เราเพิ่งจะนำเสนอเรื่องน่าชื่นอกชื่นใจเกี่ยวกับความร่วมมือในการพัฒนาเมืองของ ขอนแก่นพัฒนาเมือง ไปไม่นานนี้ ซึ่งการก้าวกระโดดของแขนแก่นนี่เองที่ทำให้เราต้องย้อนมามอง กรุงเทพ อีกครั้ง เนื่องจากการพัฒนาของ กรุงเทพ นั้นรุดหน้าไปไกลกว่าเมืองอื่นๆ แถมยังนำหน้าขอนแก่นไปตั้ง 18 ปี (ในการมีระบบขนส่งมวลชนทางรางใช้) ซึ่งกรุงเทพก็ดูพัฒนาเร็วดี แต่ว่าไปๆมาๆ ทำไมเรามองไม่ค่อยเห็นภาพของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองกรุงเทพ เหมือนที่เขอนแก่นมีกันสักเท่าไร? เรื่องนี้ก็เผอิญไปตรงกันกับแนวคิดการพัฒนาเมือง (ที่อาจจะเรียกว่า ‘แนวคิดโลกสวย’ ก็ได้) ที่ชื่อ Inclusive City หรือ เมืองมีส่วนร่วม / เมืองของทุกคน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้มีการนำไปปรับใช้ในการเป็นโมเดลธุรกิจเพื่อสังคมหลากหลายประเภท อาจจะดูน่าเบื่อไปซักหน่อยที่เราจะบอกว่า เราจะเอา แนวคิดโลกสวย นี้มาบอกเล่าผ่านบทความ แต่้ลองจินตนาการดู ถ้าหากว่าทุกคนรู้และร่วมทำได้จริง โลกสวยๆนี้อาจไม่ใช่เพียงแค่แนวคิดก็ได้

Inclusive City เมืองแบบนี้มีจริงหรือ?

ถ้าหากมีคนตั้งคำถามว่า “มันจะมีจริงๆน่ะหรือ เมืองที่เหมาะสำหรับทุกคนเหมือนฝันอย่างนั้น?” ก็คงไม่มีนักวิชาการคนไหนกล้ายืดอกอย่างภาคภูมิใจเพื่อตอบว่ามีเป็นแน่ เอาล่ะ! ก่อนอื่นเรามาเข้าใจกันก่อนว่าหลักการคร่าวๆของการเป็น Inclusive City ในเชิงสากลนั้นเป็นอย่างไร

หลักการของ Inclusive City นั้นมีด้วยกันทั้งหมด 8 ด้าน ได้แก่

  • การพัฒนาเศรษฐกิจ คือ การเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชากรในการวางแผนเศรษฐกิจเมือง, การจัดโซนนิ่งของเมืองให้สามารถเข้าถึงแหล่งงานได้อย่างหลากหลายและเท่าเทียม คร่าวๆก็มีแต่ละย่านของเมืองนั้นสามารถทำงานหาเงินได้ ไม่ต้องไปกระจุกตัวกันแค่ใจกลางเมือง
  • ย่านที่อยู่อาศัย คือการจัดระบบของทำเลที่อยู่อาศัย (ตามผังเมือง) ที่มีความปลอดภัย, เหมาะกับรายได้่ของประชากรทุกระดับ และสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก
  • การศึกษา คือ การกระจายสถาบันการศึกษาอย่างเท่าเทียม โรงเรียนในละแวกบ้านสามารถให้การศึกษาที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับโรงเรียนดังในใจกลางเมือง
  • การเข้าถึงบริการสาธารณะ คือ การที่ประชาชนไม่ต้องอยู่ในภาระจำยอม กระเสือกกระสนเดินทางไกลเพื่อไปใช้บริการสาธารณะที่มีคุณภาพ
  • โครงการพัฒนา คือ การกระจายโครงการพัฒนาทั้งจากาครัฐและเอกชนในทำเลที่เหมาะสม
  • วัฒนธรรม คือ การไม่ละทิ้งวัฒนธรรมการอยู่อาศัยดั้งเดิม เช่น ย่านที่เคยเน้นการเดิน ก็ยังคงเน้นการเิดิน ย่านที่มีตลาดก็ยังคงความเป็นตลาด
  • สิ่งอำนวยความสะดวกในชุมชน คือ เบื้องต้นคือพื้นที่นันทนาการหรือสวนสาธารณะ ควรจัดให้เหมาะสกับขนาดประชากรในแต่ละทำเลนั้นๆ
  • ความปลอดภัยในที่อยู่อาศัย คือ การลดระดับความแออัดของประชากรเมืองลง เพื่อให้ลดโอกาสการเกิดชุนชนแออัดและเสื่อมโทรม เป็นต้น

ทีนี้เราลองตั้งคำถามในใจว่า มีย่านใดทำเลไหนในกรุงเทพฯ บ้างที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง 8 ข้อ น่าแปลกใจเหมือนกันที่ถึงแม้กรุงเทพจะเป็นเมืองที่มีการพัฒนาสูงที่สุด และมีอัตราของความเป็นเมืองถึง 100% แต่ก็ยังประสบปัญหาในเรื่องเมืองอยู่ 100% ด้วยเ่ช่นกัน

ความจริงแล้ว ปัญหาเมืองของเมืองใหญ่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนานั้น ค่อนข้างจะเป็นปรากฎการณ์สากล เกือบทุกเมืองในโลกนั้นล้วนเจอปัยหาในระดับที่มีความรุนแรงแตกต่างกันไป สำหรับการพิสูจน์ว่าแนวคิด Inclusive City นั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้จริงในเมืองใหญ่นั้น มีการพยายามทำ workshop โดย Global Studio and Center for sustainable Urban Development in the Earth Institute at Columbia University (แหม ชื่อยาวจริงๆ) หรือเรียกสั้นๆว่า Global Studio Project ซึ่งเป็นการพยายามทำให้แนวคิด Inclusive City นั้นเกิดขึ้นได้จริง ด้วยวิธีการลงไปสำรวจพื้นที่, สร้างปฏิสัมพันธ์กับประชากรท้องถิ่น, สำรวจปัญหา, ความต้องการ และวิเคราะห์ชั้นข้อมูลต่างๆ เป็นจำนวน 11 เมืองใน 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย, บังคลาเทศ, บราซิล, จีน, โคลัมเบีย, อินเดีย, เคนย่า, ฟิลิปปินส์, อเมริกาใต้, ไทย และอเมริกา ซึ่งพบว่าน่าสนใจมากที่ผลลัพธ์คือ คนส่วนใหญ่ในพื้นที่ที่ไปสำรวจนั้นต้องการสื่อสารว่า พวกเขาพร้อมแล้วนะที่จะพัฒนาเมืองของพวกเขาเอง

สำหรับการศึกษา เป็นการศึกษาโดย Overview ปัญหาซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก ซึ่งมีผลมาจากการเกิด โลกาวิวัฒน์ ทั้งการเพิ่มขึ้นของประชากร, อายุเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นของประชา และการที่ประชากรส่วนใหญ่จะย้ายเข้าสู่เมือง โดยมีการสมมติฐานปัญหาในระดับเมืองว่า ในอนาคตปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำและสลัมในเมือง จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

 

หนึ่งในแนวทางการแก้ปัญหาเรื่องสลัมก็คือ การเพิ่มคุณค่าของชุมชนแออัดไม่ใช่การกำจัดทิ้ง โดยมีการทดลองออกแบบชุมชนแออัดในเมือง Bhopal ประเทศอินเดีย ในชื่อ Discover Community Potential (การค้นพบศักยภาพชุมชน) โดยเป็นการออกแบบย่านที่เน้นเกิดกลุ่มของชุมชนที่มีศักยภาพด้านความสร้างสรรค์, โครงข่ายเส้นทางที่มีความปลอดภัย สามารถสอดส่องดูแลสมาชิกในย่านได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งการมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น

แล้วประเทศเราจะต้องเตรียมความพร้อมแค่ไหนสำหรับความเป็นเมือง?

อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วว่าในอนาคต สัดส่วนของพื้นที่เมืองต่อพื้นที่ชนบทจะเพิ่มขึ้น และเป็นเหมือนกันทุกประเทศทั่วโลก แต่มีใครรู้บ้างหรือไม่ว่าประเทศเรานั้นจะมีสัดส่วนของเมืองอย่างไร?

สำนักงานคระกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีการศึกษาด้านการคาดประมาณประชากรในประเทศไทย พ.ศ.2553-2583 โดยพบข้อมูลสถิติการสมมุติฐานที่น่าสนใจมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ข้อสมมุติประชากรในเขตเทศบาล พ.ศ.2553-2583 ซึ่งมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึง พ.ศ.2573 หรือประมาณ 20 ปี ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงในหลังจากนั้น ถึงแม้นี่อาจจะเป็นข้อมูลสมมุติฐาน แต่ก็บอกใบ้สิ่งที่น่าสนใจได้พอสมควร นั่นก็คือในช่วง พ.ศ.2573-2578 ประชากรที่อยู่ในเขตเทศบาลของแต่ละภาคที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นมาตลอดจะลดลง นั่นอาจหมายความว่า ประชากรเหล่านั้นอาจอพยพกลับสู่พื้นที่นอกเขตเทศบาล และกราฟขึ้นลงของอัตราประชากรในเขตเทศบาลมีแนวโน้มว่าจะขึ้นลงวนไปวนมาแบบนี้

 ซึ่งเมื่อมีจำนวนประชากรมากขึ่้นมากระจุกตัวในเมือง และถ้าหากเมืองนั้นไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับจำนวนประชากรเหล่านี้ ปัญหาของการเกิดชุมชนแออัด จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน และอาจมีความหลากหลายมากกว่าการเป็นชุมชนแออัดของคนที่ถูกกีดกันในเมือง แต่หมายรวมถึงกล่มคนที่ถูกกีดกันจากประชากรใหม่ที่อพยพเข้ามาด้วย - เทอร์ร่า บีเคเค

สำหรับผู้ที่สนใจโครงการ Global Studio สามารถอ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ คลิกที่นี่ 

 บทความโดย : TerraBKK คลังความรู้

TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก