8 วิธีปรับตัวรับ "การลงทุน" ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว จาก ดร.ธนภูมิ ดำรักษ์
ช่วงนี้หลายคนอาจจะรู้สึกว่าทำมาค้าขายไม่คล่องตัวเหมือนแต่ก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงด้วยปัจจัยต่างๆ เช่นราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ ทำให้เกษตรกรไม่มีกำลังซื้อ และภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมที่ชะลอตัวลง ในสภาวะเช่นนี้นักลงทุนควรจะต้องปรับตัวด้าน 'การลงทุน' อย่างไรบ้าง ?
1. ลองเอาหุ้นในพอร์ตมาพิจารณาเป็นรายตัว ว่าพื้นฐานยังดีตามที่เคยคาดการณ์ไว้หรือไม่ แต่ละตัวมีโอกาสได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน ถ้าหุ้นตัวที่เราถืออยู่มีพื้นฐานเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง (และยังไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น) ก็ควรที่จะยอมรับความผิดพลาดและขายออกไปเพื่อนำเงินไปลงทุนตัวใหม่ที่มีศักยภาพมากกว่า การที่ยังลงทุนในตัวเดิมที่พื้นฐานไม่ดีอาจทำให้เสียโอกาสในการลงทุนได้
2. พิจารณาเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกิจการที่ไม่ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ เช่น สินค้าที่จำเป็นในการอุปโภคบริโภค ซึ่งกิจการเหล่านี้มักจะมียอดขายและกำไรที่สม่ำเสมอกว่าหุ้นที่เป็นวัฎจักร การถือหุ้นในกิจการเหล่านี้นักลงทุนจะสบายใจได้ว่าถึงแม้เศรษฐกิจจะแย่ยังไง บริษัทก็น่าจะผ่านไปได้
3. ลงทุนในหุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูง และมีประวัติการจ่ายเงินปันผลที่สม่ำเสมอ (ซึ่งอาจจะเป็นสัญญานว่ากิจการนั้นๆยังสามารถทำกำไรได้ดีแม้ในภาวะฝืดเคือง) หุ้นประเภทนี้จะมีความผันผวนต่ำเนื่องจากนักลงทุนที่ถือส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนระยะยาวซึ่งลงทุนรอปันผล นอกจากนี้เงินปันผลทำให้นักลงทุนได้รับกระแสเงินสดเพื่อนำมาใช้จ่ายได้อีกด้วย
"หุ้นปันผล" ดีกว่า "หุ้นไม่จ่ายปันผล" หรือไม่ นักลงทุนในหุ้นส่วนใหญ่มักจะชอบหุ้นที่จ่ายปันผลสูงด้วยเหตุผลหลายประการเช่น ต้องการเงินสดจากการลงทุนเพื่อนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรืออาจจะชอบการได้รับดอกเบี้ยที่สม่ำเสมอเช่นที่ได้รับจากการฝากธนาคาร อย่างไรก็ตามการลงทุนในหุ้นปันผลนั้นมีข้อดีและข้อควรระวังดังต่อไปนี้
4. เลือกบริษัทที่มีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง โดยดูได้จากงบการเงิน เช่นในงบดุล จะต้องไม่มีภาระหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยมากเกินไปเมื่อเทียบกับส่วนทุนของบริษัท ซึ่งจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถชำระหนี้ได้ ถ้าธุรกิจหยุดชะงัก
5. เลือกบริษัทที่มีกระแสเงินสดที่ดี ซึ่งมักจะเป็นบริษัทที่มีธุรกิจที่แข็งแกร่ง กระแสเงินสดอาจจะดูได้จากงบกระแสเงินสดและกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีและค่าเสื่อมราคา (EBITDA)
6. อย่าลงทุนเกินตัว ลดการใช้วงเงินมาร์จิน (กู้ยืมเงินมาลงทุน) ในการซื้อหุ้นลง เนื่องจากมีโอกาสที่ราคาจะเคลื่อนไหวผันผวน จนถูกบังคับขายหลักทรัพย์ (forced sell) ที่ราคาต่ำได้
7. กระจายความเสี่ยงโดยการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท เช่น หุ้น พันธบัตร อสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ชนิดใดชนิดหนึ่งมากจนเกินไป
เปรียบเทียบ "ความเสี่ยง" และ "ผลตอบแทน" ในทุก Asset Class TerraBKK Research จะนำ “ผลตอบแทน” และ “ความเสี่ยง” ของสินทรัพย์แต่ละประเภท มาเปรียบเทียบเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงที่แตกต่างกัน และผลตอบแทนจะแตกต่างกันอย่างไร โดยความเสี่ยงในที่นี้อาจจะหมายถึงความผันผวน (Volatility) ของผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ ความผันผวนมากแสดงถึงความเสี่ยงที่มาก ความผันผวนน้อยแสดงถึงความเสี่ยงที่ต่ำ ความผันผวนมากความเสี่ยงก็จะสูงตาม
8. ยึดมั่นในหลักการลงทุนของตัวเอง อย่าหวั่นไหวไปตามตลาด ถ้าเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าก็ต้องพิจารณามูลค่าของหุ้นแต่ละตัว และซื้อเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่า ถ้าเป็นนักลงทุนแนวเทคนิคก็จะต้องมีวินัยในการตัดขาดทุน เป็นต้น
ดร.ธนภูมิ ดำรักษ์, CFA.
บทความโดย เทอร์ร่า บีเคเค ดร.ธนภูมิ ดำรักษ์, CFA. Email : tanapoom@uchicago.edu
รูปกราฟ SET ปี 2555 -ปัจจุบัน ( 2 มี.ค. 2559)
บทความโดย TerraBKK คลังความรู้สู่ การลงทุน เพิ่มความมั่งคั่ง ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก