ชาวกรุงนั้นรู้ดีถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาในเมือง กรุงเทพฯ การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมือง การขยายรากฐานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการดึงดูดแรงงานจำนวนมากทั่วทั้งประเทศ ผู้คนนับล้านต่างแห่แหนกันอพยพเข้ามาใน “เมืองเทวดา” เพื่อตามหาโอกาสของชีวิต แต่ท่ามกลางความเข้มข้นของการเติบโตทางเศณษฐกิจและความมั่งคั่ง พวกเขาคิดถูกหรือคิดผิดหรือไม่?

            แน่นอนว่าคำถามนี้ย่อมท้าท้ายต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบในการบริการจัดการเมืองโดยตรงอย่าง กรุงเทพ มหานคร (Bangkok Metropolitan Administration) ว่าจะสามารถสร้างเมืองที่มีทางเลือกให้กับประชากรได้หรือไม่? เราสามารถทำความเ้ข้าใจแนวทางการแก้ปัญหาของ กทม. ได้จากแผนพัฒนายุทธศาสตร์กรุงเทพฯ

พลวัตรของการเป็นเมือง

            ประมาณ 250 ปีที่ผ่านมา กรุงเทพ เป็นเหมือนดอกไม้ที่ผลิบานเต็มที่ นับจาก พ.ศ.2501 จนถึงช่วงทศวรรษนี้ กรุงเทพฯ เติบโตขึ้นถึงประมาณ 16 เท่า ประชากรเพิ่มจาก 1.6 ล้านคนเป็น 5.6 ล้านคนใน พ.ศ.2559 และคาดว่าจะเพิ่มมากถึง 15.32 ล้านคนใน พ.ศ.2563 เนื่องจากยังมีประชากรแฝงอีกมากในกรุงเทพฯ รวมถึงยังมีการโยกย้ายของประชากรต่างจังหวัดเข้าสู่เมืองหลวงอย่างต่อเนื่อง

การเติบโตของเมืองที่ไม่ได้มีการวางแผนระยะยาวเพื่อรองรับ ทำให้เป็นไปด้วยความไม่ยั่งยืน ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมการตระเตรียมยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองจึงสมควรจะต้องวางล่วงหน้าอย่างน้อย 5-10 ปี ทั้งในด้านการจัดกาบริการสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอ กฎระเบียบและข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน การปฏิรูปการครอบครองที่ดิน เป็นต้น อีกทั้งยังมีความท้าทายในด้านอื่นๆอีก เช่น ความปลอดภัย, สุขภาพ, ความยากจน และคุณภาพชีวิตของประชากร

หนึ่งในเรื่องที่ท้าท้ายและเป็นเรื่องใหญ่ก็คือ กรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่ม และในบางพื้นที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แต่เดิมศักยภาพพื้นที่กรุงเทพนั้นเหมาะสำหรับการทำเกษตรกรรมและการเป็นที่ราบรองรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเมื่อเกิดการแทนที่พื้นที่รับน้ำด้วยที่อยู่อาศัยและเมือง ทำให้ข้อกำหนดด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อการควบคุมการพัฒนาของเมือง

ครองแชมป์เมืองที่รถติดที่สุดในโลก

อย่างที่รู้กันดีว่า กรุงเทพ ของเรานั้นครองแชมป์เมืองที่รถติดที่สุดในโลกแล้วในปีล่าสุด (ก่อนหน้านั้นได้แค่ที่สองรองจากเม็กซิโก) ซึ่งก็เป็นแชมป์ในสาขาที่ไ่ม่มีเมืองไหนในโลกอยากได้ ปัจจัยนั้นมีหลายส่วนแต่โดยหลักๆก็คือการที่มีขนส่งสาธารณะที่ไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง ทำให้การครอบครังรถส่วนตัวมากขึ้น ระบบถนนที่ไม่เท่าทันการพัฒนาเมือง โดยสัดส่วนการใช้รถส่วนตัวในกรุงเทพนั้นมีถึง 53% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 59% ใน พ.ศ.2580 หรืออีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า โดยจากตัวเลขยานพาหนะจดเทียนในปี 2558 พบว่ามียานพาหนะจดทะเบียนใน กรุงเทพถึงประมาณ 8,651,172 คัน โดยเป็นรถยนต์ส่วนตัว 317,870 คัน (หรือเฉลี่ย 870 คันต่อวัน) รถจักรยานยนต์ 405,649 คัน (หรือเฉลี่ย 1,111 คันต่อวัน)

แม้ระบบขนส่งมวลชนทางรางอย่าง BTS และ MRT จะทำให้ประชากรมีตัวเลือกในการเดินทางมากขึ้น แต่ก็ตอบโจทย์กับคนระดับรายได้ปานกลางเท่านั้น เนื่องจากราคาค่าโดยสารที่แพงขึ้นในขระที่รายได้ประชากรยังเท่าเดิม ทำให้ประชากรหลายกลุ่มยังคงเลือกใช้รถเมล์และรถส่วนตัว ซึ่งเป็นผลให้เกิดปัญหาด้านมลพิษและสุขภาพตามมา ก็กลายเป็นว่ามีปัญหาเพิ่มขึ้นมาอีกอย่างให้ กรุงเทพ ต้องจัดการ

ขยะและน้ำเสีย

            ถึงแม้หน่วยงานบริหารจัดการระดับท้องถิ่นอย่างเทศบาล จะมีการรณรงค์ให้มีการจัดการขยะอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 2548 ตัวเลขของขยะในเมืองและในกลุ่มอุตสาหกรรมเบามีการเติบโตรวดเร็วจนน่าตกใจจาก 7,000 ตันต่อวันใน พ.ศ.2536 เพิ่มมาเป็น 8,800 ตันต่อวันใน พ.ศ.2558 และคาดว่าจะเพิ่มถึง 11,500 ตันในปี 2568 ซึ่งทำให้เกิดปัญหาขยะอุดตันหรือปนเปื้อนตามแหล่งน้ำต่างๆ ตามมา

ความเสี่ยงด้านอุทกภัย

            น้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลางจริงๆแล้วเป็นเหตุการณ์ทางธรรมชาติของพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพนั้นมีโอกาสที่จะประสบเหตุการณ์น้ำท่วมเป็นระยะเวลา 5 เดือนประจำทุกปี ซึ่งจะเกิดขึ้นในพื้นที่แก้มลิงเป็นส่วนใหญ่

            เนื่องจากความเป็นเมืองที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของกรุงเทพ ทำให้การไหลผ่านของน้ำที่เอ่อจากแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงมรสุมนั้นเป็นไปอย่างล่าช้า เมื่อมีมรสุมหรือฝนตกติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจึงทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างรวดเร็ว โดยกรุงเทพผ่านเหตุการณ์อุทกภัยแบบนี้มาหลายต่อหลายครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2518, 2520, 2521, 2526, 2538 และล่าสุดใน พ.ศ.2554

จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ทำให้เห็นบทเรียนที่ชัดเจนอย่างมากในด้านการบริหารจัดการหลังภาวะอุทกภัย โดยหลายชุมชนที่มีการทำงานร่วมกันทั้งในกระบวนการเตรียมการและการป้องกัน ซึ่งชุมชนเหล่านี้นั้นสามารถฟื้นสภาพได้อย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันในเขตพื้นที่เมืองที่มีความหลากหลายและมีขนาดพลวัตรที่ใหญ่ ไม่สามารถบริหารจัดการได้อย่างง่ายดาย ทำให้เกิดความเสียหายในระดับที่แผ่ขยายในวงกว้าง โดยอย่างยิ่งในธุรกิจประเภทการผลิต มีสัดส่วนความเสียหายถึง 82% เลยทีเดียว

ยุทธศาสตร์ของกรุงเทพฯ

            ยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เริ่มขึ้นด้วยวาระการประชุมเชิงปฏิบัติการและการวิจัยในช่วงเดือนกันยายนปี 2558 โดยประกอบไปด้วย 5 ภาคส่วน ได้แก่ รัฐ, เอกชน, ประชาสังคม, สถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 500 คน ภายใต้กรอบที่ชื่อว่า City Resilience Framwork : CRF เพื่อมองหาจุดแข็งและจุดอ่อนของเมืองกรุงเทพร่วมกัน โดยเน้นการเพิ่มแนวทางที่หลากหลายในการสร้างสรรค์ให้กรุงเทพเป็นเมืองที่สามารถรับการเปลี่ยนแปลงได้ โดยประกอบไปด้วย 3 ยุทธศาสตร์หลัก ดังต่อไปนี้

กระบวนการบริหารจัดการเมือง “กรุงเทพ” ให้เป็นเมืองสวรรค์อย่างแท้จริงกำลังอยู่ระหว่างการเดินทาง โดยนับตั้งแต่ปี 2558 มีโครงการพัฒนาเกิดใหม่ทั้งสิ้น 57 โครงการ จากเป้าหมาย 18 เป้าหมาย ซึ่งอาจจะมองไม่เห็นภาพความสำเร็จภายใน 1-2 ปีแรก แต่แน่นอนว่าต้องส่งผลกระทบบางอย่างให้กับเมือง ทั้งในด้านการมีส่วนร่วมในระดับชุมชน การประสานการทำงานด้วยความโปร่งใสและเท่าเทียม เทอร์ร่า บีเคเค

อ้างอิงจากบทความทางการศึกษาเรื่อง : RESILIENT BANGKOK - 100 RESILIENT CITIES & กรุงเทพมหานคร

บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน

TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก