เมื่อ เมือง ต้อง ฟื้นฟู
อาจจะไม่แปลกเท่าไรนัก ที่เราจะชินตากับคอนโดตึกสูงหลายสิบชั้นในพื้นที่ใจกลางเมือง และบ้านเดี่ยวบริเวณกว้างขวางในพื้นที่ชานเมืองหรือชนบท “แน่นอนสิ เพราะพื้นที่เมืองเป็นพื้นที่ที่ต้องมีคนอยู่เยอะกว่านอกเมืองอยู่แล้ว” นี่อาจเป็นสิ่งที่หลายๆคนคิดอยู่ในใจ แต่้รู้หรือไม่การดำรงอยู่ของเมืองแบบนี้ มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Urbanization ซึ่งเป็นปรากฎการณ์และแนวโน้มของเมืองที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะแค่ประเทศไทยเแต่เกิดขึ้นทั่วโลก
จากรายงานของ UN HABITAT (ปี 2555) มีข้อเท็จจริงว่า อัตราส่วนของคนในพื้นที่เมืองอัตราสูงกว่าชนบท (ซึ่งไกลกว่าชานเมือง) เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ข้อเท็จจริงนี้สะท้อนถึงการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยของคนจำนวนมากจากพื้นที่นอกเมืองเข้ามาอยู่ในเมือง แต่ในขณะเดียวกันพื้นที่ในเมืองมีเท่าเดิม การขยายตัวที่จะกระจายออกไปบริเวณชานเมือง ก็เกิดปัญหาของระยะทางจากแหล่งงานถึงที่อยู่อาศัย ราคาที่ดิน ค่าครองชีพ สุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รู้สึกตัวอีกทีก็กลายเป็นปัญหาเรื้อรังเหมือนสายป่านที่ตัดไม่ขาดง่ายๆซะแล้ว ซึ่งหนึ่งยุทธวิธีที่สามารถใช้แก้ปัญหานี้ได้ คือ การฟื้นฟูเมือง (Urban Renewal) การฟื้นฟูเมือง คือการพัฒนาที่ว่างในเมืองหรือพื้นที่ที่มีความทรุดโทรมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงที่สุด ข้อดีคือสามารถตอบโจทย์การขยายตัวประชากรในเมืองได้ดีกว่าการที่เมืองขยายพื้นที่ออกไป ซึ่งวิธีการหลักๆของการฟื้นฟูเมืองมีด้วยกัน 3 วิธีได้แก่- การรื้อถอนและสร้างใหม่ (Urban Redevelopment) - สำหรับพื้นที่ที่ทรุดโทรมจนยากเกินจะแก้ไข ด้วยการรื้อถอนโครงสร้างที่มีอยู่เดิมเพื่อก่อสร้างใหม่ให้ตอบโจทย์การฟื้นฟูพื้นที่นั้นๆ
- การแก้ไขปรับปรุงพื้นที่ (Urban Rehabilitation) - เปลี่ยนการใช้สอยของพื้นและอาคาร เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ีที่ดินได้มากขึ้น
- การอนุรักษ์ (Urban Conservation) - การเก็บรักษาอาคารรวมไปถึงสภาพแวดล้อมในระดับย่านที่มีคุณค่า ให้ลดความทรุดโทรม เพิ่มความมีระเบียบ สอดรับกับบริบทปัจจุบัน
โดยวิธีการเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากเป็นเรื่องใหญ่ในระดับเมือง จึงจำเป็นจะต้องมีข้อกฎหมายหรือข้อกำหนดครอบคลุมเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ โดยสิ่งเหล่านี้ก็คือผังเมืองในระดับต่างๆนั่นเอง ได้แก่ ผังเมืองรวม, ผังเมืองเฉพาะ, ข้อบัญญัติท้องถิ่น, การจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่, การจัดสรรกรรสิทธิ์เพื่อการฟื้นฟูเมือง และในส่วนของการควบคุมอาคารซึ่งมีระดับที่เล็กกว่าเมือง นั่นคือ อัตราส่วนของพื้นที่อาคารคลุมดินต่อพื้นที่ดิน (Building Coverage Ratio : BCR), อัตราส่วนพื้นที่อาคารร่วมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio : FAR), อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (Open Sapce Ratio ; OSR), การกำหนดเงื่อนไขให้สามารถเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR Bonus) และ การโอนถ่ายสิทธิในการพัฒนา (Transfer of Development Rights : TDR) ในความจริงแล้ว ทางออกที่ดีที่สุดคือจำเป็นจะต้องฟื้นฟูพื้นที่ในเมืองไปพร้อมๆกันกับพื้นชานเมือง เนื่องจากสองพื้นที่สะท้อนต้นทุนที่ได้เสียแตกต่างกัน เช่น ต้นทุนการเดินทาง ต้นทุนที่ดิน ต้นทุนด้านเวลา ต้นทุนด้านคุณภาพชีวิต ต้นทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น โดยหากผู้อยู่อาศัยสามารถเปรียบเทียบส่วนได้ส่วนเสียของทั้งสองพื้นทีไ่ด้ ก็คงจะเกิดความคุ้มค่าที่้มีความพอใจ แต่เนื่องจากในปัจจุบันด้านราคาที่ดินที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้ทางเลือกนั้นไม่ได้มีหลงเหลือมากนัก การฟื้นฟูเมือง จะเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างทางเลือกในการอยู่อาศัยได้มากขึ้น เพราะในปัจจุบันการพัฒนาพื้นที่ในเมืองนั้นจะออกไปในทางพื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยแนวดิ่งที่มีราคาสูง (แปรผันตรงกับราคาที่ดิน) โดยข้อดีที่จะได้รับจากการฟื้นฟูเมืองทางตรง ก็คือเจ้่าของที่ดินที่จะได้อรรถประโยชน์ไปเต็มๆ ทั้งในด้านสภาพแวดล้อมและมูลค่าที่ดินที่จะเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม และทางอ้อมคือประชากรบางส่วนที่จะสามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองได้ โดยที่ไม่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงเท่ากับก่อนหน้าการฟื้นฟูเมือง อีกทั้งรัฐก็ไม่ต้องสิ้นเปลืองการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกกับพื้นที่เมืองที่ขยายออกไป จนเกือบจะไร้ทิศทางและดูวุ่นวาย แต่เนื่องจากการถือครองแปลงที่ดินในเมืองส่วนใหญ่นั้นล้วนถูกจับจองไปเกือบจะหมดสิ้นแล้ว สิ่งสำคัญคือภาครัฐอาจจะต้องเข้ามาแทรกแซงการถือครองโดยใช้มาตรการเพื่อให้เกิดการรวมแปลงที่ดินที่สามารถทำให้เกิดการฟื้นฟูได้ แน่นอนว่าจะต้องกระจายผลประโยชน์ให้กับเจ้าของแปลงที่ดินอย่างเป็นธรรม ในปัจจุบันโครงการฟื้นฟูเมืองกรุงเทพฯ เริ่มเกิดขึ้นแล้วในบางส่วน โดยจะอยู่ในบริเวณพื้นที่พระนครหรือกรุงเก่า โดยอีกหนึ่งองค์กรที่เข้ามามีบทบาทในการช่วยพัฒนาและฟื้นฟูเมือง คือ UDDC หรือ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย TerraBKK Research จะขอนำเสนอโครงการการฟื้นฟูเมืองที่ UDDC นี้เริ่มดำเนินการเพื่อให้ได้เห็นภาพของการฟื้นฟูเมืองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น - เทอร์ร่า บีเคเค โครงการฟื้นฟูอนุรักษ์พื้นที่ประวัติศาสตร์ชุมชนริมน้ำย่านคลองสาน - ย่านเก่าแก่ที่เป็นเหมือน The Cosmopolitan District ของกรุงรัตนโกสินทร์
ขอบคุณภาพจาก : http://www.uddc.net/th/projects
ขอบคุณภาพจาก : http://www.uddc.net/th/projects
โครงการริมน้ำยานนาวา - ด้วยศักยภาพทำเลที่เชื่อมต่อกับย่าน CBD ของกรุงเทพฯ จึงได้ถูกวางให้เป็นทำเลยุทธศาสตร์นำร่องการฟื้นฟูพื้นที่ริมน้ำของกรุงเทพฯ
ขอบคุณภาพจาก : http://www.uddc.net/th/projects
ขอบคุณภาพจาก : http://www.uddc.net/th/projects
โครงการวางแผนพัฒนาพื้นที่บริเวณราชดำเนินกลาง - พัฒนาจากร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ราชดำเนินกลางจึงยังเป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพฯ
ขอบคุณภาพจาก : http://www.uddc.net/th/projects
ขอบคุณภาพจาก : http://www.uddc.net/th/projects
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://www.uddc.net
บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก