สรุป ผลประกอบการ ปี 2559 “กลุ่มโรงพยาบาล” ยักษ์ใหญ่ Market Cap. สูงสุดในกลุ่มอย่างดุสิตเวชการ (BDMS)ทำรายได้สูงสุด 7.04หมื่นล้านบาท ขณะที่ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) ยังสามารถรักษาแชมป์ ROE และ ROA สูงสุดในกลุ่มได้อย่างต่อเนื่อง แต่กลับเป็น สมิติเวช(SVH) ที่จ่ายปันผล 3.19% สูงสุดในกลุ่ม

TerraBKK Research สังเกตการณ์ ผลประการ บริษัทมหาชนในกลุ่มอุตสาหกรรม “กลุ่มโรงพยาบาล” จำนวน 18 บริษัท เปรียบเทียบพื้นฐานด้านราคา พบว่า บริษัทธุรกิจกลุ่มโรงพยาบาล มักมี market cap. (ราคาปิดของหุ้น X ปริมาณหุ้นจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์) เฉลี่ยตั้งแต่ระดับพันล้านบาทไปจนถึงแสนล้านบาท โดย 2 บริษัทมหาชนที่มีขนาดระดับแสนบาทล้าน ได้แก่ กรุงเทพดุสิตเวชการ(BDMS)และ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์(BH) ขณะที่ อัตราส่วน P/E (การเปรียบเทียบราคาตลาดของหุ้นสามัญต่อกำไรสุทธิต่อหุ้นสามัญตัวนั้น ๆในรอบ 12 เดือน) เฉลี่ย 30-45 เท่า อัตราส่วนสูงสุดจะเป็นโรงพยาบาลวิภาวดี(VIBHA)อัตราส่วน P/BV (การเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นสามัญต่อมูลค่าทางบัญชีของหุ้นสามัญตัวนั้น ๆ) เฉลี่ย 3.7-5.7 เท่า อัตราส่วนสูงสุดจะเป็นโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์(BH) อัตราเงินปันผลตอบแทน (การเปรียบเทียบเงินปันผลต่อหุ้นเทียบกับราคาตลาดของหุ้นสามัญตัวนั้น ๆ) เฉลี่ย 1-2% โดยบริษัทที่มีอัตราปันผลสูงสุด คือ สมิติเวช(SVH) 3.19%

TerraBKK Researchรวบรวมผลประกอบการ ปี 2559 ของกลุ่มอุตสาหกรรม “โรงพยาบาล”ทั้งสิ้น 18 บริษัทประกอบด้วยตัวเลขและอัตราส่วนทาการเงิน ได้แก่ รายได้ (Revenue) ,อัตรากำไรสุทธิ (NPM) ,กำไรต่อหุ้น (EPS) , เงินสดสุทธิ (Net Cash Flow ) , อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE),อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) และหนี้สินต่อทุน ( D/E) รายละเอียดดังนี้ 1. รายได้ (Revenue)ของกลุ่มอุตสาหกรรมโรงพยาบาล ปี2559 ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มีรายได้เพิ่มขึ้นเกือบทั้งหมด มีเพียง วัฒนาการแพทย์ (NEW)ลดลงราว 7% จากปีก่อน (ปี 58=3.25 ร้อยล้านบาท ,ปี59=3.03 ร้อยล้านบาท) สำหรับโรงพยาบาล 3 อันดับแรกที่มีจำนวนรายได้สูงสุดของกลุ่ม ได้แก่ กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) ,โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) และสมิติเวช (SVH) ขณะที่บริษัทที่มีเปอร์เซ็นต์การเพิ่มขึ้นของรายได้สูงสุด 3 อันดับแรก เมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ ธนบุรี เมดิเคิล เซ็นเตอร์ (KDH)และ ศรีวิชัยเวชวิวัฒน์ (VIH) 2.อัตรากำไรสุทธิ ( Net Profit Margin : NPM)ปี2559 ของอุตสาหกรรมนี้ มีทั้งตัวเลขที่ดีขึ้นและแย่ลง โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอัตรากำไรสุทธิราว 11.45% โดย 3 อันดับแรกที่มีอัตราส่วนกำไรสุทธิดีที่สุด ได้แก่ โรงพยาบาลรามคำแหง (RAM) 25.79% ,โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) 15% และ โรงพยาบาลนนทเวช(NTV)15.93%ขณะเดียวกัน บริษัทที่มีอัตรากำไรสุทธิลดลงอย่างเห็นได้ชัด คือ เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ (CMR) เฉลี่ย 26.5% จากปีก่อน ((ปี 58= 14.91% ,ปี59=10.96%) 3. กำไรต่อหุ้น (Earning per Share : EPS)สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมโรงพยาบาลในช่วงปี 2559 นี้มีช่วงตัวเลขค่อนข้างกว้าง เนื่องจากราคาหุ้นในตลาดของกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ มีตั้งแต่หลักหน่วยไปจนถึงหลักพันบาทต่อหุ้น ทั้งนี้ สำหรับบริษัทที่มีตัวเลขกำไรต่อหุ้นปี 2559 สูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ โรงพยาบาลรามคำแหง (RAM) 94.83 บาทต่อหุ้น ,สมิติเวช (SVH) 13.67 บาทต่อหุ้น และ โรงพยาบาลมหาชัย(M-CHAI) 10.91 บาทต่อหุ้น

4. อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return on Equity : ROE) ปี 2559 ของกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ มีค่าเฉลี่ยราว 14.5% โดย 3 อันดับแรกที่มีอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นดีที่สุด ได้แก่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) 26.65% ,โรงพยาบาลนนทเวช(NTV) 19.67% และ สมิติเวช (SVH) 19.47% ขณะเดียวกัน บริษัทที่มีเปอร์เซ็นต์การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นอย่างโดดเด่น ได้แก่ ศรีวิชัยเวชวิวัฒน์ (VIH)และ บางกอก เชน ฮอสปิทอล (BCH) 5. อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Asset : ROA)ของกลุ่มอุตสาหกรรมโรงพยาบาลปี 2559 นี้ พบทั้งตัวเลขดีขึ้นและแย่ลงเมื่อเปรียบเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยภาพรวมปี 2559 มีค่าเฉลี่ยราว 11.7% สำหรับ 3 อันดับแรกที่มีอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์สูงสุด ได้แก่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) 21.55%, โรงพยาบาลนนทเวช (NTV) 20.63% และ สมิติเวช (SVH) 17.6%

6. เงินสดสุทธิ (Net Cash Flow ) แสดงการเคลื่อนไหวของเงินทุนผ่านการดำเนินงานของบริษัททั้ง 3 กิจกรรม อันได้แก่ กิจกรรมดำเนินงาน ,กิจกรรมลงทุน,กิจกรรมจัดหาเงินหากผลลัทธ์ออกมาเป็นตัวเลขติดลบแสดงว่า ขณะนั้นบริษัทมีสถานะเงินสดไหลออกมากกว่าเงินสดไหลเข้า จุดนี้เองอาจส่อสัญญาณขาดสภาพคล่องในการดำเนินงานได้ ทั้งนี้พบว่า 3 อันดับแรกที่มีตัวเลขเงินสดสุทธิติดลบมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) , โรงพยาบาล ลาดพร้าว(LPH) และ สมิติเวช(SVH) ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการลงทุนเพื่อขยายขนาดธุรกิจ 7. หนี้สินต่อทุน ( Debt to Equity: D/E )ของกลุ่มอุตสาหกรรมโรงพยาบาล ปี 2559 นี้ ถือว่ามีการบริหารความเสี่ยงด้านโครงสร้างเงินทุนค่อนข้างดี ส่วนใหญ่มีค่าไม่เกิน 1 เท่า มีเพียง 2 บริษัท คือ บางกอก เชน ฮอสปิทอล (BCH) 1.1 เท่า และโรงพยาบาลมหาชัย (M-CHAI) 1.27 เท่า ซึ่งก็ยังมีค่าไม่เกิน 2 เท่า --เทอร์ร่า บีเคเค

บทความโดย : TerraBKKเคล็ดลับการลงทุน TerraBKKค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก