สรุป ผลประกอบการ ปี 2559 “ กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ ”
สรุป ผลประกอบการ รอบปี 2559 “ กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ ” พบว่า กลุ่มการบิน มีตัวเลขทางการเงินที่ดีในอันดับต้นๆของกลุ่ม การบินไทย (THAI) ทำรายได้สูงสุดในกลุ่ม 1.81 แสนล้านบาท ขณะที่ตัวเลขกำไร ต้องยกให้ ท่าอากาศยานไทย (AOT) ไปครอง ขณะที่ กลุ่มเดินเรือ ยังคงไม่ฟื้นตัว TerraBKK Research สังเกตการณ์บริษัทมหาชนกลุ่มอุตสาหกรรม “กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์” จำนวน 18 บริษัท เปรียบเทียบพื้นฐานด้านราคา พบว่า บริษัทธุรกิจค้าปลีกมักมี market cap. (ราคาปิดของหุ้น X ปริมาณหุ้นจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์) เฉลี่ยราว 2,500-37,800 ล้านบาท แต่ก็มี 2 บริษัทมหาชน ที่มีขนาดระดับแสนบาทล้าน ล้วนแต่เป็นชื่อที่เรารู้จักกันดี นั้นคือ ท่าอากาศยานไทย(AOT) และ ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ(BEM) ขณะที่ อัตราส่วน P/E (การเปรียบเทียบราคาตลาดของหุ้นสามัญต่อกำไรสุทธิต่อหุ้นสามัญตัวนั้น ๆในรอบ 12 เดือน) เฉลี่ย 20.5-36.5 เท่า อัตราส่วนสูงสุดจะเป็นการบินไทย(THAI) อัตราส่วน P/BV (การเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นสามัญต่อมูลค่าทางบัญชีของหุ้นสามัญตัวนั้น ๆ) เฉลี่ย 1.2-2.95 เท่า อัตราส่วนสูงสุดจะเป็น สายการบินนกแอร์(NOK) อัตราเงินปันผลตอบแทน (การเปรียบเทียบเงินปันผลต่อหุ้นเทียบกับราคาตลาดของหุ้นสามัญตัวนั้น ๆ) เฉลี่ย 1.35% - 3.75% โดยบริษัทที่มีอัตราปันผลสูงสุด จะเป็น บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์(BTS) 8.14%
TerraBKK Research รวบรวม ผลประกอบการบริษัท รอบปี 2559 ของอุตสาหกรรม “ กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ ” จำนวน 18 บริษัท ประกอบด้วยตัวเลขและอัตราส่วนทาการเงิน ได้แก่ รายได้ (Revenue) ,อัตรากำไรสุทธิ (NPM) ,กำไรต่อหุ้น (EPS) , เงินสดสุทธิ (Net Cash Flow ) , อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE),อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) และ หนี้สินต่อทุน ( D/E ) รายละเอียดดังนี้ 1. รายได้ (Revenue) ของกลุ่มอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ ปี 2559 ที่ผ่านมา TerraBKK Research พบว่า ส่วนใหญ่บริษัทมีการปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน บริษัทที่สามารถทำรายได้สูงโดดเด่นของกลุ่มยังเป็นกลุ่มการบิน ได้แก่ การบินไทย(THAI) 1.81 แสนล้านบาท อันดับถัดมาจะเป็น ท่าอากาศยานไทย(AOT) และ เอเชีย เอวิเอชั่น(AAV) ขณะที่บริษัทที่มีการเปลี่ยนแปลงรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ไวส์ โลจิสติกส์(WICE) , บางปะกง เทอร์มินอล(BTC) และ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์(BTS) 2.อัตรากำไรสุทธิ ( Net Profit Margin : NPM) ปี 2559 ของอุตสาหกรรมนี้ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอัตรากำไรสุทธิราว 5.65% โดย 3 อันดับแรกที่มีอัตราส่วนกำไรสุทธิดีที่สุด ได้แก่ ท่าอากาศยานไทย(AOT) 37.1% ,กรุงเทพโสภณ(KWC) 29.5% และ นามยง เทอร์มินัล(NYT) 27.3% ขณะเดียวกัน TerraBKK Research สังเกตพบบริษัทที่มีอัตรากำไรสุทธิลดลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นั้นคือ อาร์ ซี แอล(RCL) ,จุฑานาวี(JUTHA) และ สายการบินนกแอร์(NOK) 3. กำไรต่อหุ้น (Earning per Share : EPS) สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ ในปี 2559 นี้ มีทั้งตัวเลขที่ปรับตัวดีขึ้นและแย่ลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ TerraBKK Research พบบริษัทที่มีตัวเลขกำไรต่อหุ้นสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ท่าอากาศยานไทย(AOT) 13.7 บาทต่อหุ้น , กรุงเทพโสภณ(KWC) 11.98 บาทต่อหุ้น และ การบินกรุงเทพ (BA) 0.84 บาทต่อหุ้น4. อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return on Equity : ROE) ปี 2559 ของกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ มีค่าเฉลี่ยราว 4.45% TerraBKK Research พบ 3 อันดับแรกที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นสูงสุด 3 อันดับแรก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ได้แก่ การบินไทย(THAI) รวมทั้ง ทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) และ เอเชีย เอวิเอชั่น(AAV) ขณะเดียวกัน บริษัทที่มีอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นลดลง 3 อันดับแรก ได้แก่ สายการบินนกแอร์(NOK ) , จุฑานาวี(JUTHA) และ อาร์ ซี แอล(RCL) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5. อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Asset : ROA) ของกลุ่มอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์นี้ TerraBKK Research โดยภาพรวมช่วงปี 2559 มีค่าเฉลี่ยราว 3.8% สำหรับ 3 อันดับแรกที่มีอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์สูงสุด ได้แก่ ท่าอากาศยานไทย(AOT) 15.6%, กรุงเทพโสภณ(KWC) 14.6% และ นามยง เทอร์มินัล(NYT) 11.7% โดย ทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA)) ปรับตัวเพิ่มสูงสุด และ สายการบินนกแอร์(NOK) ปรับตัวลงแรงที่สุด เมื่อเทียบกับปีก่อน
6. เงินสดสุทธิ (Net Cash Flow ) แสดงการเคลื่อนไหวของเงินทุนผ่านการดำเนินงานของบริษัททั้ง 3 กิจกรรม อันได้แก่ กิจกรรมดำเนินงาน ,กิจกรรมลงทุน,กิจกรรมจัดหาเงิน โดยบริษัทที่มีเงินสดสุทธิโดดเด่นได้แก่ ท่าอากาศยานไทย(AOT) ทั้งนี้ หากผลลัทธ์ออกมาเป็นตัวเลขติดลบ TerraBKK Research อธิบายว่า ขณะนั้นบริษัทมีสถานะเงินสดไหลออกมากกว่าเงินสดไหลเข้า จุดนี้เองอาจส่อสัญญาณขาดสภาพคล่องในการดำเนินงานได้ ซึ่งพบว่า 3 อันดับแรกที่มีตัวเลขเงินสดสุทธิติดลบมากที่สุด ได้แก่ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์(BTS) , การบินไทย(THAI) และ ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ(BEM) ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากกิจกรรมจัดหาทุน เช่น เงินสดจ่ายชำระคืนตราสารหนี้ , ดอกเบี้ยจ่าย เป็นต้น และกิจกรรมลงทุน อาทิเช่น จ่ายภาษีเงินได้ , เงินลงทุนระยะยาว, เงินสดจ่ายจากการซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ เป็นต้น 7. หนี้สินต่อทุน ( Debt to Equity : D/E ) ของกลุ่มอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ ปี 2559 นี้ หากค่าไม่เกิน 2 เท่า ถือว่าอยู่ในเกณฑ์พอใช้ แต่ก็มี 3 บริษัทที่มีตัวเลขเกิน 2 เท่า นั้นคือ สายการบินนกแอร์(NOK) 26.54 เท่า , การบินไทย(THAI) 7.45 เท่า และ จุฑานาวี(JUTHA) 3.11 เท่า--เทอร์ร่า บีเคเค
บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก