สำหรับกรุงเทพฯ เมืองที่ไม่ว่าจะขับรถไปย่านไหนก็จะเห็น คอมมิวนิตี้มอลล์ ประจำทำเลอยู่ไม่ขาดสาย ซึ่งการเติบโตของธุรกิจ คอมมิวนิตี้มอลล์ นั้นมีการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะทำเลที่เป็น Hub ของการเดินทาง, อยู่อาศัย และทำงาน ซึ่ง คอมมิวนิตี้มอลล์ ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้ร้านค้าปลีกได้เขยิบเข้าไปใกล้กลุ่มลูกค้าของตัวเองมากขึ้น และในปัจจุบัน เราได้เห็นคอมมิวนิตี้มอลล์ที่แตกแขนงออกมาจับเฉพาะกลุ่มมากขึ้น โดยกลายเป็นในรูปแบบของ Creative Space พื้นที่ที่จับกลุ่มของคนทำงานสายครีเอทีฟ, การออกแบบ หรือฟรีแลนซ์

            แม้จะผ่านมาไม่นานมาก แต่ประชากรไทยหลายคนก็เริ่มหลงลืมไปแล้ว ว่าประเทศเราเคยมีนโยบายทางเศรษฐกิจในชื่อเท่ห์ๆ ว่า Creative Economy : เศรษฐกิจสร้างสรรค์ อยู่พักหนึ่ง แต่ยังจะไม่ทันได้เห็นอะไรจริงๆจังๆ เราก็หลงลืมไปเพราะถูกแทนที่ด้วยนโยบายเศรษฐกิจใหม่ในชื่อ ไทยแลนด์ 4.0 แทน แม้จะถูกเปลี่ยนชื่อไปไม่เหลือเค้าโครงเดิมเลยก็ตาม แต่สาระสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจนั้น ยังคงเป็นการพัฒนาสินค้าและธุรกิจให้ตรงกับความต้องการของตลาดในขณะนั้น โดยแปรเปลี่ยนจากสร้างสรรค์มาเป็น 4.0 ซึ่งทั้งสองอย่างก็ยังคงเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ควบคู่กันไปเช่นเดิม

Creative Space ทางออกที่ถูกต้องของยุคค้าปลีกเสื่อมถอย?

            ประเด็นของ Creative Space ที่เรามองว่าเป็นการเข้ามาถูกที่ถูกเวลา แต่ไม่รับประกันว่าจะยืนยาวหรือไม่ นั่นก็เพราะว่าการเสื่อมถอยของการค้าปลีกเริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้น ผู้บริโภคเริ่มใช้สินค้าด้วยบริการออนไลน์มากจนสัดส่วนของการซื้อหน้าร้านลดลง ทำให้ธุรกิจค้าปลีกเริ่มเคลื่อนไหวได้ลำบากเพราะไม่มีโอกาสได้เจอลูกค้า เห็นได้ชัดจาก Kmart ค้าปลีกยักษ์ใหญ่อันดับสามจากอเมริกา ต้องประสบปัญหารายได้ลดลงถึง 2 ใน 3 ในขณะที่ Amazon กลับเติบโตขึ้นเป็น 89,000 ล้านเหรียญ นี่ยังไม่รวมถึง Alibaba ที่กำลังเติบโตรุกคืบเข้าไปทุกที

            ข้อมูลจาก McKinsey บอกว่า แนวโน้มสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจค้าปลีกอยู่ยากนั้นมีด้วยกัน 5 ปัจจัย ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มผู้บริโภค, การยกระดับของแต่ละประเทศในเศรษฐกิจโลก, การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบความต้องการในการบริโภค, เทคโนโลยี และ การยกระดับโครงสร้างธุรกิจ ก็เป็นอันคาดการณ์ได้ว่ารูปแบบของการค้าปลีกนั้น จะต้องมาพยายามหาช่องทางเพื่อสร้าง User’s Experience มากขึ้น เพื่อเข้าถึงลูกค้าและยังคงสามารถรักษาลูกค้าไว้ได้

ข้อมูลและภาพจาก : https://www.mckinsey.com/

 

สำหรับ Creative Space ที่ชัดเจนตั้งแต่ชื่อแล้วว่าเป็นพื้นที่ของความสร้างสรรค์ เป็นโอกาสในการสร้าง User’s Experience สำหรับกลุ่มธุรกิจครีเอทีฟได้เป็นอย่างดี เราจะพาไปดูกันว่าใน Creative Space เหล่านี้นั้นมีอะไรบ้าง

Warehouse 30

เกิดจากความร่วมมือของคุณดวงฤทธิ์ บุญนาค และคุณรังสิมา กสิกรานันนท์ อดีตบรรณาธิการนิตยสาร Elle Décor เปลี่ยนโกดังเก่าเป็น Creative Space ขนาด 4,000 ตร.ม. โดยแบ่งการใช้พื้นที่ออกเป็น Food & Beverage Zone, Concpet Stores, Screening Room และ Multi-Functional Creative Space ทำให้การเข้ามาใช้พื้นที่แห่งนี้นั้นจะไม่ได้เป็นแค่การเข้ามาแล้วออกไปเพื่อจับจ่ายเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถพบปะทำงานกับกลุ่มคนที่มีความสนใจตรงกัน เปิดโอกาสให้ธุรกิจสายครีเอทีฟได้มีที่ Showcase มากขึ้น

ขอบคุณภาพจาก : http://soimilk.com/

ขอบคุณภาพจาก : http://www.bkkmenu.com/scoop/scoop-warehouse30

ช่างชุ่ย

เกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้ก่อตั้งแบรนด์แฟชั่น Flynow โดยใช้พื้นที่ว่างใจกลางฝั่งธนเป็น Creative Space ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าทำเลที่ตั้งนั้นไม่เอื้อต่อการใช้รถส่วนตัวเพื่อไปถึงซักเท่าไรนัก แบ่งกาีรใช้พื้นที่ออกเป็น Art Gallery, Theatre, Cinema, Co-working Space, Café & Restaurant, Design Studio, Exotic Garden, Vintage Barber, Private Museum, Thailand Showcase, Music Store, Book Store, Tea House, Creative Shop และ Fashion

ขอบคุณภาพจาก : http://www.changchuibangkok.com/

ขอบคุณภาพจาก : https://travel.mthai.com