คุณคิดว่าคุณหมกมุ่นและคิดมากเกี่ยวกับทุกเรื่องมากจนเกินไปหรือไม่? คุณรู้สึกอ่อนแรงและกังวลในช่วงเวลานั้นมั้ย? อาการคิดมากกลายเป็นอาการที่เกิดได้ทั่วโลกและสามารถนำไปสู่โรคเครียด หดหู่ หรืออาการวิตกกังวลได้

จากการศึกษา นักจิตวิทยา ศาสตารจารย์ Susan Nolen-Hoeksema จากมหาวิทยาลัย Michigan พบว่า อาการคิดมากนั้นไม่ใช่ว่าจะพบเพียงในวัยผู้ใหญ่ แต่คนในช่วงอายุ 25-35 ปี นั้นถูกระบุว่าเป็นคนคิดมากกว่า 73 เปอร์เซ็นต์ และผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นคนคิดมา มากกว่าผู้ชาย 57 ต่อ 43 เปอร์เซ็นต์ ต่อไปนี้คือ 5 สัญญาณที่บอกว่าคุณเป็นคนคิดมาก

1. คุณไม่สามารถเลิกคิดถึงเรื่องที่คุณหมกมุ่นอยู่ก่อนจะนอนได้

คนที่คิดมากไม่สามารถที่จะหยุดตัวเองจากการหมกมุ่นกับบางสิ่งได้ อาการนอนไม่หลับเป็นอาการธรรมดา คุณใช้เวลาทั้งคืนคิดถึงแต่เรื่องที่คุณหมกมุ่นอยู่โดยที่ไม่ได้ทางออกใดๆ ความคิดนั้นเล่นอยู่ในหัวของคุณซ้ำไปซ้ำมา จนกระทั่งคุณไม่สามารถรู้สึกถึงอย่างอื่นได้ และเพราะเหตุนี้คุณจึงพักผ่อนไม่เพียงพอและนี่เป็นจุดเริ่มต้นของอาการหดหู่

เราขอแนะนำให้คุณเขียนสิ่งที่คุณรู้สึกออกมาก่อนจะพักผ่อน เอาความรู้สึกทั้งหมดทุ่มใส่ลงในบันทึกนั้นและปลดปล่อยตัวเองจากความเครียด ทำงานประดิดประดอย วาดรูป หรือทำงานอดิเรกในช่วงเย็นเพื่อทำให้จิตใจคุณออกห่างจากเรื่องที่ทำให้คุณคิดมากในขณะที่คุณตั้งใจกับสิ่งที่ทำอยู่

2. คุณใช้ชีวิตอยู่กับความกลัวในสิ่งที่ยังมาไม่ถึงหรือไม่

คนคิดมากนั้นมักจะรู้สึกกังวลอยู่ตลอดเวลากับ “ถ้ามัน....” แทนที่จะใช้ชีวิตอยู่ในปัจจุบัน จากการศึกษา Nolen-Hoeksema ค้นพบว่าสาเหตุที่คนคิดมากนั้นมีอัตราความเป็นไปได้ที่จะหันไปหาเหล้าและยามากกว่านั้นเป็นเพราะคนเหล่านั้นต้องการที่จะหยุดความกังวลที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลานั้น

เราขอแนะนำให้รับมือกับความกลัวในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น โดยให้เวลาตัวเองในช่วงเวลาสั้นๆทุกวันเพื่อคิดมาก หากคุณจะคิดมากให้นัดกับตัวเองและมีช่วงเวลาคิดมากเป็นของตัวเอง ใช้เวลาซัก 15 นาทีต่อครั้ง ในระหว่างนั้นคุณอาจจะทำการจดบันทึกหรือพูดกับตัวเองดังๆว่าคุณคิดอะไรอย่างไรอยู่ การสร้างนิสัยเช่นนี้จะช่วยให้คุณหยุดการคิดมาตลอดเวลา นี่ถือเป็นการเอาพฤติกรรมด้านลบออกและแทนที่ด้วยพฤติกรรมทางบวก

3. คุณมักจะวิเคราะห์บางอย่างมากเกินไป

คนคิดมากมักจะเหนื่อยง่ายจากความเครียดและความกังวล ความหดหู่เป็นผลมาจากสิ่งนั้นเช่นกัน จิตใจขอคนที่คิดมากนั้นมักจะคิดไปไกลอยู่ตลอดเวลาโดยไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งที่การคิดนั้นไม่สามารถให้ทางออกอะไรกับปัญหาที่คิดอยู่ได้ Dr. Pene Schmidt จาก University of Melbourne’s School of Behavioral Science แนะนำว่า “จำไว้แม้ว่าเราจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัวเราได้ แต่เราสามารถควบคุมวิธีที่เราจะตอบโต้กับสถานการณ์นั้นๆได้”

เธอยังแนะนำอีกด้วยว่า เมื่อใจเราเริ่มคิดไปถึงความคิดลบต่างๆแล้ว ขอให้คุณถามตัวเอง “อะไรคือผลกระทบของความคิดนี้? มีทางแก้ไขที่สามารถหาได้ในตอนนี้หรือไม่?”

เมื่อคุณเริ่มพบว่าตัวคุณเองนั้นเริ่มที่จะคิดมากไป สูดลมหายใจเข้าลึกๆ หลับตาและลองทำสมาธิสักครู่ คิดถึงสถานที่ที่คุณอยากจะไปและเป็นสถานที่ที่มีความสุข หยุดคิดถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เพราะคุณยังไม่สามารถทำอะไรกับมันได้หากมันยังไม่เกิดขึ้น

4. คุณเป็นคนที่ต้องการให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบและถือทุกเรื่องเป็นเรื่องส่วนตัวหรือไม่

คุณกังวลหรือไม่ที่จะผิดพลาด? คนคิดมากโดยส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยมั่นใจในตัวเองและมักจะมีคำถามมากมาย จิตใจมักจะมุ่งไปที่ว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรกับคุณ ขอให้คุณจำไว้ว่าไม่มีใครที่สมบูรณ์พร้อมไปทุกอย่าง ความไม่สมบูรณ์นั้นแหละที่เป็นตัวผลักดันให้คนเราทำในสิ่งที่ติดอยู่ในใจ การพยายามทำให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบตลอดเวลานั้นคือสูตรแห่งหายนะ ค่อยๆก้าวไปทีละนิด มองภาพรวมและเปลี่ยนความคิดจาก “ชั้นทำสิ่งนี้ไม่ได้เพราะชั้นจะดูตลก” เป็น “ชั้นกล้าหาญมากที่ทำอย่างนั้นไป”

5. คุณสงสัยในสิ่งที่ทำหรือไม่

คนคิดมากมักจะรู้สึกเสียใจอยู่เสมอ อาการคิดมากนั้นไม่ใช่ความผิดปกติทางด้านยีนส์หรือร่างกาย แต่เป็นพฤติกรรมที่เรียนรู้ ดังนั้นแล้วเมื่อจิตใจของคุณเริ่มเดินทางไปสู่ความคิดที่สับสนวุ่นวายมันเป็นเพราะประสบการณ์ในอดีต คนคิดมากมักจะคิดว่าตัวเองจะทำความผิดพลาดเดิมอีกในสถานการณ์ที่แตกต่าง จากนั้นอาการตื่นตระหนกก็จะถูกแผงอยู่ในทุกทางเลือกการตัดสินใจ พยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่สามารถนำไปสู่ความเครียดและอาการคิดมากวิตกกังวล เพื่อลดต้นเหตุของความเครียด หากในอดีตคุณเคยตัดสินใจเช่นไร ในการตัดสินใจคราวนี้จงทำในสิ่งที่ต่างไป ลองวางแผนและตั้งเป้าหมายว่าคุณต้องการให้เกิดอะไรขึ้นในตอนจบ และคุณต้องทำอย่างไรเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายนั้น ศึกษาและค้นคว้าวิธีการ การศึกษาจะค้นคว้าจะช่วยให้คุณได้เรียนรู้ในสิ่งที่อาจจะไม่เคยรู้มาก่อนและช่วยลดความกลัวจากความไม่รู้อีกด้วย

การคิดบวกนั้นจะช่วยให้คุณลดความกลัวและความเครียด เพื่อที่จะลดอาการคิดมาก ทำตัวเองให้ยุ่งเข้าไว้ตลอดเวลากับสิ่งที่เป็นบวก เช่น ออกกำลังกาย ประดิษฐ์ของ แบ่งปัน ออกไปข้างนอก ติดต่อเพื่อและครอบครัว หรือหากลุ่มสนับสนุนที่จะช่วยลดความคิดลบที่มีอยู่

“มนุษย์นั้นกำลังจะถึงจุบจบเพราะคิดมากเกินไป เราค่อยๆฆ่าตัวเองโดยการคิดถึงทุกเรื่อง คิด คิด คิด คุณไม่สามารถที่จะเชื่อจิตใจของมนุษย์ได้ นี่คือกับดักมรณะ” ~ Anthony Hopkins

ขอบคุณข้อมูลจาก www.powerofpositivity.com