เมื่อเข้าสู่โลกของการทำงานในรูปแบบของพนักงานประจำหรือมนุษย์เงินเดือน นั่นคือจุดเริ่มต้นการใช้ชีวิตภายใต้กรอบและระเบียบกฎเกณฑ์ของการทำงาน หลายครั้งที่เราต้องโดนหักเงินค่าแรงที่หามาได้แบบงงๆ เพราะลืมใส่ใจเงื่อนไขหรือข้อบังคับการทำงานที่บริษัทกำหนดไว้

สำหรับการหักเงินพนักงานในกรณีลางานของบริษัทส่วนใหญ่ จะต้องยึดตามกฎหมายของกระทรวงแรงงานกำหนดไว้เป็นหลัก เพื่อนำไปร่างกฎระเบียบข้อบังคับแล้วให้พนักงานได้ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อลดปัญหาการบริหารคนในบริษัทให้มีความเป็นระเบียบมากขึ้น เป็นเรื่องธรรมดาที่การลาหรือหยุดทำงานจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่บริษัทนำมาเป็นเหตุผลในการตัดค่าแรงพนักงาน

เพื่อให้รู้วิธีการลางานแบบถูกต้องและทราบสิทธิของคนทำงานตามระเบียบของกฎหมายแรงงาน ที่บริษัทส่วนใหญ่นำมาปฏิบัติต่อพนักงานหรือพนักงาน วันนี้ทีมงาน Terrabkk.com มีเทคนิคการลางานแบบไม่ให้โดนหักเงิน ดังนี้

1.ลาพักผ่อนประจำปีตามโควตาอย่าให้เกิน

            ตามกฎหมาย ฯ แล้ว พนักงานสามารถลาพักร้อนได้อย่างต่ำไม่เกิน 6 วันต่อปี หรือบริษัทบางแห่งอาจกำหนดวันลาพักผ่อนประจำปีมากกว่ากฎหมายกำหนด สามารถนำมาสะสมในปีถัดไปได้หรือกรณีไม่ให้นำมาสะสมนายจ้างจะต้องจ่ายเป็นค่าแรงตามจำนวนวันลาพักผ่อนที่เหลือ ทั้งนี้จะมีการนำอายุการทำงานเข้ามาพิจารณาประกอบในการใช้สิทธิการลาได้ เช่น มีอายุงานอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป เป็นต้น

2.ลาป่วยมีใบรับรองแพทย์แถมได้เงินชดเชยรายได้

            ไม่ว่าสถานะจะเป็นพนักงานประจำหรืออยู่ในช่วง Probation ( ทดลองงาน ) การลาป่วยและมีใบรับรองแพทย์แนบ นายจ้างไม่สามารถหักค่าแรงพนักงานได้ ซึ่งหากพนักงานมีความจำเป็นต้องลาป่วยต่อเป็นระยะเวลา 3 วันขึ้นไป บริษัทจะต้องจ่ายค่าแรงตามปกติไม่เกิน 30 วัน ถ้าหากเกิน 30 วันจึงสามารถพิจารณาว่าควรหักค่าแรงหรือพิจารณาจ้างต่อ

และหากตัวพนักงานลาป่วยอันจากเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี และเป็นพนักงานมาแล้วเป็นเวลา 3 เดือนขึ้น สามารถเบิกเงินทดแทนกรณีเจ็บป่วยจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราร้อยละ 60 ของรายได้เป็นเดือน ว้าว !

3.ลากิจตามกฎค่าแรงไม่ตัด  

ตามกฎหมายแรงงานแล้ว สามารถให้พนักงานลากิจได้ขั้นต่ำไม่เกิน 6 วันต่อปี แต่อย่าลืมเช็คกฎระเบียบของบริษัทให้แน่ใจว่า สามารถใช้สิทธิได้หลังจากเริ่มทำงานหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะให้สิทธิพนักงานหลังจากผ่านทดลองงานไปแล้ว โดยนำข้อบังคับการทำงานมาประกอบ

4.ลาคลอดตามกำหนดรับค่าแรง 2 ทาง

สำหรับพนักงานหญิง สามารถลาคลอดได้เป็นระยะเวลา 90 วัน ทั้งนี้จะได้รับค่าแรงจำนวน 50 % จากบริษัทและกองทุนประกันสังคม และเพิ่มสิทธิ์การรับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือนเป็นระยะเวลา 6 ปี ซึ่งมีแนวโน้มว่ากฎหมายใหม่กำลังปรับเพิ่มระยะเวลาการลาคลอดเพิ่มขึ้นจาก 90 วันเป็น 180 วัน

สิ่งสำคัญทุกครั้งที่ต้องเริ่มงานใหม่ในแต่ละที่ ควรทำความเข้าใจและศึกษากฎระเบียบข้อบังคับการทำงานให้เข้าใจ และพึงระลึกเสมอว่า กฎระเบียบในแต่ละบริษัทในแต่ละแห่งล้วนกำหนดขึ้นมาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัทและตัวพนักงานประกอบคู่กัน เพื่อให้บริษัทเองสามารถดำเนินธุรกิจไปได้ต่อได้ และส่วนของพนักงานเองก็ยังคงได้รับสิทธิของพนักงานอย่างสมเหตุสมผล