ในแต่ละวันปริมาณการขับถ่ายอุจจาระของแต่ละคนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับอาหารที่กิน ถ้าเป็นอาหารที่มีกากใยมมากก็จะทำให้มีอุจจาระมากและหากถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือรู้สึกถ่ายไม่สุด ใช้เวลาถ่ายนาน หรือไม่ถ่ายอุจจาระติดต่อกันหลายวัน เมื่อ “ท้องผูก” ปัญหาที่ตามมาคือกากอาหารจะตกค้างอยู่ในลำไส้เป็นเวลานาน ทำให้บูดเน่า และเกิดพิษต่อร่างกาย ทำให้ลำไส้ไม่สะอาด เลือดลมปั่นป่วน เกิดผลกระทบต่อระบบการทำงานในร่างกายและเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ดังนี้ 1. ริดสีดวงทวาร การขับถ่ายโดยใช้แรงเบ่งแรงๆ อุจจาระที่แห้งและแข็งจะเสียดสีกับทวารหนัก ทำให้ทวารหนักปริออกจนเลือดไหล หากท้องผูกเป็นประจำจะทำให้หลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักขอดกลายเป็นริดสีดวงได้ 2. มะเร็งลำไส้ ท้องผูกทำให้ลำไส้ไม่สะอาด เมื่ออุจจาระตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานานจะเกิดเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดซึ่งทำให้ลำไส้เป็นแผลและเสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ 3. โรคตับ ตับมีหน้าที่ขับสารพิษที่ตกค้างในร่างกายสารพิษที่เกิดจากอาการท้องผูกต้องใช้ตับขับออก เช่นกัน ทำให้ตับทำงานหนักขึ้นและตับเสื่อมลง เมื่อท้องผูกเป็นประจำ ส่งผลให้การขับสารพิษไม่เต็มประสิทธิภาพนอกจากนี้ อาการท้องผูกยิ่งทำให้ ผู้ป่วยโรคตับมีอาการกำเริบและทรุดหนัก 4. โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงหรือโรคหลอดเลือดสมอง การเบ่งอุจจาระแรงๆ จะเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต อาจทำให้โรคหัวใจกำเริบ หรือทำให้อาการต่างๆ ทรุดหนัก
ไม่อยากเสี่ยงกับโรคร้ายเหล่านี้ ทางออก คือ ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเสียใหม่ โดยลดปริมาณเนื้อสัตว์ เลี่ยงอาหารไขมันสูง เน้นผักผลไม้สดอาหารที่มีเส้นใยสูง และดื่มน้ำให้เพียงพอ 6-8 แก้วต่อวัน

หมายเหตุ : ภาพประกอบบทความ บางภาพไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่อย่างใด

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.healthandtrend.com : 4 โรคร้ายที่เริ่มจาก… ท้องผูก