TerraBKK Research รวบรวมประเด็นสำคัญจากงาน Creative Talk “ TERRA HINT Y Series ไขรหัสลับ GEN Y จุดเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ 4.0”  เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 ประกอบด้วย 3 หัวข้อสำคัญ คือ เจาะลึกพฤติกรรมคน Gen Y ผู้เปลี่ยนธุรกิจอสังหาฯ , ทางรอดของ Developer ลูกค้าเปลี่ยน เราต้องเปลี่ยน และ เทคนิคการสร้างโฆษณาให้ตรงใจลูกค้า Gen Y รายละเอียดดังนี้

  เจาะลึกพฤติกรรมคน Gen Y ผู้เปลี่ยนธุรกิจอสังหาฯ  

           ผลสำรวจพฤติกรรม Gen Y อายุ 25-37 ปี กลุ่มวัยเริ่มต้นเข้าสู่ตลาดแรงงานและเริ่มมีกำลังซื้อที่อยู่อาศัยกว่า500 คน ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า คน GenY กว่า 54% ยังไม่คิดจะซื้อที่อยู่อาศัยในเร็วๆนี้  เนื่องจากคนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ระหว่าง 18,000-35,000 บาทต่อเดือน และยังไม่มีเงินเก็บที่เพียงพอ เพราะปัจจุบันมีภาระหนี้จากบัตรเครดิต ผ่อนรถยนต์แต่ละเดือนอยู่ในระดับสูง

           ขณะที่ 46% มีความคิดเรื่องการซื้อที่อยู่อาศัยภายใน 3 ปี โดย 57% อยากซื้อบ้านเดี่ยว, รองลงมาเป็น ทาวน์โฮม 48.7%, คอนโดมิเนียม 30.7% และ บ้านแฝด 15.8%

     โดย ผลสำรวจสามารถแบ่งพฤติกรรมคน GenY ได้เป็น 4 กลุ่ม

  • Smart Choice : วางแผนการเงินเพื่อสร้างครอบครัวใหม่ ชื่นชอบเทคโนโลยี
  • Peace in Mind : กังวลเรื่องในอนาคต เอกลักษณ์ส่วนตัวเป็นสิ่งสำคัญ
  • WE Oriented : คำนึงถึงภาพลักษณ์ทางสังคม และคนในครอบครัว
  • Quality Seekers : ความมั่งคั่งเป็นเป้าหมายในชีวิต ใส่ใจในทุกรายละเอียด

           พบว่า กลุ่ม Smart Choice มีแนวโน้มในการซื้อที่อยู่อาศัยในอีก 3 ปีข้างหน้ามากที่สุด เพราะต้องการมีที่อยู่อาศัยของตัวเอง เพื่อแยกครอบครัว และวางแผนมีลูกในอนาคต ประเภทที่สนใจซื้อ 3 อันดับแรก ได้แก่ บ้านเดี่ยว 40% ,ทาวน์โฮม 26% และคอนโดฯ 17% และ ตั้งงบประมาณในการซื้อที่อยู่อาศัย 3 อันดับแรก ได้แก่ 1-2 ล้านบาท อยู่ที่ 40%, 2-3 ล้านบาท อยู่ที่ 30% และ 3-5 ล้านบาท อยู่ที่ 20%

           แนวทางกลยุทธ์ตอบโจทย์ Gen Y มองว่ากลุ่ม Smart Choice ควรเน้นด้วยกลยุทธ์ Value-Added และ Trendy Style เพิ่มมูลค้าเพิ่มในอนาคตและความเชื่อมั่นในแบรนด์สินค้า ด้านกลุ่ม Peace in Mind ควรเน้นกลยุทธ์ความสุขในการอยู่อาศัย สะท้อนคุณค่าของชีวิต กลุ่ม WE Oriented เน้นกลยุทธ์ความสุขของครอบครัวเป็นสำคัญ  และ กลุ่ม Quality Seekers เน้นความเป็น Innovative และความรู้สึกถึงความสำเร็จในชีวิต

           ผู้ประกอบการอสังหารายใหญ่ต่างทยอยปรับตัวเข้ากับ Gen Y แล้วในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนกลยุทธ์ธุรกิจ จากพฤติกรรม Gen Y เช่น เสพติดเทคโนโลยี แบรนด์แสนสิริปรับตัวด้วย SIRI Lifetech และ สังคม Digital เป็นต้น ขณะที่ อนันดา เน้นย้ำความเป็น Smart Office และการสนับสนุน Start up เพราะ Gen Y ชอบ Creative เบื่อการทำอะไรเดิมๆ ด้านการเปลี่ยนแปลง Product ฝั่งแลนด์แอนด์เฮ้าส์ปรับเปลี่ยนรูปแบบบ้านเดี่ยวด้วยพื้นที่ multipurpose ชั้น1ของบ้าน ฝั่งโกลเด้นแลนด์ ปรับรูปแบบทาวน์โฮมมาในฟังก์ชันบ้านเดี่ยวแต่อยู่ในทำเลคอนโดมิเนียมใกล้รถไฟฟ้า เป็นต้น ด้านเครื่องมือการตลาด การปรับตัวเข้าสู่ Cashless Society เช่น การชำระเงินผ่าน QR Payment หรือ การจองออนไลน์ที่เรียกว่า I-Booking เป็นต้น รวมถึง การจัดกิจกรรมที่เข้ากับความเป็น Gen Y ชื่นชอบประสบการณ์แปลกใหม่ เช่น เทศกาล Winter Market Fest , Freeform Festival เป็นต้น ด้านภาพลักษณ์โครงการ ผู้ประกอบรายใหญ่ปรับตัวแล้วเช่นกัน กระแสโฆษณาสาวบางโพ ของพฤกษา , การสร้างบรรยากาศโครงการที่ไม่เหมือนเดิมอย่างโครงการ Villaggio ของแลนด์แอนด์เฮ้าส์ เป็นต้น

           ฝั่งผู้ประกอบการค้าปลีก GEN Y กว่า 67% เลือกซื้อสินค้าออนไลน์ ดังนั้น การปรับตัวที่เกิดขึ้นของกลุ่มค้าปลีก คือ การสร้าง Entertainment รูปแบบใหม่ๆ เช่น Community Center , Lifestyle Center เป็นต้น ลองสังเกตร้าน B2S ขณะนี้ จะไม่ใช่ร้านหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่รวมความเป็น Lifestyle และ Co-working space เข้าด้วยกัน

           ช่องทางสื่อสารต้องตามทันยุค Gen Y คือ การมีเว็บไซต์ของตนเอง เป็นหน้าร้านในการสื่อสารกับลูกค้า การสร้าง contents ที่สร้างสรรค์ ทั้งหมดนี้ควรสามารถรอบรับได้ด้วยมือถือสมาร์ทโฟน รวมทั้งการใช้ Facebook ให้เป็นประโยชน์ เจาะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และช่วยเพิ่ม Community เช่นเดียวกับ LINE เพื่อใช้สื่อสารกับลูกค้าโดยตรง เป็นต้น ขณะที่ Gen Y ไทยและต่างชาติยังคงชอบบ้านเดี่ยว ต่างกันที่ Gen Y ต่างชาติมักชอบการเช่าอยู่ ไม่เหมือน Gen Y ไทยที่ยังคงต้องการมีบ้านเป็นของตนเอง สิ่งที่กังวลคือปริมาณคนที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และพื้นที่น้ำท่วมของคนกรุงเทพ ดังนั้น ทางออกของคนยุค Gen Y คือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือในการทำงาน จำเป็นไหมที่ต้องเข้า office ถึงจะทำงานได้ อนาคตจะเห็นการทำงานของ AI เข้ามามีบทบาทมากขึ้น สุดท้ายแล้วมองว่า ปัญหาคนกรุงเทพขาดพื้นที่สีเขียว เป็นโอกาสสำคัญที่ผู้ประกอบการอสังหาสามารถใช้สร้างแบรนด์พร้อมกับการช่วยเหลือสังคมได้ เช่น การจัดสรรพื้นที่ส่วนกลางโครงการเพื่อสังคม อย่าง การแบ่ง Public Zone , Semi-Public Zone และ Residental Zone สำหรับการอยู่อาศัยของลูกบ้าน เป็นต้น



   ทางรอดของ Developer ลูกค้าเปลี่ยน เราต้องเปลี่ยน   

           จากพฤติกรรมการค้นหาบ้านของผู้ใช้งานเว็บไซต์ TerraBKK.com ชี้ให้เห็นว่า ปีนี้ตลาดทาวน์โฮม ราคา 1.2-2.3 ล้านบาท จะได้รับความนิยมจากคน Gen Y มากกว่าคอนโดมิเนียมในระดับราคาเดียวกัน เพราะGen Y ส่วนใหญ่ต้องการมีพื้นที่ส่วนตัว และไม่จำเป็นต้องอยู่ในเมือง แต่ยังสามารถเดินทางเข้ามาใช้ชีวิตในเมืองได้อย่างสะดวก

           ด้านธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปัจจุบันลูกค้าสินเชื่อกว่า 35% เป็นคน Gen Y โตขึ้น 29% จากปีก่อน ส่วนใหญ่ระดับรายได้ 30,000-45,000 บาท พฤติกรรมคน Gen Y ชอบความเป็น Media Online มีรูปแบบการใช้ชีวิตแบบ Social Life ดังนั้นการเข้าถึงคนกลุ่มนี้ต้องกลยุทธ์ แชร์ง่าย Tag ง่าย เข้าใจง่าย ในแง่ของผู้ประกอบการอสังหาจำเป็นต้องมีการปรับตัวเข้าหาลูกค้ามากขึ้น ซึ่งมองว่า เป็นโอกาสของผู้ประกอบการรายเล็ก สามารถปรับตัวเข้าหาลูกค้าได้ง่ายและเร็วกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ ด้วยขนาดองค์กรและขั้นตอนระบบงานต่าง ๆ รวมทั้ง การใช้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือในการทำงานมากขึ้น


           หากมองความแตกต่างระหว่างผู้ประกอบการรายเล็กและรายใหญ่ พบว่า รายเล็กกว่า 77% ยังไม่พร้อมกับการใช้ข้อมูล Big Data พื้นฐานยังเป็นรูปแบบทำธุรกิจแบบเถ้าแก่ เน้นใช้ประสบการณ์ตนเองมากกว่าการสำรวจวิจัยข้อมูลตลาด ระบบงานภายในยังใช้กระดาษเป็นหลัก เน้นการตลาดสร้างยอดขายแต่ไม่ได้สร้างแบรนด์ แม้จะมีต้นทุนการดำเนินงานต่ำกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ แต่มองว่าต้นทุนทางการเงินยังสูงกว่า และขายสินค้าได้ในราคาต่ำกว่าแบรนด์ใหญ่

           ขณะผู้ประกอบการอสังหารายย่อยได้เล็งเห็นความสำคัญของคน Gen Y เช่นกัน การหาลูกค้า Gen Y จำเป็นต้องศึกษาพฤติกรรมอย่างจริงจัง “Gen Y ช้าแต่เร็ว” ใช้เวลานานในการศึกษาข้อมูลเพื่อเลือกสรรสิ่งที่ตอบโจทย์ แต่ต้องการความรวดเร็วในการรับบริการจากผู้ประกอบ นั้นคือโจทย์สำคัญในการพัฒนาสินค้าให้เข้ากับความต้องการ Gen Y ยุคนี้ การสื่อสารเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยการตลาด online ขณะที่ระบบการทำงานของผู้ประกอบการเองควรปรับใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานมากขึ้น

           ด้านเทคโนยีที่จะเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบอสังหา มองว่ามีตัวเลือกมากมายในตลาดตอนนี้ คำถามคือเครืองมือไหนคือสิ่งที่ตอบโจทย์ได้จริง การช่วยบริการจัดการข้อมูลหลังบ้านเกี่ยวกับการขาย ปัญหาการซ่อมแซมอสังหาก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม  รวมทั้ง การเข้าถึงข้อมูลวิจัยการตลาดด้าน Supply อสังหา การทำธุรกิจอสังหาปัจจุบัน ต้องวัดที่ Net Profit ไม่ใช่ยอดขาย อย่างที่ผ่านมา

            PLOY โปรแกรมจัดการงานขายอสังหาฯ ช่วยให้ระบบการทำงานเป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับคน Gen Y ครอบคลุมบริการบันทึกรายชื่อลูกค้า , การเคลื่อนไหวยอดขายโครงการ , ลดปัญหาการจองยูนิตซ้ำด้วยการแจ้งสถานะยูนิตขายแบบออนไลน์ สามารถตรวจสอบการดำเนินงานของพนักงานได้ มีระบบแจ้งเตือนความล่าช้าในการแก้ไขงาน ด้านประมวลผลงาน สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น กราฟ , ตาราง เป็นต้น เพื่อให้ผู้ใช้มองเห็นภาพรวมของธุรกิจได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น รายงานการขาย ,รายงานการจ่ายเงิน , รายงานบริการหลังการขาย เป็นต้น

        

             kwanjai ระบบประสานงานแจ้งซ่อมหลังการขาย สำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ช่วยเชื่อมโยงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในยุค Gen Y ทันทีที่ลูกบ้านต้องการการซ่อมแซม สามารถแจ้งผ่าน LINE ได้ตลอด 24 ชม. ผู้รับเหมาช่วงจะทราบการแจ้งเตือนแบบ Real-time ทันทีเมื่อได้รับมอบหมายงานซ่อม ช่วยลดขั้นตอนการทำงานของนิติบุคคล และยังสามารถติดตามสถานะการซ่อมแซมของลูกบ้านได้ ผู้รับเหมาหลัก ก็สามารถวางแผนบริหารจัดการได้มีประสิทธิภาพ แน่นอนว่า เจ้าของโครงการ สามารถรับรายงานสรุปภาพรวม และการติดตามงานซ่อม เป็นข้อมูลพื่อพัฒนาความพึงพอใจลูกบ้าน

              Terra Research โปรแกรมด้านวิจัยและวิเคราะห์การแข่งขันในตลาดอสังหา ที่ครอบคลุมทั้งด้าน Customer Insight และ Competitive Data ของคน Gen Y ไม่ว่าจะเป็น จำนวนคู่แข่งในบริเวณรัศมี 5 กม. รอบที่ตั้งโครงการอสังหาของคุณ , เรื่อง Product ที่เปิดขายในตลาด เพื่อเป็นข้อมูลวางตำแหน่งโครงการที่ควรจะเข้ามาเล่น , เรื่องราคาตลาด การเปรียบเทียบระหว่างราคาและ Product ในตลาด อะไรที่ช่องว่างของตลาด รวมทั้ง กลยุทธ์ด้านโปรโมชั่นของคู่แข่ง 



           การเปลี่ยนแปลงของอสังหาสำหรับ Gen Y ต่างประเทศ สำหรับ Gen Y ในอเมริกาชอบการอยู่อาศัยแบบเช่า ไม่ยึดติดว่าจะต้องอยู่ที่ใดเป็นเวลานาน ๆ เฉลี่ย 3-4 ปีก็จะย้ายที่อยู่ใหม่ไปเรื่อย ๆ ขณะที่ Gen Y ในจีนยังนิยมอยู่อาศัยกับบ้านพ่อแม่ คล้ายคลึงกับ Gen Y ในเกาหลี หากจะต้องเสียเงิน มักใช้จ่ายในเรื่องสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต มากกว่า ด้าน Gen Y ในญี่ปุ่นมีการอยู่อาศัยแบบ Social Apartment ลักษณะอพาร์ตเมนต์ที่มีพื้นที่ส่วนกลางทำกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น ทั้งหมดนี้ ไม่สำคัญว่าคน Gen ใดเป็นคนสร้าง แต่สำคัญว่าจะสร้างเพื่อคน Gen ใด นั้นคือ การบ้านสำคัญของผู้ประกอบการอสังหา

  เทคนิคการสร้างโฆษณาให้ตรงใจลูกค้า Gen Y  

          เริ่มต้นทำความเข้าใจ GEN Y ด้วยคำถาม Why I were born ? คำตอบของคนกลุ่ม Gen Y คือ การเกิดมาเพื่อเลือกทำในสิ่งที่ตนเองอยากทำ เพราะมีโอกาสเลือกได้มากกว่าคนยุคอื่น จากการติดต่อสื่อสารช่องทางที่ง่ายและเร็วมากขึ้น สิ่งที่สังเกตได้ คือ GEN Y มักเปิดใจรับรู้ข้อมูลจาก 2 กลุ่มหลัก กลุ่มแรกคือ “ Micro Influencer” บุคคลผู้นำที่มีอิทธิพลต่อความคิดอ่าน Gen Y แม้กลุ่มคนหล่านั้นอาจจะมีสัดส่วนแค่ 5% แต่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ ลักษณะบุคคลเหล่านั้นจะคล้ายๆ กัน Passion ในบางสิ่งมาก ๆ มีแรงขับเคลื่อนสิ่งนั้นตลอดเวลา แม้จะล้มเหลวแต่ก็จะสู้ต่อจนสำเร็จ สิ่งที่สองคือ “Machine” คล้ายกับระบบ AI เก็บข้อมูลเราอยู่ในทุกขณะโดยไม่เคยรู้ตัว ไม่ว่าจะเป็น google map , Facebook , Youtube เป็นต้น เก็บข้อมูลสิ่งที่เราชอบดูหรือคลิ๊กเป็นสถิติเพื่อประเมินพฤติกรรมแล้วนำเสนอ ตัวเลือก/สินค้า/บริการ ตรงกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น ทางออกในการทำโฆษณาให้ตรงใจ Gen Y คือ การมองหาบุคคลที่มีอิทธิพลที่ช่วยให้คน Gen Y รับรู้ถึงแบรนด์ รวมทั้ง รู้จักใช้ระบบ AI เข้ามาทำการตลาดเจาะกลุ่มเป้าหมาย และรักษาลูกค้าของแบรนด์

          Brand Experience สำคัญอย่างไรในยุค Gen Y ? ประเทศไทยอยู่อันดับ 1 ใช้เวลาไปกับอินเตอร์เน็ตต่อวันมากที่สุดในโลกเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 38 นาที ( มค.61) และ 90% ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยมากจากสมาร์ทโฟน หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกล่าวว่า “ Everything is communication” ทุกประสบการณ์คือการรับรู้ผ่านทุกช่องทางการสื่อสาร ไม่ใช่แค่สื่อโฆษณา แต่การหาข้อมูลจาก Rating หรือ Review ก็เข้ามามีส่วนสำคัญของคน Gen Y เช่นกัน ประเด็นสำคัญในวันนี้คือ การสร้าง “ประสบการณ์แรก” ของแบรนด์ผ่านโลกออนไลน์ ความพยายามของผู้ประกอบอสังหาไม่ควรอยู่แค่การหาลูกค้าใหม่ แต่ควรจะเป็นการสร้างประสบการณ์ร่วมไปกับแบรนด์ ( Brand Experience) มากกว่า สร้างการมีส่วนร่วมของ Product , Customer , Employee , Community ฯลฯ มาสู่แบรนด์ เกิดเป็นการรับรู้ perception และกลายเป็น Habit Forming ในที่สุด นั้นคือสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ

          ขณะที่ คนทำโฆษณาเอง มองว่า “ไอเดียไม่มีเก่า” หลายครั้งที่โฆษณาในอดีตยังคงเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันของคน Gen Y หลักการเดิมที่ยังใช้ได้อยู่เสมอ “ สนุก+สั้น+เข้าใจง่าย ” สามารถ entertain คนได้ ไม่ใช่แต่เรื่องตลก แต่สามารถนำคนดูร่วมไปในทิศทางหนึ่งได้ สิ่งที่เป็นปัญหาในการทำโฆษณาจึงเป็นเรื่องของการมองว่า “โฆษณา” คือ ”สิ่งกวนใจ” มากกว่า ---TerraBKK

บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน
TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก