รวมข้อมูล “โครงการบ้านประชารัฐ”
โครงการบ้านประชารัฐ โครงการภาครัฐที่สนับสนุนประชาชนชาวไทยได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ซึ่งได้ผ่านการอนุมติจากคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2559ที่ผ่านมา โดยโครงการนี้จะดำเนินต่อไปภายใต้ระยะ 2 ปี TerraBKK ได้สรุปข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ โครง การบ้านประชารัฐ ทั้งในด้าน คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์ ,ธนาคารที่เกี่ยวข้อง, ประเภทสินเชื่อ ตลอดจน ผู้ประกอบการอสังหา ภาครัฐเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ รายละเอียดดังนี้
บ้านประชารัฐ คืออะไร
โครงการ บ้านประชารัฐ เป็นโครงการสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์จากรัฐบาล เพื่อให้ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ทั้งรายได้ประจำและอาชีพอิสระ ที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์มาก่อน ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง รวมถึงการซ่อมแซม/ต่อเติมที่อยู่อาศัย ผ่านสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนจากสถาบันการเงินของรัฐ รวม 70,000 ลบ. ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้- สินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย (Pre Finance) จำนวน 30,000 ลบ. แก่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชน ผ่าน 3 ธนาคาร คือ ธอส.,ออมสิน,กรุงไทย (ธนาคารละ 10,000 ลบ.)
- สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Post Finance) จำนวน 40,000 ลบ. แก่ประชาชนกู้ซื้อบ้าน ผ่าน 2 ธนาคาร คือ ธอส.,ออมสิน (ธนาคารละ 20,000 ล้านบาท)
ซึ่งบ้านหรืออาคารที่เข้าร่วมโครงการ บ้านประชารัฐ ราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งลักษณะสร้างบนที่ดินตนเอง, โครงการเอกชน ,โครงการที่สร้างบนที่ดินของรัฐ ทั้งประเภทซ่อมแซม/ต่อเติม , สร้างใหม่, สร้างเสร็จพร้อมอยู่ และทรัพย์สินรอการขาย (Non-Performing Assets: NPAs) ของสถาบันการเงิน,บริษัทบริหารสินทรัพย์ และกรมบังคับคดี ภายใต้ ระยะเวลาโครงการ 2 ปี นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีอนุมัติ (วันที่ 22 มีนาคม 2559)
ฝั่งผู้ซื้อ : ประชาชนผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ
โครงการ บ้านประชารัฐ ได้ระบุหลักเกณฑ์ประชาชนที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ หากใครที่ผ่านคุณสมบัติดังกล่าวสามารถยื่นกู้ได้ที่ธนาคารร่วมโครงการ ได้แก่ ธอส. และ ออมสิน โดยหลักเกณฑ์ผู้เข่าร่วมโครงการมีรายละเอียดดังนี้
- ประสงค์จะ ซื้อบ้าน/ เช่าซื้อ/สร้างใหม่ ราคาไม่เกินหลังละ 1,500,000 บาท และต้องเป็น บ้านหลังแรก เท่านั้น
- ผู้ขอสินเชื่อ ไม่เคยมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านมาก่อน ยกเว้นว่า จะเป็นการซ่อมแซมหรือต่อเติมที่อยู่อาศัย และต้องมีชื่อเป็น "ผู้อยู่อาศัย" ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 3 ปี ยกเว้น มีชื่อเป็นเจ้าบ้านแต่พิสูจน์ได้ว่าไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้านนั้น
ทั้งนี้ นอกจากคุณสมบัติผู้กู้ต้องผ่านเกณฑ์ข้างต้นแล้ว จะต้องพิจารณาทรัพย์ที่ซื้อด้วยว่า เข้าหลักเกณฑ์กำหนดหรือไม่? นั้นคือ ผู้ประกอบการรายนั้นจะต้องให้ ส่วนลดพิเศษให้แก่ผู้ซื้อ 2% จากราคาขายสุทธิ ทำให้วงเงินขอสินเชื่อกู้ซื้อบ้านลดลง, ฟรีค่าโอนกรรมสิทธิ์และค่าจำนอง , ฟรีค่าส่วนกลาง 1 ปี ผู้ซื้อต้องตรวจสอบเอกสารแนบท้ายสัญญาว่าปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวจริง หากไม่เป็นเช่นนั้น ธนาคารจะไม่สามารถปล่อยกู้ได้
ฝั่งสินเชื่อ : ธนาคารผู้อนุมัติสินเชื่อโครงการ
สำหรับธนาคารสนับสนุนสินเชื่อโครงการ บ้านประชารัฐ นี้จะเป็นสถาบันการเงินของรัฐ ได้แก่ ธอส.,ออมสิน และ กรุงไทย รายละเอียดดังนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
- สินเชื่อพัฒนาโครงการ 10,000 ลบ. คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ปีที่ 1-2 เท่ากับ 4 % ต่อปี ปีที่ 3 จนถึงตลอดอายุสัญญาเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่า MLR – 1% ต่อปี (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ที่ 6.65% ต่อปี)
- สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 20,000 ลบ. สำหรับประชาชนทั่วไป แบ่งเป็น 2 กรณี
- กรณี กู้ซื้อ/ก่อสร้าง บ้านไม่เกิน 700,000 บาท และกู้ซ่อมแซม/ต่อเติมวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 0% นาน 1 ปีแรก ปีที่ 2 – 3 อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี ปีที่ 4-6 อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี และปีที่ 7 จนถึงตลอดอายุสัญญา อัตราดอกเบี้ย MRR–0.75% ต่อปี (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR อยู่ที่ 6.75% ต่อปี)
- กรณี วงเงินกู้มากกว่า 700,000 บาทแต่ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ปีที่ 1-3 เท่ากับ 3% ต่อปี ปีที่ 4–6 อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี และปีที่ 7 จนถึงตลอดอายุสัญญา กรณีลูกค้าสวัสดิการ อัตราดอกเบี้ย MRR–1% ต่อปี และกรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป อัตราดอกเบี้ย MRR–0.75% ต่อปี โดยผู้กู้ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อน ยกเว้นกรณีซ่อมแซมหรือต่อเติมที่อยู่อาศัย
- (Debt Service Ratio หรือ DSR) จะพิจารณาเพิ่มสูงสุดไม่เกิน 50% ของรายได้สุทธิต่อเดือน กรณีลูกค้ารายย่อย/ลูกค้าสวัสดิการที่ทำข้อตกลงหักเงินเดือนกับธนาคารจะใช้ DSR ที่ 80% ของรายได้สุทธิ ผ่อนชำระนานสูงสุด 30 ปี สามารถติดต่อยื่นคำขอกู้ได้ที่ ธอส.ทุกสาขาทั่วประเทศ
>> รายละเอียดเพิ่มเติ่ม click …
ธนาคารออมสิน
- จัดสรรวงเงิน 20,000 ล้านบาท ปล่อยกู้ให้แก่ประชาชนทั่วไปสำหรับซื้อบ้านใหม่หรือที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่ และทรัพย์สินรอการขาย (NPAs) ของสถาบันการเงิน และบริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ หรือบ้านมือสอง ที่เข้าร่วมโครงการบ้านประชารัฐ รวมทั้งต่อเติม/ซ่อมแซมอาคารในที่ดินของตนเอง
- คุณสมบัติผู้กู้ จะเป็นผู้มีรายได้ประจำ และผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอนหรืออาชีพอิสระ อายุ 20 ปีขึ้นไป สูงสุดไม่เกิน 65 ปี (นับรวมระยะเวลาชำระเงินกู้) ที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ยกเว้น การซ่อมแซม/ต่อเติมที่อยู่อาศัย ไม่เคยเป็น "เจ้าบ้าน" และต้องมีชื่อเป็น "ผู้อยู่อาศัย" ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 3 ปี ยกเว้น มีชื่อเป็นเจ้าบ้านแต่พิสูจน์ได้ว่าไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้านนั้น >> ทั้งนี้ มีผู้เสนอสิทธิ์ยื่นกู้โครงการเกินอัตรากำหนด ทางธนาคารปิดรับไปเรียบร้อยแล้ว
ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงไทยสนองนโยบาลสนับสนุน สินเชื่อประเภทพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย (Pre Finance) จำนวน 10,000 ลบ. สำหรับผู้ประกอบการอสังหาฯ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 4 ต่อปี ระยะเวลาโครงการ 2 ปี โดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียนใน ตลท. จะให้กู้ในลักษณะกู้ร่วมของ 3 ธนาคาร (กรุงไทย,ออมสิน และธอส.) โดยธนาคารกรุงไทย จะทำหน้าที่เป็นผู้นำในการปล่อยกู้และเป็นตัวแทนหลักประกัน ส่วนผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ขึ้นกับการพิจารณาของธนาคาร
ฝั่งผู้ขาย : ผู้ประกอบการอสังหาฯเข้าร่วมโครงการ
สำหรับเงื่อนไขผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าร่วมโครงการ บ้านประชารัฐ นั้น นอกจากทรัพย์จะต้องมีราคาไม่เกิน 1.5 ลบ.แล้ว ผู้ประกอบการจะต้องรับภาระค่าโอนร้อยละ 2 ของราคาที่อยู่อาศัย ,ค่าจำนองร้อยละ 1 ของมูลค่าจำนอง และรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง 1 ปี รวมทั้งให้ส่วนลดพิเศษไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 จากราคาขายสุทธิหลังหักส่วนลดปกติด้วย ซึ่งขณะนี้ก็มีองค์กรภาครัฐภาคเอกชนเข้าร่วมโครงการ บ้านประชารัฐ ไม่น้อยเลยทีเดียว ยกตัวอย่างดังนี้
- กรมธนารักษ์ : นำร่องที่ดินซอยวัดไผ่ตัน บริเวณใกล้บีทีเอสสะพานควาย สำหรับข้าราชการและพนักงานของรัฐเช่าอาศัย 3,000 บาท/เดือน ด้วยสัญญาเช่าระยะสั้นปีต่อปี
- การเคหะแห่งชาติ : คัดเลือกกว่า 280 โครงการ 26,704 ยูนิตเข้าร่วมโครงการ เปิดจองโครงการส่วนกลางที่สำนักงานใหญ่คลองจั่น 12-16 พค. 59 และต่างจังหวัด 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ,อยุธยา, บุรีรัมย์, ชลบุรี และกระบี่ วันที่ 12-21 พค. 59 ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่า กรณีทรัพย์ราคาไม่เกิน 7 แสนบาท สำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 40,000 บาทเท่านั้น กรณีทรัพย์ราคาตั้งแต่ 700,001-1,500,000 บาท ไม่จำกัดรายได้
- พฤกษา เรียลเอสเตท : เข้าร่วมโครงการบ้านประชารัฐรวมทั้งสิ้น 16 โครงการ จำนวน 4,488 ยูนิต มูลค่ารวมกว่า 4,700 ลบ. แบ่งเป็นทาวน์เฮาส์กว่า 357 ยูนิต (มูลค่า 485 ลบ.) และคอนโดมิเนียมกว่า 4,131 ยูนิต (มูลค่า 4,215 ลบ.) ดังนี้ >> รายละเอียดเพิ่มเติ่ม click …
- แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ : คัดเลือกโครงการตามเกณฑ์นโยบายบ้านประชารัฐ 13 โครงการ ร่วม 4,000 ยูนิต ขอยกตัวอย่างโครงการดังนี้ ลุมพินี ทาวน์ชิป รังสิต-คลอง1 click… ลุมพินี พาร์ค นวมินทร์-ศรีบูรพา click… ลุมพินี คอนโดทาวน์ ชลบุรี-สุขุมวิท click… ลุมพินี คอนโดทาวน์ ร่มเกล้า-สุวรรณภูมิ click…
- ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ : คัดเลือก 5 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 1,300 ลบ. ยูนิตกว่า 1,000 ยูนิต มาเข้าร่วมโครงการบ้านประชารัฐ ได้แก่ โครงการ B Loft สุขุมวิท 115 ราคา 1.39 ล้านบาท click… โครงการ Tropicana BTS Erawan ราคา 1.49 ล้านบาท click… โครงการ The cabana Condo ราคา 1.29 ล้านบาท click… โครงการ Pause condo สุขุมวิท 115 ราคา 1.39 ล้านบาท click… โครงการ Kensington แหลงฉบัง-ศรีราชา ราคา 1.19 ล้านบาท click…
- อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ : คัด 4 โครงการคอนโดมิเนียมแบรนด์ "ยูนิโอ" เข้าร่วมโครงการ บ้านประชารัฐ ราคาขาย 9 แสน - 1.5 ลบ. มูลค่ารวมกว่า 5 พันล้านบาท เป็นโครงการอยู่ระหว่างเปิด 1 โครงการ และ 2 โครงการจะเปิดตัวในปีนี้ ส่วนอีก 1 โครงการเปิดตัวเรียบร้อยแล้ว นั้นคือ โคงการยูนิโอ จรัญ ซ.3 click… --เทอร์ร่า บีเคเค
บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก