ในอนาคตอันใกล้ รถไฟฟ้าและขนส่งมวลชนระบบราง จะเป็นเหมือน “หัวใจ” ของการใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานคร ที่เรากล้ายืนยันอย่างนั้น เนื่องจากในปี พ.ศ. 2563 ระบบขนส่งมวลชนทางรางในเมืองอย่างรถไฟฟ้าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ที่น่าตื่นเต้นที่สุดก็คงจะไม่พ้น การเปิดให้บริการของ “สถานีกลางบางซื่อ” ซึ่งถูกจับตาว่าเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและอาเซียน

            โครงการคอนโดมิเนียมที่อยู่ใกล้กับตัวโครงการสถานีกลางบางซื่ออย่างน่าใจหายก็คือ IDEO MOBI BANGSUE GRAND INTERCHANGE โดย อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ค่ายพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หัวก้าวหน้าที่เราคุ้นชื่อกันดี โดย IDEO MOBI BANGSUE GRAND INTERCHANGE นั้น อยู่ห่างจากตัวอาคารสถานีกลางซื่อเพียงประมาณ 900 เมตรเท่านั้น (วัดจากระยะปัจจุบันที่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ) เรียกได้ว่าสามารถเชื่อมต่อการเดินทางได้อย่างสะดวกภายในชั่วอึดใจ เพราะสถานีกลางบางซื่อนั้นจะพาเราไปได้ทุกสารทิศทั้งภายในกรุงเทพและต่างจังหวัด

            โดยครั้งนี้เราจะพาไปดูว่าความได้เปรียบของที่ตั้งโครงการ IDEO MOBI BANGSUE GRAND INTERCHANGE ที่อยู่ใกล้กับตัวอาคารสถานีนั้นมีข้อดีอย่างไร และถ้าหาก สถานีกลางบางซื่อ นั้นเปิดให้บริการ จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างไรและแค่ไหนให้กับกรุงเทพมหานครบ้าง

สถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางการเดินทางครบวงจร

            พื้นที่สถานีกลางบางซื่อนั้น มีขนาดตัวอาคารโอ่อ่าอลังการเทียบเท่ากับ ตึกใบหยก 2 ตึกมาวางเรียงต่อกันในแนวนอน หรือสามารถรองรับปริมาณคนได้เทียบเท่ากับสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิเลยทีเดียว ความยิ่งใหญ่เมื่อแปลงเป็นขนาด จะมีความกว้าง 244 เมตร ยาว 596.6 เมตร และสูง 43 เมตร

            ความสำคัญที่สุดของสถานีกลางบางซื่อคือ การเป็นชุมทางของรถไฟแห่งอนาคตทุกสาย ได้แก่ รถไฟฟ้าความเร็วสูง 10 ชานชาลา, รถไฟฟ้าทางไกล 8 ชานชาลา, รถไฟฟ้าชานเมือง 8 ชานชาลา และแอร์พอร์ตเรลลิงค์ 2 ชานชาลา อีกทั้งยังสามารถเชื่อมกับรถไฟฟ้า BTS สถานีหมอชิต, รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีจตุจักรและกำแพงเพชร และยังมีแผนที่จะรวมกับรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายตะวันออก ซึ่งกำลังมีการผลักดันให้พัฒนาอยู่อีกด้วย

สถานีที่ไม่ได้มีแค่การเดินทาง แต่ยังครบวงจรที่สุดในประเทศ

            ตัวอาคารสถานีกลางบางซื่อนั้นถูกออกแบบให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกกับผู้โดยสารอย่างครบวงจร โดยรายละเอียดของอาคารสถานีกลางบางซื่อ คือมีจำนวน 4 ชั้น ซึ่งมีองค์ประกอบของการใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นของการรองรับกิจกรรมสำหรับคนเดินทาง, คนรอรถ และคนที่มาเพื่อคร่าเวลา โดยอาคารสถานีกลางบางซื่อมีรายละเอียดดังนี้

  • ชั้นที่ 1 (ชั้นใต้ดิน) - ชั้นใต้ดินสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน MRT ได้ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง นอกจากนั้นยังมีที่จอดรถชั้นใต้ดิน ที่สามารถรองรับได้ถึง 1,700 คัน เพื่อให้สามารถจอดแบบ Park & Ride ในระยะสั้นๆ ได้ อีกทั้งยังมีทางเดินเชื่อมไปถึงรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีกำแพงเพชรและสถานีจตุจักร โดยคาดการณ์ระยะทางเดินเบื้องต้นเพียงแค่ประมาณ 0.5 – 1.5 กิโลเมตรเท่านั้น
  • ชั้นที่ 2 - ถูกออกแบบให้เป็นเหมือน Services Floor โดยภายในชั้นที่ 2 จะเป็นแหล่งรวมร้านค้า, ช็อปปิ้งมอลล์, ร้านอาหาร และบริการอื่นๆ เพื่อรองรับผู้โดยสารที่มาใช้บริการภายในสถานีให้มีความสะดวกสบายที่สุด นึกภาพแล้วก็เหมือนกับสถานีรถไฟใหญ่ๆในต่างประเทศ ที่มีร้านค้าและบริการรองรับอย่างครบวงจร นอกจากนั้นในชั้นนี้ยังมีทางเชื่อมเพื่อไปยังรถไฟฟ้า BTS สถานีหมอชิตได้อีกด้วย
  • ชั้นที่ 3 - ภายในชั้นที่ 3 เป็นชานชาลาของรถไฟฟ้าทางไกลและรถไฟฟ้าความเร็วสูง ได้แก่ รถไฟฟ้าสายเหนือ, รถไฟฟ้าสายตะวันออก และรถไฟฟ้าสายใต้ โดยมีไฮไลท์คือสามารถรับชมทิวทัศน์เมืองรอบสถานีได้อีกด้วย
  • ชั้นที่ 4 - เป็นชานชาลาสำหรับรถไฟฟ้าชานเมือง ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยในชั้นนี้สามารถชมทิวทัศน์เมืองได้เช่นเดียวกัน

เจาะลึกภายในโครงการสถานีกลางบางซื่อ

            จากแผนพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ นอกจากตัวสถานีแล้วยังมีแผนพัฒนาพื้นที่รอบๆทั้งหมด โดยมีชื่อโครงการว่า “ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน” ถูกออกแบบพื้นที่โดยใช้แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี TOD มาใช้ในการพัฒนาพื้นที่รอบๆเช่นเดียวกับสถานีรถไฟอื่นๆในต่างประเทศ โดยมีการจัดสรรพื้นที่ออกเป็น 6 โซนใหญ่ ได้แก่

  • Zone A : Smart Business Complex - อยู่ติดสถานีกลางบางซื่อในทิศใต้ พื้นที่ประมาณ 35 ไร่ กำหนดให้พัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ ในลักษณะของ Retail ได้แก่ ร้านค้า, ร้านอาหาร, ร้านเครื่องดื่ม และร้านให้บริการธุรกิจโลจิสติกส์ โรงแรมที่สนับสนุนกิจกรรมการเดินทางท่องเที่ยว
  • Zone B : ASEAN Commercial and Business Hub - พื้นที่ประมาณ 78 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์เชิงศูนย์การค้าส่ง ค้าปลีก ซึ่งพัฒนาต่อยอดจากตลาดนัดจตุจักร นอกจากนั้นยังมีอาคารสำนักงานที่ทันสมัย โรงแรมสำหรับนักธุรกิจ อาคารแสดงสินค้า หอประชุม และที่พัก
  • Zone C : Smart Healthy and Vibrant - พื้นที่ประมาณ 105 ไร่ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) โดยจะพัฒนาพื้นที่เป็นที่อยู่อาศัยที่อยู่ติดกับแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และสถานที่ทำงาน
  • Zone D : World Renowed Garden Interchange Plaza - พื้นที่ประมาณ 80 ไร่ พัฒนาเป็นศูนย์กลางคมนาคมพหลโยธินและอาคารทางเดินเชื่อมต่อระบบขนส่ง
  • พื้นที่นิคมรถไฟ กม.11 - พื้นที่ประมาณ 279 ไร่ แบ่งการพัฒนาพื้นที่ออกเป็น โซนอาคารสำนักงาน, ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติ, โรงพยาบาลนานาชาติ, ที่พักอาศัยริมสวน และที่พักอาศัยสำหรับเจ้าหน้าที่การรถไฟ

หากพื้นที่กว่า 2,235 ไร่นี้ได้รับการพัฒนาจนเสร็จสิ้น น่าจะทำให้เราได้เเห็น New Town ของกรุงเทพและน่าจะเกิด New CBD อีกแห่งขึ้นมา จากการจัดสรรพื้นที่ในการพัฒนาของสถานีกลางบางซื่อนั้น นับว่าน่าสนใจเพราะมีการใช้ประโยชน์ที่ดินและกิจกรรมที่เข้มข้นสูงมากทีเดียว อีกทั้งยังมีปัจจัยพื้นฐานของการเป็น Grand Station ซึ่งดึงดูดการเดินทางและ traffic ของคนจำนวนมากตลอดทั้งวัน

สถานีกลางบางซื่อ “เปลี่ยน” กรุงเทพแบบเดิมอย่างไร?

            แน่นอนว่าเมื่อเกิดการเข้ามาย่อมต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง โดย TerraBKK ได้ลองตั้งข้อสมมติฐานโดยอิงจากแผนการพัฒนาพื้นที่โครงการและรายละเอียดของสถานี เปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงในสถานีใหญ่ๆของต่างประเทศ เชื่อว่าเมื่อสถานีกลางบางซื่อเข้ามา จะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้

  • เกิดการแข่งขันพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบเข้มข้น

            เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ สิ่งที่ตามมาคือการเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติของกิจกรรมในพื้นที่ด้วยเช่นกัน ด้วยศักยภาพทำเลด้านผังเมืองที่ดีเยี่ยม โดยบริเวณรอบพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน มีข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2 แบบ ได้แก่ พาณิชยกรรมสีแดง พ.3 และที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากสีน้ำตาล ย.8 และ ย.9 ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่มีศักยภาพสูงมากอยู่แล้ว ทำให้ขอบเขตในการพัฒนาที่ดินบริเวณนี้สามารถทำได้อย่างหลากหลาย อีกทั้งยังสะดวกด้วยการเดินทางทั้งรถยนต์ส่วนตัวและขนส่งสาธารณะ นอกจากนั้นยังมีตลาดนัดจตุจักร ซึ่งตลาดขนาดใหญ่ที่ดึงดูด traffic จำนวนมาก

คาดการณ์ว่าหากมีการเปิดให้บริการสถานีกลางบางซื่อ จะยิ่งเพิ่ม traffic ในพื้นที่มากกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัวแล้ว การแข่งขันพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมในรูปแบบ ร้านค้า, ร้านอาหาร, คาเฟ่, ช็อปปิ้งมอลล์, คอมมิวนิตี้มอลล์ หรือบริการอื่นๆ ต้องเกิดขึ้นตามมาอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับการพัฒนาพื้นที่รอบ สถานีโอซาก้า เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น โดย พื้นที่รอบนอกที่โอบล้อมบริเวณสถานี ถูกจัดให้มีการใช้ประโยชน์แบบพาณิชยกรรมเข้มข้น เป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าฯ, ห้างสรรพสินค้า, สโตร์ของสินค้าแบรนด์ดัง และจุดชมวิวบนชิงช้าสวรรค์ ที่เหมือนเป็นหนึ่งในแลนมาร์คของเมืองโอซาก้า (HEP FIVE) โดยมีพื้นที่ทางเดินเท้าที่ใหญ่และมีสัดส่วนมากกว่าถนน ทำให้การเชื่อมต่อในบริเวณเน้นไปที่การเดิน ซึ่งคล้ายคลึงกับการวางแผนพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน

เกิดการแข่งขันในธุรกิจที่พักตั้งแต่ระดับล่างไปจนระดับบน

สถานี ไทเป เมน สเตชั่น ซึ่งเป็น HUB การเดินทางทั้งในเมืองและต่างจังหวัดของเมืองไทเป จัดเป็นแหล่งที่พักยอดนิยมที่นักท่องเที่ยวต่างทุกสารทิศมักนิยมเข้าพัก ซึ่งปรากฎการณ์นี้น่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในำเลรอบสถานีกลางบางซื่อ เนื่องจากนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเลือกที่พักที่สามารถเดินทางได้อย่างสะดวก สะอาด และปลอดภัย ดังนั้นธุรกิจที่พักตั้งแต่ระดับโฮสเทล, เซอร์วิส อพาร์ตเม้นท์ ไปจนถึงโรงแรม 5 ดาวอาจเกิดขึ้นมากในทำเลนี้ รวมไปถึงธุรกิจแบ่งห้องให้เช่าพักอย่าง AIRBNB ด้วยเช่นกัน โดยห้องพักใน AIRBNB ที่เปิดให้เช่ารอบสถานีไทเป เมน สเตชั่น ในรัศมี 2 กิโลเมตรนั้นมีมากกว่า 300 แห่งเลยทีเดียว

            การเข้ามาของ สถานีกลางบางซื่อ และการพัฒนาพื้นที่บริเวณ ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ไม่เพียงแต่การเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเกิด NEW CITY ที่เป็นเมืองครบวงกร (Complex City) แห่งใหม่ที่แรกและที่เดียวในประเทศไทย โดยสถานีกลางบางซื่อกำลังอยู่ในกระบวนการการก่อสร้างอาคาร ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการก่อสร้างหลังคาและโครงสร้างอาคาร โดยมีความคืบหน้าปัจจุบัน ณ เดือนพฤศจิกายน 2560 ประมาณ 50% คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2563

ขอบคุณภาพจาก : https://www.home.co.th/

            สำหรับโครงการ IDEO MOBI BANGSUE GRAND INTERCHANGE เป็นคอนโดมิเนียม High Rise 32 ชั้น อยู่ในที่ดินผืนงาม เชื่อมต่อระหว่างฝั่งธนบุรีและฝั่งพระนครรายล้อมไปด้วยสถานที่สำคัญมากมายของกรุงเทพฯ อาทิเช่น โรงพยาบาล, สถานศึกษา ใกล้กับแหล่งงานคุณภาพอย่าง บริษัท เครือซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG อีกทั้งอยู่ในอาณาบริเวณของ NEW CITY สามารถเข้าถึง ตัวอาคารสถานีกลางบางซื่อ ได้ในระยะเพียง 900 เมตร และยังสามารถใช้ชีวิตได้ง่ายและรวดเร็วกว่าใคร เนื่องจากใกล้กับรถไฟฟ้า 5 สายสำคัญ ได้แก่

  • สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ (6 สถานีถึงศูนย์ราชการ)
  • สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพงและบางซื่อ-ท่าพระ (3 สถานีถึงจตุจักร)
  • สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต* (7 สถานีถึงสนามบินดอนเมือง)
  • สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน*
  • สายสีแดงส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง*
    (* โครงการในอนาคต)

            และยังเพิ่มโอกาสแห่งอนาคตกับการเชื่อมต่อ NEW CITY ในแผนการพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ที่ตอบโจทย์ธุรกิจและชีวิตทันสมัย ใน 4 โซนสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันความคืบหน้าของโครงการศูนย์คมนาคมพหลโยธินก็เริ่มเห็นชัดมากขึ้น ถนนประชาราษฎร์สาย 2 ซึ่งเป็นถนนที่เชื่อม IDEO MOBI BANGSUE GRAND INTERCHANGE สู่สถานีกลางบางซื่อก็เพิ่งได้รับการก่อสร้างใหม่ ใกล้เพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่และสำคัญที่สุดอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ทำให้ IDEO MOBI BANGSUE GRAND INTERCHANGE เป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย แต่ยังเป็นโอกาสในอนาคตกันใกล้ของการใช้ชีวิตทันสมัยอีกด้วย

            IDEO MOBI BANGSUE GRAND INTERCHANGE พร้อมอยู่แล้ววันนี้ ราคาเริ่มต้นที่ 3.29 ลบ.* พร้อมงาน Big Surprise จองหมื่นรับข้อเสนอกว่าครึ่งล้าน* วันที่ 11 – 12 พฤศจิกายนนี้ ที่สำนักงานขาย โครงการ IDEO MOBI BANGSUE GRAND INTERCHANGE สนใจลงทะเบียน คลิก https://goo.gl/p2GkrW

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.ananda.co.th