Mega Project “ ตะวันออก ” เส้นทางของการลงทุน
จากนโยบายระหว่างประเทศเรื่องการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ตั้งแต่ปี 2559 อันเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ภาครัฐพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ไม่เพียงแต่รัฐบาลไทยเท่านั้น แต่รัฐบาลของแต่ละประเทศในประชาคมอาเซียนล้วนจับมือกันพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการลงทุนได้อย่างยิ่งยวด โดยครั้งนี้ TerraBKK Research จะขอนำเสนอพื้นที่ภาค ตะวันออก ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ทำเลยุทธศาสตร์ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้
โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economics Corridor : EEC)
ร่าง พรบ. ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก ครอบคลุมการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ 3 จังหวัด ประกอบด้วย จ.ฉะเชิงเทรา, จ.ชลบุรี และจ.ระยอง เนื่องจากเป็นพื้นที่ฐานการผลิตอุตสาหกรรมหลักของประเทศ และมีศักยภาพสูงในการส่งเสริมให้เป็นฐานการผลิต 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth), การต่อยออด 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) และการพัฒนาอุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) โดย พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวได้รับการเห็นชอบฉบับร่างแล้วเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2559 ซึ่งมีโครงสร้างที่สำคัญคือ
- การจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก
- ให้สิทธิการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ของคนต่างด้าว โดยให้เช่าที่ดิน 50 ปี และต่ออายุได้อีก 49 ปี
- อนุญาตให้นำช่างฝีมือ ผู้บริหารระดับสูงที่เป็นบุคคลต่างด้าว และครอบครัวมาพักในประเทศไทย
- การให้สิทธิลดหย่อนภาษีอากร รวมถึงให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอื่น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับ พ.ร.บ. ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
- จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นองค์กรประสานงานขับเคลื่อนโครงการจัดการพื้นที่
- ส่งเสริมการดึงดูดนักลงทุน ส่งเสริมการให้บริการ One Stop Service และสามารถใช้อำนาจอนุมัติตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
- กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยสรรหาเลขาธิการขึ้นมาทำหน้าที่ และเป็นผู้อนุมัติคำขอต่าง ๆ
- จัดตั้งการพัฒนาพื้นที่ รวมถึงจัดตั้งกองทุนพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก เพื่อเป็นทุนกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น และยกระดับท้องถิ่น
เนื่องจากการปักหมุดให้ตะวันออกเป็นพื้นที่เส้นทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่สำคัญ รัฐบาลได้อนุมัติแผนลงทุนพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคตะวันออกครั้งใหญ่ เพื่อหนุนเสริมและเพิ่มศักยภาพด้านโลจิสติกส์ เป็น โครงการพัฒนารวม 62 โครงการ วงเงินกว่า 400,000 ล้านบาท ครอบคลุมทุกรูปแบบการขนส่งโดยได้แก่
ขอบคุณภาพจาก : http://www.ftilogistics.org/
นอกจากนั้นเป้าหมายตามแผนการลงทุนที่วางไว้มีทั้งภาครัฐและเอกชน มีมูลค่าประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท ใน 5 ปีแรก อาทิ เมืองใหม่ 4 แสนล้านบาท จะเป็นการลงทุนโดยเอกชน สนามบินอู่ตะเภารองรับผู้โดยสาร 3 ล้านคน/ปี จะลงทุนโดยรัฐ เป็นต้น ตามแผนที่วางไว้คาดว่า นอกจากประเทศจะมีการลงทุน 1.5 ล้าน ล้านบาทใน 5 ปีแล้ว ยังจะทาให้เศรษฐกิจโต 5% ต่อปี เกิดการจ้างงานใหม่กว่า 100,000 อัตรา/ปี ลดต้นทุน ด้านโลจิสติกส์ 4 แสนล้านบาท/ปี มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 10 ล้านคน/ปี และได้ฐานภาษีใหม่ 1 แสนล้านบาท/ปี
จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งรอบด้านนี้ จะทำให้เกิดศักยภาพด้านการเป็น ศูนย์กลางการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมหลายรูปแบบ (Multi-Modal Transport) และเกิดสิทธิประโยชน์ในการลงทุนมากกว่าชาติในอาเซียน โดยเฉพาะในด้านภาคอุตสาหกรรม
การแบ่งบทบาทในเส้นทางเศรษฐกิจตะวันออก (Eastern Economic Corridor) จากการพัฒนาระยะแรก
โครงการของภาครัฐแต่ละโครงการนั้น ช่วยหนุนเสริมให้บทบาทของแต่ละพื้นที่นั้นแตกต่างกัน โดยบทบาทของแต่ละพื้นที่จะต่อเนื่องมาจากช่วงสมุทรปราการ ที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวและรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก ไปจนถึงฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ศรีราชา, พัทยา, สนามบินอู่ตะเภา, สัตหีบ, เกาะเสม็ด และระยอง โดยพื้นที่เหล่านี้จะเป็นจุดศูนย์กลางยุทธศาสตร์ของการพัฒนา โดยมีบทบาทดังนี้
- ฉะเชิงเทรา : พัฒนาในด้านการอยู่อาศัย เพื่อรองรับการขยายตัวของประชากรจากรุงเทพฯ
- ชลบุรี-ศรีราช : พัฒนาต่อยอดจากเดิมที่มีสถานศึกษาหลายแห่ง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ นอกจากนั้นยังได้รับบทบาทในการเป็นพื้นทีอุ่ตสาหกรรมรถยนต์อนาคตและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
- ท่าเรือแหลมฉบัง : พัฒนาการขนส่งทางน้ำเพื่อให้เป็นท่าเรือระดับโลก ที่เชื่อมกับ AEC-จีน-อินเดีย
- พัฒยา-สัตหีบ-ระยอง : ต่อยอดการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพของภาคตะวันออกในเชิงธุรกิจ, เชิงครอบครัว และเชิงสุขภาพ
- สนามบินอู่ตะเภา-ท่าเรือจุกเสม็ด : พัฒนาเพื่อให้เป็นอีกหนึ่ง hub การคมนาคมระดับนานาชาติและเป็นศุนย์ธุรกิจการบินในด้านการซ่อมอากาศยาน การส่งสินค้า และการพัฒนาการบิน
- ระยอง : พัฒนาให้เป็นเมืองนานาชาติ และศูนย์กลางธุรกิจทันสมัยด้านการวิจัยอาหารและ BIO Eco Chemistry
ขอบคุณภาพจาก : http://www.ftilogistics.org/
ร่างพระราชบัญญัติพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. .... ที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสานักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมี หลักการสาคัญ คือ จัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษขึ้นในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกและยกระดับ จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทราเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ภายหลังจากพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกมีผลบังคับใช้กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยจะเร่งจัดทาผังเมืองรวมการพัฒนาในพื้นที่ 3 จังหวัด EEC ให้แล้วเสร็จภายใน1 ปีเพื่อ กำหนดว่าในพื้นที่นั้นๆ เหมาะสมจะพัฒนาอะไร เช่น นิคมอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย หรือพาณิชยกรรม ซึ่งการใช้ พื้นที่สาหรับพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมในปัจจุบันมีทั้งที่พัฒนาแล้วและอยู่ระหว่างการพัฒนา รวมทั้งสิ้น 30 นิคมอุตสาหกรรม พื้นที่รวม 26,563 ไร่
กลุ่มธุรกิจแหละอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักได้ประโยชน์โดยตรง
ธุรกิจโลจิสติกส์ : เนื่องจากการพัฒนาระบบคมนาคมทุกด้าน ทำให้โอกาสการลงทุนของเอกชนนั้นโดดเด่นในกลุ่มคลังสินค้าสมัยใหม่และ Third Party Logistics Service Provider (3PL) ซึ่งจะช่วยสนับสนุนธุรกิจยุคใหม่ และจะสอดคล้องกับการวางบทบาทในแต่ละพื้นที่ นอกจากนั้นยังได้รับโอกาสจากการพัฒนาท่าเรือทวาย จากประเทศเมียนมาร์ และนโยบาย Look South Policy จากจีน ที่จะช่วยส่งเสริมให้ภาคตะวันเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าเชื่อมระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียเข้าด้วยกัน อุตสาหกรรมเชื้อเพลงและเคมีชีวภาพ : เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเภทที่ได้เปรียบด้านเกษตรกรรมและมีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่หลากหลาย ทำให้เกิดโอกาสในการลงทุนธุรกิจเชื้อเพลงชีวภาพตามนโยบาย Bio Economy ธุรกิจท่องเที่ยว : จากการพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงแลัท่าอากาศยานอู่ตะเภา จะเป็นการดึง traffic แบบเครื่องบินเช่าเหมาลำตรงสู่พัทยา ซึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนและรัสเซียที่มีสัดส่วนถึง 45% ของตลาดนักท่องเที่ยวในพัทยา) อีกทั้งการพัมนาท่าเรือน้ำลึกจุกเสม็ด จะสามารถรองรับตลาด Luxury Tourist ที่จะสร้างรายได้ให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมากกว่าเดิม
โอกาสทองของธุรกิจอสังหาฯ และก่อสร้าง
เนื่องจากการพัฒนา EEC นั้นเปรียบเสมือนกับการสร้าง เมืองใหม่ ขึ้นในภาคตะวันออก ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลให้เกิดการกระจุกตัวของประชากรมากขึ้นตามพื้นที่ยุทธศาสตร์หลัก โดยเฉพาะในพื้นที่ชลบุรีและระยอง การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มมีการลงทุนมากขึ้น ภายหลังจากที่มีการชะลอการลงทุนในพื้นที่ตะวันออกมาซักระยะ นอกจากนั้นจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานซึ่งจะทำให้เกิดงานก่อสร้างเพิ่มขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อผู้รับเหมาและธุรกิจการก่อสร้างทุกกลุ่ม เนื่องจากรัฐบาลมีการแบ่งสัญญาก่อสร้างย่อย ทำให้ผู้รับเหมา SME ในพื้นที่มีโอกาสเข้าถึงและรับงานตรงมากขึ้น -- เทอร์ร่า บีเคเค
ขอบคุณภาพจาก : http://thaipublica.org/
บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก