โปรเจคดีๆ ที่คน กรุงเทพฯ ช่วยกันสร้าง ปี 2559
- การฟื้นฟูละครชาตรี เปิดเป็นโรงเรียนละครสำหรับเยาวชนในชุมชน เพื่อให้เกิดการใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์
- ฟื้นฟูตลาดนางเลิ้ง แหล่งรวมอาหารอร่อยใจกลางกรุงให้กับพนักงานออฟฟิสและนักท่องเที่ยว
- ฟื้นฟูโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง อาคารเก่าแก่ที่มากคุณค่าทั้งสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์
ขอบคุณภาพจาก : https://www.facebook.com/BaanNanglerng/
ขอบคุณภาพจาก : https://www.facebook.com/BaanNanglerng/
2. “ชานสว่าง” สถานเด็กเล่นที่สร้างแสงสว่างกลางคลองเตย
ชุมชนคลองเตย หรือที่คุ้นหูกันดีในชื่อ สลัมคลองเตย ในสายตาที่มองจากภายนอกนั้นอาจดูไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากเป็นชุมชนแออัดที่มีปริมาณที่อยู่อาศัยและประชากรหนาแน่น อีกทั้งยังแฝงไปด้วยความรุนแรงจากปัญหายาเสพติด แต่ คุณกษมา แย้มศรี สถาปนิกจาก open space ไม่ได้คิดอย่างเดียวกัน จึงได้เกิดการสร้างสรรค์โปรเจคร่วมกับ TYIN Tegnestue Architects กลุ่มสถาปนิกจากประเทศนอร์เวย์ จากการสนับสนุนทุนหลากหลายแห่ง เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูชุมชน โดยการใช้สถาปัตยกรรมเพื่อการมีส่วนร่วม จึงได้กำเนิด Chan – Sawang / Klongtoey Community Lantern หรือ ชานสว่าง - สถานเด็กเล่น เพื่อหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กๆในทางที่ดีขึ้นในชุมชนนี้ โครงการนี้เกิดขึ้นมานานนับตั้งแต่ปี 2554 แต่เนื่องจากความน่าสนใจของโครงการนี้นั้น คือจุดเริ่มต้นการสร้างสรรค์พื้นที่ดีๆในคลองเตย รวมไปถึงการเป็นอีกหนึ่งต้นแบบของการใช้พื้นที่และสถาปัตยกรรมมาช่วยฟื้นฟูชุมชน โดยโครงการนี้ สถาปนิกใช้เวลาศึกษาพฤติกรรมของชาวลองเตยนับ 10 เดือน โดยเริ่มจากการให้เด็กๆในชุมชน ช่วยกันสร้างสรรค์สถานเด็กเล่นที่ตัวเองต้องการ พัฒนาเป็นโมเดล ก่อนจะให้เด็กๆเอากลับไปที่บ้านเพื่อให้พ่อแม่ดู สุดท้ายก็ได้ความคิดเห็นจากผู้ปกครองมาเพิ่มเรื่อยๆ จนเกิดเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในชุมชนได้สำเร็จขอบคุณภาพจาก : www.tcdc.or.th/articles/design-creativity/15027/
ขอบคุณภาพจาก : www.tcdc.or.th/articles/design-creativity/15027/
3. สนามฟุตบอลคลองเตย พื้นที่ไร้รูปแบบอย่างสร้างสรรค์
อีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่เป็นสิ่งการันตีได้ชัดเจนว่า “พื้นที่ และ ชีวิต” มีความสัมพันธ์อย่างไม่อาจแยกจากกันได้ โดยโครงการสนามฟุตบอลคลองเตย หรือ AP Unusual Football Field เป็นโครงการฉลองครบรอบ 25 ปีจากบริษัท AP Thailand นั่นเอง แนวคิดของโครงการมีจุดเริ่มต้นที่เรียบง่ายแต่โจทย์นั้นสาหัส นั่นคือการนำพื้นที่ว่างเปล่ามาพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ AP ก็สามารถทำได้เหนือความคาดหมาย โดยการเปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าเหล่านั้น ให้เป็นสนามฟุตบอลที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างพื้นที่การมีส่วนร่วมให้กับชุมชนคลองเตย ด้วยกิจกรรมกีฬาและ free space ที่เป็น common activity ของคนทุกวัยในชุมชน และพื้นที่ว่างเปล่าในตอนนั้น จึงได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่มีค่าของชุมชนในที่สุด และนิตยสาร TIMEs ก็ได้ยกให้ AP Unusual Football Field เหล่านี้ เป็นหนึ่งใน 25 นวัตกรรมแห่งปี 2016 อีกด้วย
ขอบคุณภาพจาก :https://www.pptvthailand.com/news
ขอบคุณภาพจาก :https://www.pptvthailand.com/news
ขอบคุณภาพจาก :https://www.pptvthailand.com/news
4. ชุมชนป้อมมหากาฬ ตำนานที่ไม่อยากให้ลืมกัน
โครงการฟื้นฟูป้อมมหากาฬก็เป็นอีกหนึ่งโครงการที่มีจุดเริ่มต้นเช่นเดียวกันกับพื้นที่อื่นๆ นั่นคือ ปัญหาจากการไร่ลื้อและเวนคืนที่ดิน เพื่อปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะอีกแห่งของคนกรุง สิ่งหนึ่งที่คนในชุมชนป้อมมหากาฬเห็นต่าง นั่นคือ ในชุมชนมีบ้านโบราณ รวมไปถึงวิถีชีวิตเก่าแก่ ที่โครงสร้างพื้นฐานไม่สามารถทดแทนพิพิธภัณฑ์มีชีวิตเหล่านี้ได้ จากการร่วมไม้ร่วมมือหลายฝ่าย ทำให้เกิดการฟื้นฟูชุมชนป้อมมหากาฬขึ้นมาอีกครั้ง ในชื่อ “Co-Create Mahakarn” โดยเตรียมนำเสนอแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยและการอยู่ร่วมกันของชาวชุมชนป้อมมหากาฬแก่ กทม. ก่อนจะถึงการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในเดือนเมษายน 2560 นี้
การฟื้นฟูป้อมมหากาฬนั้นได้รับความร่วมมือและความสนใจจากหลายฝ่าย ทั้งสถาบันการศึกษา ชาวบ้านในชุมชนต่างๆในพระนคร ผู้ประกอบการเอกชน และภาครัฐหลายหน่วยงาน เนื่องจากทุกฝ่ายต่างเห็นตรงกันว่า ชุมชนป้อมมหากาฬทรงคุณค่าเกินกว่าจะปล่อยให้สูญหายไปได้
โดยในช่วงวันที่ 24-31 ธันวาคม 2559 นี้ ชุมชนป้อมมหากาฬจัดงาน “มาหากัน มหากาฬ” โดยการนำเอาสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนออกมาวางขายและจัดแสดง รวมไปถึงจัดพื้นที่รับฟังความคิดเห็นในการสร้างสรรค์ชุมชน ชื่องาน “ต่อลอง” สำหรับผู้ที่สนใจโครงการดีๆนี้ สามารถไปเยี่ยมเยียนได้ที่ ชุมชนป้อมมหากาฬ ในวันและเวลาดังกล่าว
ขอบคุณภาพจาก : https://www.facebook.com/ชุมชนป้อมมหากาฬ
ขอบคุณภาพจาก : https://www.facebook.com/ชุมชนป้อมมหากาฬ