เปิดประตูธุรกิจสู่ยุคดิจิตอล มองโอกาสในอาเซียน

** สามารถดาวน์โหลด เอกสารฉบับภาษาอังกฤษ ได้ที่ท้ายบทความ

สรุปความรู้จากหลักสูตร “ขุมทรัพย์อาเซียนนักบริหารรุ่นใหม่ยุคดิจิตอลระดับสูง Asean Treasures : Opportunities & Challenges (ATOC)”

พลวัตรของโลกนั้นกำลังเปลี่ยนทุกชั่วขณะ ซึ่งประชากรโลกส่วนใหญ่ก็ต่างตื่นตัวและพยายามปรับเพื่อให้เท่าทันสถานการณ์ของความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในระดับโลก ประเทศต่างๆในกลุ่มภูมิภาคได้จับมือร่วมกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งสำหรับ 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ได้ทำข้อตกลงร่วมกันในชื่อ ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN)

 

หลักสูตร “ขุมทรัพย์อาเซียนนักบริหารรุ่นใหม่ยุคดิจิตอลระดับสูง Asean Treasures : Opportunities & Challenges (ATOC) มุ่งเน้นให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสของตลาดอาเซียน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มธุรกิจเดิม และกลุ่มธุรกิจหน้าใหม่ ให้สามารถทำการแข่งขันในตลาดกลุ่มประเทศอาเซียนบวกสามอย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ โดยเนื้อหาจะเน้นไปในกระบวนการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน ได้แก่ เรื่องภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์การค้าในภูมิภาค, ข้อมูลตลาดและค่านิยมในภูมิภาค และกฎระเบียบข้อบังคับของแต่ละประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้หลักสูตรได้สร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าอบรมและวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งการเสริมสร้างเครือข่ายสัมพันธภาพ (Network) อันจะนำไปสู่ การร่วมมือกันระหว่างผู้เข้าอบรมในการร่วมสร้างความแข่งแกร่งทางเศรษฐกิจ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.a-toc.com/th/

โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา คุณ Wu Hua Chun ตัวแทนด้าน Gold Supplier of Alibaba.com ในประเทศไทย และ General Manager บริษัท Sawatdee Group ได้บรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ Doing Business in ASEAN continent / China และแนะนำการพาไปศึกษาดูงานที่ Alibaba Campus แบบ Exclusive Trip หลักสูตรแรกของไทย ข้อมูลโดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจดังนี้

 

การเปลี่ยนแปลงของสิ่งเก่าและการเข้ามาของสิ่งใหม่ (Trend)

            ปัจจุบันโลกกำลังดำเนินมาถึงยุค 4.0 ตามที่รัฐบาลได้กล่าวนโยบายทางเศรษฐกิจไว้ ซึ่งตามประวัติศาสตร์ ยุคแรกของการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกนั้นเกิดมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.1750-1850 โดยเราคุ้นเคยยุคนั้นดีในชื่อ ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (1.0) หรือ ยุคเครื่องจักรกลไอน้ำ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงของกำลังการผลิตในโลก โดยใช้พลังงานความร้อนจากถ่านหินผสมผสานเครื่องจักรกล ต่อมาใน ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (2.0) หรือ ยุคการผลิตด้วยเครื่องจักรไฟฟ้า ได้มีการพัฒนาเครื่องจักรอุตสาหกรรมมากมายและเริ่มเปลี่ยนรูปร่าง โดยการใช้ไฟฟ้ามาทดแทนการใช้ไอน้ำ

ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (3.0) หรือ ยุคคอมพิวเตอร์ เป็นยุคที่กำลังการผลิตทำงานผ่านวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เกิดเป็นระบบอัตโนมัติ ทำให้มีความยืดหยุ่นและแม่นยำในการทำงานมากขึ้น และหลังจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 3.0 นี้ ก็มาถึง ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ยุคของอินเตอร์เน็ตหรือ Big Data และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) แต่ก็ยังไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่าเรากำลังเข้าถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 อย่างเต็มตัว เพราะปัจจุบัน AI ยังไม่มีบทบาทที่ชัดเจนมากขนาดนั้น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญรวมไปถึงนักวิชาการหลายฝ่ายต่างบอกตรงกันว่า อีกประมาณ 10 ปี AI จะสามารถเข้ามาทดแทนการทำงานหลายด้านของมนุษย์อย่างแน่นอน

ความท้าท้ายที่มากับความเปลี่ยนแปลง (Challenge)

            จากแต่ละยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ผ่านมา ทำให้มองเห็นการเกิดขึ้นของอำนาจ 2 ประการ ได้แก่ อำนาจในการครอบครอง (Hold) และ อำนาจในการใช้ (Use) ซึ่งประเทศมหาอำนาจและประเทศที่ร่ำรวย ต่างมีอำนาจดังกล่าวอย่างน้อยหนึ่งด้านด้วยกันทั้งสิ้น เช่นเดียวกับที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มี อำนาจในการครอบครอง น้ำมัน ทำให้่ร่ำรวยมหาศาลจวบจนปัจจุบัน

            คุณ Wu Hua Chun ยังกล่าวอีกว่า บุคคลที่มีอำนาจทั้งสองด้านในการครอบครองและการใช้นั้น สามารถส่งอิทธิพลไปถึงระัดับโลกเลยทีเดียว โดยได้กล่าวถึง Masayoshi Sonจ้าของบริษัท Softbank ซึ่งเป็นบริษัทที่ลงทุนในธุรกิจอินเตอร์เน็ตรายใหญ่ของโลกหลายราย ได้แก่ Grab หรือ Yahoo และยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Alibaba อีกด้วย สิ่งที่น่าสนใจในการลงทุนของ Softbank ในตอนนี้ก็คือ การลงทุนในบริษัท Oneweb บริษัทที่จะสามารถปล่อยสัญญานอินเตอร์เน็ตให้ครอบคลุมทั่วทุกมุมโลกผ่านเครือข่ายเดียว และยังมีบริษัทผิตหุ่นยนต์และพัฒนา AI ชื่อ iFlytek ที่ได้พัฒนา Ai สำหรับแปลภาษาให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง SHARP ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี้ คือความท้าท้ายและการปรับตัวเพื่อเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจในยุค Digital Age

 

ปรับตัวให้ไหลทันกระแสโลก (Response)

            คุณ Wu Hua Chun กล่าวว่า สหรัฐอเมริกา, อิสราเอล และจีน เป็นประเทศที่มีการใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิตอลหรือบริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ตมากที่สุดในโลก โดยปัจจุบันมีบริษััทสตาร์ทอัพเกิดขึ้นแล้วในจีนกว่า 12,000 บริษัท ซึ่งคิดว่ามากเป็นอันดันต้นๆของโลกเลยทีเดียว และยังมีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในการทำงานของหนุ่มสาววัยมหาวิทยาลัยที่อยากจะตั้งบริษัทสตาร์ทอัพเป็นของตัวเองมากขึ้น อาจเป็นไปได้ในแนวทางเดียวกันว่า ประเภทของงานในอนาคตอาจเปลี่ยนแปลงตามค่านิยมไปด้วย

Case Study : Alibaba เครื่องมือธุรกิจในยุค 4.0 (Tool)

            ทุกธุรกิจล้วนมีช่องว่าง ซึ่งการเติมเต็มช่องว่างทางธุรกิจของ Alibaba บริษัท E-commerce ที่ใหญ่ที่สุดในจีนและอันดับต้นๆของโลก คือการสร้างโครงสร้างธุรกิจที่ครอบคลุมทุกบริการ สิ่งที่ทำให้ Alibaba เติบโตได้อย่างแข็งแรงขนาดนี้ นั่นก็เพราะว่าอาณาจักรธุรกิจ Alibaba Ecosystem นั้นครอบคลุมทุกด้าน ได้แก่ Taobao.com : เว็บไซต์ช็อปปิ้งออนไลน์ / Tmall : แพลตฟอร์มค้าปลีก / Juhuasuan.com : แพลตฟอร์มสำหรับการซื้อเป็นกลุ่ม / 1688.com : แพลตฟอร์มการค้าส่ง / Alimama.com : บริการการตลาดสินค้าออนไลน์ / Aliyun.com : แพลตฟอร์มสำหรับการคำนวญ และ AliExpress : บริการจัดส่งสินค้า การให้บริการที่ครอบคลุมทุกมิติของการซื้อสินค้าออนไลน์ทำให้ Alibaba ในจีนนั้นแพร่หลายและได้รับความนิยมอย่างสูง สามารถยกระดับเศรษฐกิจตั้งแต่ครัวเรือนไปจนถึง GDP ของประเทศ สร้างงานและรายได้อย่างมหาศาลให้กับประเทศจีน

 

อนาคตอันใกล้ (Future)

            หากเปรียบว่า พลังงาน คือเครื่องมือที่ขับเคลื่อนโลกตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน พลังงานในยุคสมัยนี้ก็คือ Big Data หรือการซ้อนทับของข้อมูลอันมหาศาล ซึ่งเป็นสิ่งที่นักพัฒนาเทคโนโลยีต่างพยายามทำให้ AI สามารถกักเก็บ Big Data นี้ไว้ได้ เมื่อมีข้อมูลมากพอ ประกอบกับการวิเคราะห์และประมวลผลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จะทำให้ AI มีประสิทธิภาพเกินกว่าจะจินตนาการได้ และผู้ที่สามารถครอบครองและใช้ Big Data เหล่านี้ได้อย่างสมบูรณ์ อาจจะเป็นผูุ้กุมความสำเร็จของธุรกิจในอนาคต เมื่อมี Big Data แล้ว ความสำคัญต่อมาคือการสร้างความปลอดภัยและเก็บรักษาสิ่งนั้นไว้ ซึ่งการทำธุรกิจ Big Data Security นั้นอาจเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย

            นอกเหนือจาก Big Data แล้ว ยังมีการคาดการณ์ว่าอาจจะมีการเกิดใหม่ของทรัพยากร (Future Resource) ที่จำเป็น ระบบเศรษฐกิจอาจไม่ได้มีโครงสร้างแบบเดิมๆอีกต่อไป รวมไปถึงวิธีการในการดำเนินธุรกิจด้วยเช่นกัน

นอกเหนือจากประเด็นทั้ง 5 ด้านที่เป็นประเด็นพื้นฐานของความเปลี่ยนแปลงในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 แล้ว ATOC รุ่นที่ 1 ยังจะมีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมชมบริษัท Alibaba ถึงประเทศจีนอีกด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และการปรับตัวสำหรับธุรกิจในยุค Digital Age

ข้อมูลจาก หัวข้อบรรยาย “โอกาสแห่งธุรกิจในอาเซียน” Doing Business in Asean Continent / China” โดย Mr WU หลักสูตร “ขุมทรัพย์อาเซียนนักบริหารรุ่นใหม่ยุคดิจิตอลระดับสูง Asean Treasures : Opportunities & Challenges (ATOC)” วันที่ 24 สิงหาคม 2560

รับชมคลิป หลักสูตรขุมทรัพย์อาเซียน Weekly Interview คุณ Wu Hua Chun  -  https://youtu.be/TdJ1lv8OcVM

หลักสูตร “ขุมทรัพย์อาเซียนนักบริหารรุ่นใหม่ยุคดิจิตอลระดับสูง Asean Treasures : Opportunities & Challenges (ATOC)” คณะกรรมการหลักสูตรนำโดยประธานที่ปรึกษาหลักสูตร ศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย และคณะกรรมการหลักสูตร ประกอบด้วย ดร.เทพประสิทฐิ์ ประวาหะนาวิน, รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์, คุณนิรุฒ มณีพันธ์,คุณเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์,ดร.สุริยะใส กตะศิลา,ดร.นพ.มโน เลาหะวนิช และ รศ.ดร สมชาย ภคภาสวิวัฒน์ มุ่งเน้นให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสของตลาดอาเซียน

บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน

TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก