ทำไมในสถานการณ์เดียวกัน ความคิดของแต่ละบุคคลจึงมีความต่างกัน อาจกล่าวได้ว่า ส่วนหนึ่งคงจะมาจากพื้นฐานชีวิต สภาพแวดล้อม หรือ การเลี้ยงดูของครอบครัว หล่อหลอมให้คุณเป็นคุณอย่างทุกวันนี้ แล้วถ้าคุณรู้สึกว่า คุณอยากจะเปลี่ยนเป็นคนใหม่ พัฒนาทักษะความคิดและมุมมองในชีวิต ควรทำอย่างไร TerraBKK Research ส่งต่อความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับ 6 วิธี เพิ่มประสิทธิภาพ ความคิด รายละเอียดดังนี้

1. กลับไปแก้ไขความเชื่อเชิงลบ

ความเชื่อเชิงลบสามารถเกิดขึ้นกับทุกคน เช่น ฉันไม่ดีพอ , ผมไม่สมควรได้รับนี้ เป็นต้น มักเกิดจากอิทธิพลจากประสบการณ์เลวร้ายที่ผ่านมาของตัวเรา และเราก็เก็บมันเป็นแผลในใจ ส่งผลต่อความมั่นใจและปิดกั้นความสามารถตนเองดังนั้น จงย้อนกลับไปให้อภัยตนเอง และเรียนรู้บทเรียน เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับตนเอง อย่าปล่อยให้ภาพร้ายกลับมาหลอกหลอนคุณไปตลอดชีวิต

2. ความคิดที่มีประสิทธิภาพ มาจาก คำพูดที่มีประสิทธิภาพ

บางคำที่คุณพูดคุยกับตนเอง เช่น ฉันพยายามได้แค่นี้เอง เป็นต้น คำพูดดูถูกตนเองไม่ช่วยอะไร นอกจากจะลดกำลังใจตนเองไปเปล่าๆ หากคุณรู้จักเลือกใช้คำที่มีประสิทธิภาพ เช่น ฉันต้องเป็นผุ้เชี่ยวชาญด้านนี้และจะมีคนมายอมรับในความสามารถของฉัน เป็นต้น คำพูดที่มีประสิทธิภาพที่ตั้งใจกล่าวขึ้นจะเป็นโจทย์สำคัญให้คุณคิดและทำเพื่อหนทางไปสู่ความสำเร็จ “พยายาม” ไม่ใช่คำที่มีประสิทธิภาพมากพอ ลองเปลี่ยนเป็น “ต้อง” เพื่อเน้นย้ำว่าจำเป็นต้องทำให้ได้ ดังนั้น คำพูดที่มีประสิทธิภาพจะนำไปสู่ ความคิดที่มีประสิทธิภาพ และช่วยส่งเสริมการกระทำที่มีประสิทธิภาพด้วย

3. ความคิดเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน

เคยไหม หากคุณมีความคิดเชิงลบขึ้นมาสักเรื่อง ลองนั่งสังเกตพฤติกรรมที่ตัวคุณแสดงออกมาสิ มันจะนำพาให้เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทันที เช่น คุณเข้าใจผิดและคิดว่าแฟนมีชู้ คุณจะเริ่มชวนเขาทะเลาะ เริ่มการกระทำประชดประชัน ความคิดของคุณจะประมวลอดีตแง่ร้ายในเขาต่างต่างนานา จนไม่มีความสุขตอนอยู่ด้วยกัน เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม หากคุณเข้าใจและรู้สึกถึงความรักที่แฟนมีต่อคุณอย่างลึกซึ้ง จิตใต้สำนึกของคุณจะบ่งการความคิดและการกระทำไปในอีกทิศทางทันทีเช่นกัน ดังนั้น ตามความคิดตนเองให้ทัน อย่าปล่อยให้ตนเองมีทิศทางความคิดที่เลวร้าย นอกจากนี้ยังทำให้ ตัวคุณเองจะเข้าใจถึงจิตใจผู้คนรอบกายได้มากขึ้น ทำไมเขาต้องมีปฏิกิริยาแบบนั้น เป็นต้น

4. ความคิด มักเกิดขึ้นในสภาวะผ่อนคลาย

มีความคิดดี ๆ มากมายเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เราไม่ได้ใช้ความคิด แต่นั้นมักจะเกิดหลังจากมีขบวนการสืบค้นหรือการทำความเข้าใจมาแล้วอย่างลึกซึ้งเสียก่อน แต่คนเราในปัจจุบันอาจเข้าใจผิด ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทันด่วน ทำให้คนเรามีความอดทนน้อยลงและมองทุกอย่างเป็นเรื่องง่ายเกินกว่าความจริง การใช้ความคิดแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไม่ใช่แนวทางในการพัฒนาทักษะความคิด เมื่อไรที่คุณหยุดคิดเรื่องที่กำลังคิดค้างคา คุณควรกำหนดตนเองด้วยว่า คุณจะกลับมาคิดอีกครั้งเมื่อใด

5. ความคิด กระตุ้นได้ด้วยความโลภ

เป็นธรรมดาของมนุษย์โลก เกิดมาพร้อมกับความโลภ ความต้องการในชีวิต และนั้นเอง เราจึงมักสังเกตเห็นได้ว่า งานอะไรก็ตาม ที่ต้องใช้แรงกระตุ้นในการทำมาก ๆ มักจะมีรางวัลและผลตอบแทนที่คุณต้องการมาเป็นแรงขับดัน ดังนั้น ลองใช้ “ความต้องการ” มาเป็นแรงกระตุ้นความคิดของคุณ เช่น ปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตที่คุณขาดหายไปในตอนนี้ ใช้ต้องการนั้น ทำให้มันกลายเป็นความคิดที่มองเห็นให้ชัดเจน และดำเนินการเพื่อให้ได้มา เป็นต้น จงใช้จิตวิทยาเรียกร้องให้สมองและหัวใจของคุณทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ

6. ความคิด การกระทำ จิตใจ

ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นตั้งโจทย์และเริ่มต้นขบวนการคิดใด ๆ ลองตรวจสอบเสียก่อนว่า นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากตัวคุณเองจริง ๆ ไม่ได้เกิดจากความคิดของคนอื่น เพราะสิ่งเหล่านั้นอาจไม่มีพลังมากพอที่จะทำให้คุณทำไปตลอดสุดทางได้ ขั้นต่อมา ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน บางคนใช้วิธีตกผลึกความคิดก่อน จึงลงมือทำ บางคนคิดไปทำไป ตลอดทางคุณต้องต่อสู่กับความคิดเชิงลบ ความเครียด แนะนำว่า จงโฟกัสกับเหตุการณ์ปัจจุบันให้มากที่สุด ทั้งหมดคือ การจัดการสมอง , หัวใจ และการกระทำของคุณไม่ให้มันขัดแย้งกันเอง --เทอร์ร่า บีเคเค

บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก