การใช้ชีวิตในแต่ละวัน ไม่มีใครคาดรู้ล่วงหน้าหรอกว่า จะเกิดเรื่องอะไรขึ้นบ้าง โดยเฉพาะอุบัติเหตุ เหตุการณ์ฉุกเฉิน ไม่รู้ได้เลยว่ามัจจุราชจะมาเงื้อมมือเอาชีวิตเราไปเมื่อใด!! สิ่งที่เราทำได้ และเป็นหนทางที่ดีที่สุดคือ

            “ใช้ชีวิตอย่างระวัง”

            หลายต่อหลายครั้งที่มีข่าวคราวอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยเฉพาะช่วงเทศกาล ศพแล้วศพเล่าที่สังเวยให้กับท้องถนน บ้างก็ว่าเมาแล้วขับ บ้างก็ว่าถนนไม่ดี ทุกสิ่งทุกอย่างนำมาซึ่งความสูญเสีย หลายคนฝ่าฝืนกฎจราจร จึงเป็นที่มาของคำสั่งระบบขนส่ง คสช.ที่ 14/2560ให้อำนาจตรวจสอบรถทุกคัน และสามารถชำระค่าปรับได้เลย แถมยังมีการหักตัด 30 คะแนน ถ้าถูกตัดเกิน 60 คะแนนต้องเข้าอบรมใหม่

            นอกจากนี้ยังมีกฎหมาย “บังคับ” ให้รถทุกที่ ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย ตามพ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ 2522 ว่ารถบรรทุกทุกประเภท ที่จดทะเบียน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 จะต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยตรงที่นั่งคนขับ และที่นั่งตอนหน้า , รถตู้โดยสารทั้งประจำทาง และไม่ประจำทาง ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัย ทุกที่นั่ง ทุกคัน ทุกเส้นทาง ,รถโดยสารที่วิ่งระหว่างกรุงเทพ-ต่างจังหวัดและวิ่งระหว่างจังหวัด ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัย ทุกที่นั่ง ทุกคัน ทุกเส้นทาง และรถขนส่งขนาดเล็ก ที่จดทะเบียน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2537 ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัย ตรงที่นั่งคนขับ และที่นั่งตอนหน้า

การติดตั้งเข็มขัดนิรภัยตาม พ.ร.บ.รถยนต์ปี 2522 ได้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มรถเก๋ง รถแท็กซี่ รถลีมูซีน รถกระบะ 4 ประตู ถ้าจดทะเบียนก่อน ม.ค. 2531 ตัวรถจะไม่มีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยเลย แต่ถ้าจดทะเบียน 1 ม.ค. 2531-1 ธ.ค. 2553 ต้องติดเข็มขัดนิรภัยที่นั่งคนขับ และที่นั่งตอนหน้า ถ้าตั้งแต่ 1 ม.ค. 2554 จะต้องมีเข็มขัดทุกที่นั่ง ถ้าไม่มีก็จะมีความผิด

กลุ่มที่ 2 คือรถตู้ส่วนบุคคล จดทะเบียนเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน ก่อน 1 ม.ค. 2537 ตัวรถจะไม่มีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยเลย แต่ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2555 จะต้องมีเข็มขัดทุกที่นั่ง ถ้าไม่มีก็จะมีความผิด

กลุ่มที่ 3 คือรถปิคอัพ รถสองแถว ที่มีด้านหลังเป็นที่นั่งและที่บรรทุก กฎหมายบอกว่าให้บรรทุกสิ่งของและสัตว์ ห้ามไม่ให้มีคนนั่ง อันนี้ก็บังคับให้รัดเข็มขัดที่เบาะนั่งคู่หน้า ถ้าไม่มีก็จะมีความผิด

และกลุ่มที่ 4 คือรถสี่ล้อเล็ก หรือรถกะป๊อ ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2555 ได้บังคับให้มีที่รัดเข็มขัด 2 คนหน้า ถ้าไม่มีก็จะมีความผิด

ยกเว้นรถสองแถว รถกระบะมีแคป และรถสามล้อเครื่อง ที่บังคับเฉพาะคนขับและผู้โดยสาร เนื่องจากไม่เหมาะแก่การติดตั้งเข็มขัดนิรภัยเพิ่มเติม

            โดยเข้มขัดที่บังคับใช้จะมี 2 แบบ

1.แบบรัดตักและรั้งพาดไหล่ มี3จุด ใช้กับที่นั่งคนขับและที่นั่งตอนหน้า

2.แบบคาดเอว มี2จุด ใช้กับที่นั่งตรงกลาง

            ต่อไปนี้จะมีการเข้มงวดมากขึ้น ไม่ว่าจะวิ่งกรุงเทพฯหรือต่างจังหวัด จะต้องลัดเข้มขัดนิรภัยทุกที่ ทั้งที่นั่งคนขับ ผู้โดยสารตอนหน้า รวมถึงต้องลัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง ใครกระทำผิด จับและปรับจริง ปรับคนละไม่เกิน 500 บาท

ในกรณีนักแท็กซี่แล้วไม่คาดเข็มขัดก็เช่นเดียวกัน หากคนขับจัดเตรียมไว้ให้ และแจ้งผู้โดยสารแล้วไม่ปฏิบัติตาม ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบไม่รัดเข็มขัด ปรับคนละ 100 บาท ดังนั้นทุกที่นั่งต้องมีเข็มขัดคาด เพื่อความปลอดภัยของชีวิต และเป็นการลดการบาดเจ็บสาหัสกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้น ลดการสูญเสียชีวิตนั่นเอง

ปัจจุบันมีหน่วยบริการแพทย์ฉุกเฉินไว้คอยรับแจ้งขอความช่วยเหลือที่เบอร์ 1669 ตลอด 24 ชั่วโมงแต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะหน่วยงานนี้ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าชีวิตจะปลอดภัย...ว่าภัยจะไม่เกิด ถ้าเราไม่ระมัดระวังตัวเราเอง

อย่างไรก็แล้วแต่ อย่าลืมคาดเข็มขัดนิรภัย ขับขี่รถอย่างระมัดระวัง เพื่อความปลอดภัยในชีวิต จะได้อยู่กับคนที่รักได้นานๆ

บทความโดย : TerraBKK คลังความรู้

TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก