได้เจาะตัวเลขของสินค้าส่งออกบริเวณชายแดนแม่สอด ระหว่างปี 2558-2559 พบว่าสินค้าที่ส่งออกมากที่สุด เป็นเครื่องดื่มที่มีและไม่มีแอลกอฮอลล์ น้ำตาลทราย อุปกรณ์สื่อสาร ผ้าผืนและด้าย พลิตภัณฑ์ประเภทเหล็กกล้า, สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร, รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ โดยสินค้าที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุด คือ 163.86% คือน้ำตาลทราย ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าการส่งออกเป็นลำดับที่สามจากสินค้าทั้งหมด และผลจากการประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทำให้มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าการค้าชายแดนบริเวณพื้นที่อำเภอแม่สอด จะเติบโตขึ้นอีก 50% ในปี 2560 นี้

3. ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง          ด้วยการให้ความสำคัญจากทางภาครัฐที่เล็งเห็นศักยภาพพื้นที่ของเขตเศรษฐกิจแม่สอด ซึ่งจะเป็นประตูการค้าสู่ตะวันตกที่สำคัญอีกหนึ่งแห่งของประเทศ จึงทำให้มีการพัฒนาด้านการคมนาคมทั้งทางอากาศและทางบก เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเดินทางและะการขนส่งสินค้า โดยโครงสร้างพื้นฐานที่ทางภาครัฐได้ดำเนินการภายในพื้นที่อำเภอแม่สอด โดยมีทั้งโครงการที่อยู่ในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งที่ดำเนินการเสร็จและอยู่ในแผนพัฒนา รวมมูลค่าโครงการเบื้องต้น 16,000 ล้านบาท โดยได้แก่

 4. แผนพัฒนาโครงการลงทุนของภาคเอกชนมูลค่ากว่า 12,200 ล้านบาท          แม่สอด เป็นเพียงอำเภอเท่านั้น ไม่ใช่จังหวัด แต่ก็ได้รับความสนใจจากภาคเอกชนอย่างท่วมท้น เนื่องจากทิศทางของการพัฒนาเมืองแม่สอดนั้นยังไปได้ไกลอีกมาก นอกจากเม็ดเงินจากการลงทุนของทั้งในและต่างประเทศจะหลั่งไหลเข้ามาแล้ว ประชากรและความต้องการก็จะเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ปัจจุบันแม่สอดจึงไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเพียงแค่เมืองชายแดนเฉยๆเท่านั้น แต่เป็นพื้นที่แห่งการลงทุน ประตูการค้าด่านไทย-เมียนมาร์ ที่สามารถหวังผลกำไรได้อย่างมหาศาล

  •  คอนโดมิเนียมเติบโตอย่างรวดเร็ว - TerraBKK Research ได้ลองสำรวจราคาที่ดินบริเวณพื้นที่แม่สอดอย่างคร่าวๆ พบว่าปัจจุบันแม่สอดมีราคาที่ดินที่พุ่งพรวดขึ้นสูงมาก โดยจากเดิมราคาที่ดินไร่ละ 4-6 ล้านบาท ปัจจุบันราคาที่ดินแม่สอดบริเวณที่ติดถนนสายเอเชียนั้นไม่ต่ำกว่าไร่ละ 13-15 ล้านบาทเลยทีเดียว ด้วยมูลค่าที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สะท้อนความต้องการของที่อยู่อาศัยในอนาคตได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ นักพัฒนาทั้งในและนอกพื้นที่ ต่างช่วงชิงที่ดินในการเปิดตัวคอนโด โดยนับตั้งแต่ปี 2556 ที่โครงการคอนโดแรกได้เปิดตัวจนถึงปัจจุบัน มีโครงการคอนโดเปิดตัวแล้วกว่า 5 แห่ง ซึ่งเป็นเวลาเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น โดยกลุ่มเป้าหมายคือคนไทยทั้งในพื้นที่และนักธุรกิจที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่แม่สอด 70% และชาวต่างชาติ 30% โดยราคาเฉลี่ยนของคอนโดที่แม่สอดนั้นอยู่ที่ 40,000-50,000 บาทต่อตารางเมตร
  • การเปิดตัวอย่างต่อเนื่องของศูนย์การค้าเจ้าใหญ่ - กลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่หลายเจ้าได้เข้ามาจับจองและพัฒนาโครงการกันอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งห้างสรรพสินค้า โรงแรมบูติค รีสอร์ท หรือการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดของคอนโดมิเนียมนั้น ต่างก็แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเมืองแม่สอด อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนได้ชัดเจน ทั้งการเปิดตัว Robinson Lifestyle Center ห้างสรรพสินค้าไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์แห่งแรกของอำเภอแม่สอด และจังหวัดตาก โดย Central Group ที่ได้เปิดตัวในปี 2558 บนเนื้อที่กว่า 54,000 ตร.ม. และโครงการไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์จาก MBK Group นั่นคือ MBK Lifestyle Mall บนเนื้อที่กว่า 20,000 ตร.ม. และยังไม่รวมถึงการขยายและพัฒนาโครงการจากศูนย์การค้าอื่นๆ อาทิเช่น Makro, Tesco Lotus , MEGA Home และศูนย์การค้าจากผู้ประกอบการท้องถิ่น MAMA Homemart อีกด้วย

ตำแหน่งห้าง สิ่งที่ทำให้แม่สอดเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านการลงทุน ไม่เพียงแต่จะเป็นเรื่องการเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเท่านั้น แต่การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมือง ทั้งการเพิ่มขึ้นของที่อยู่อาศัยแนวตั้ง ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ โรงแรม รีสอร์ท หรือศูนย์ประชุม สะท้อนให้เห็นถึงกิจกรรมที่ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี โดยถ้าหากย้อนกลับไปประมาณ 5-10 ปีก่อนหน้านี้ ก็นับว่าแม่สอดได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ไม่แพ้กับจังหวัดใหญ่ๆเลยทีเดียว -- เทอร์ร่า บีเคเค

บทความโดย : TerraBKK ข่าวอสังหาฯ

TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก