อารยธรรมของมวลมนุษยชาตินั้นดำเนินมาตั้งแต่ 5,000 – 8,000 ปีก่อนคริสตกาล การตกตระกอนของธรรมชาติ ความคิด ธรรมเนียมปฏิบัติ และการกระทำบางอย่างได้ผลึกฝังแน่นหยั่งรากเสมือนเกิดขึ้นมาพร้อมโครโมโซมในร่างกายเลยทีเดียว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าหากในทุกครั้งที่มีสิ่งใหม่เกิดขึ้น จะเกิดเหตุการณ์ของการปฏิเสธ ความฉงนงงงัน ประหลาดใจ หรือการกล้าๆกลัวๆ ไม่กล้าจะยืดอกยอมรับ เนื่องจากความเคยชินที่ถือปฏิบัติต่ิอกันมาในชื่อว่าวัฒนธรรมได้แทรกซึมจนกลายเป็นธรรมชาติ ซึ่งรู้หรือไม่เมื่อไม่นานมานี้ McKinsey ได้เปิดเผยว่า วัฒนธรรม (บางอย่าง) นี่แหละ ที่เป็นตัวค้ำจุนยืนหยัดจนเป็นอุปสรรคสำคัญในยุคดิจิตอล

หากจะขยายความให้เข้าใจอย่างถูกต้องก็คือ สิ่งที่ทำติดต่อกันมานานนับตั้งแต่รูปแบบเศรษฐกิจโลกยังคงดำเนินไปแบบเก่า ไม่สามารถใช้ได้ผลตรง 100% อีกต่อไปแล้วในยุคปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเราอาจไม่ต้องตกใจว่า ทำไมการร่ำเรียนจากตำราเก่าเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจอาจใช้ได้แค่ในระดับขั้นพื้นฐานเท่านั้น เช่นเดียวกับการไม่กล้าเสี่ยง, การให้ความสำคัญกับลูกค้าผิดจุด หรือทัศนคติบางประการที่เป็นกันมายาวนานยากที่จะแก้ไขในองค์กร ที่ทำให้ไม่สามารถขยับเขยื้อนได้เท่าทันกับยุคดิจิตอลได้เสียที อ้างอิงจากการสำรวจด้านอุปสรรคในยุคดิจตอลของ McKinsey พบว่าถึงแม้อุปสรรคส่วนใหญ่จะเป็นขาดแคลนความรู้และเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี แต่อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดกลับเป็นอุปสรรคทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

อุปสรรคต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นมีราคาและค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยน ซึ่งขณะเดียวกันหลายองค์กรก็ไม่กล้าที่จะเสี่ยงเป็นผลให้ไม่เกิดการลงทุน สิ่งที่ตามมาก็คือโอกาสเชิงกลยุทธ์ที่ถดถอย และการเข้าถึงผู้บริโภคที่ล้าช้านั่นเอง เนื่องจากการปรับตัวและความเข้าใจในดิจิตอลระดับองค์กรนั้นยังคงดำเนินไปแบบผิดๆถูกๆ ทำให้การแสดงออกในระดับบุคคลย่อมเลอะเลือนตามไปด้วย คำถามก็คือ เราจะสามารถแก้ไขวัฒนธรรมเหล่านี้ได้อย่างไร?

สำหรับผู้บริหาร การคำนวณความเสี่ยงนั้นอาจเป็นการทดลองและต้องยอมรับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น อย่างคำกล่าวที่ว่า failed for better การสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่เปลี่ยนจากการเดินตามแบบแผนเดิมๆ ให้พนักงานหรือคนในองค์กรรู้สึกไม่กลัวต่อการท้าทายความเสี่ยง โดยอาจจะเป็นการมอบหมายงานให้มีส่วนรับผิดชอบมากขึ้น การทำแบบนี้จะทำให้พนักงานไม่รู้สึกเขอะเขินที่จะแสดงความคิดเห็นต่อผู้บริหารในการสร้างแนวทางใหม่ๆ และเรียนรู้ที่จะเฉลิมฉลองให้ความล้มเหลวบ้าง ฟังดูอาจไม่สวยงานเท่าไรในความเป็นจริง แต่สามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมได้ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการไปจนถึงบริหารได้เลยทีเดียว ตัวอย่างเช่น การปรับรูปแบบงานของตำแหน่ง call center ให้มีการวิเคราะห์โปรไฟล์ลูกค้าแบบ Real time ทุกคู่สาย หรือเก็บข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหาร ซึ่งงานนี้เป็นการพ่วงมาด้วยความเสี่ยงขนาดเล็กที่เพิ่มขึ้นมา

New York Times ผู้นำด้านสื่อสิ่งพิมพ์แห่งมหานครนิวยอร์ค ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะสร้างรายได้จากดิจิตอลภายใน 5 ปี

ธนาคาร AIB ตัดสินใจตั้งนโยบายว่าลูกค้าของพวกเขา จะใช้เวลาในการเปิดบัญชีภายในเวลา 10 นาทีเท่านั้น

การตัดสินใจปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและเป้าหมายขององค์กรใหม่ เป็นการเดิมพันที่เสี่ยงแต่ย่อมคุ้มค่า สิ่งสำคัญคือการขยับขยายทรัพยากรบุคคลภายในให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวกและตรงกับความถนัด ซึ่งโดยรวมก็คือการจัดการทรัพยากรนั่นเอง

            โดยรวมแล้ว วัฒนธรรม ที่เป็นอุปสรรคในยุคดิจิตอลอาจไม่ใช่ขนบธรรมเนียม แต่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติซะมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรใหญ่ๆที่มีวัฒนธรรมองค์กรหยั่งรากลึกแข็งแรง การปรับเปลี่ยนย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นเราจะเห็นนักธุรกิจหน้าใหม่แบบ สตาร์ทอัพ ที่มีจำนวนคนไม่มาก แต่กลับโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนสูงนั่นเอง

ขอบคุณที่มา : https://www.mckinsey.com/

บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน

TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก