ทำไมต้องจ่ายหลักค้ำประกันการทำงาน ?
เมื่อมีการตกลงจ้างงานเกิดขึ้น นายจ้างต้องแจ้งรายละเอียดการจ่ายค่าจ้าง เวลาทำงาน ค่าล่วงเวลา ขอบเขตความรับผิดชอบสำหรับตำแหน่งงานและหลักประกันการทำงาน โดยต้องระบุเป็นลายลักษณ์อักษร นายจ้างและลูกจ้างต้องลงลายมือชื่อ เพื่อรับทราบเงื่อนไขต่างๆที่ตกลงร่วมกัน
สำหรับหลักประกันการทำงาน นายจ้างสามารถเรียกเก็บลูกจ้างเพื่อเป็นหลักประกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการทำงาน โดยแบ่งเป็น เงินสด ( นายจ้างสามารถเก็บเงินค้ำประกันไม่เกินหกสิบเท่าของค่าจ้างรายวันของลูกจ้างที่ได้รับ ) ทรัพย์สินและการค้ำประกันด้วยบุคคล โดยลักษณะตำแหน่งงานที่กฎหมายกำหนดให้เรียกเก็บเงินจากลูกจ้างจะต้องเกี่ยวกับการดูแลทรัพย์สินมีค่า ดูแลเงินหรืองานที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งทางตรงและทางอ้อม
ตำแหน่งงานที่กฎหมายกำหนดให้สามารถเรียกเก็บหลักค้ำประกันการทำงาน
1.สมุห์บัญชี
2.พนักงานการเงินหรือเก็บเงิน
3.พนักงานติดตามหรือเร่งรัดหนี้สิน
4.งานควบคุมหรือรับผิดชอบเกี่ยวกับวัตถุมีค่า คือ เพชร พลอย เงิน ทองคำ ทองคำขาว และไข่มุก 4. งานเฝ้าหรือดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของนายจ้างที่อยู่ในความรับผิดชอบของนายจ้าง
5.งานติดตามหรือเร่งรัดหนี้สิน
6.งานควบคุมหรือรับผิดชอบยานพาหนะ
7.งานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการคลังสินค้า ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่าทรัพย์ให้เช่าซื้อ ให้กู้ยืม รับฝากทรัพย์ รับจำนอง รับจำนำ รับประกันภัย รับโอนหรือรับจัดส่งเงิน หรือการธนาคาร ทั้งนี้ เฉพาะลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ควบคุมเงินหรือทรัพย์สินเพื่อการที่ว่านั้น
การดูแลหลักประกันการทำงานของลูกจ้าง1.เงินสด
กรณีเป็นเงินสด จะต้องนำฝากธนาคาร ชื่อบัญชีของพนักงานผู้จ่ายเงินค้ำประกัน และ หนังสือค้ำ
ประกันจากธนาคาร ซึ่งจะต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบภายใน 7 วันหลังจากมีการหักเงินค้ำประกัน
2.การค้ำประกันด้วยบุคคล
กรณีเป็นหารค้ำประกันด้วยบุคคล จะต้องกำหนดให้บุคคลประกันความเสียหายเกินหกสิบเท่าของค่าจ้างต่อวันที่ลูกจ้างได้รับ โดยจะต้องทำเอกสารทั้งหมด 3 ฉบับ คือ ส่วนของนายจ้าง ลูกจ้างและบุคคลที่ค้ำประกัน และมีลายลักษณ์อักษรยืนยันข้อตกลงร่วมกัน
3.ทรัพย์สิน บุคคลค้ำประกันและเงินสด
กรณีกำหนดหลักประกันเป็นทรัพย์สิน บุคคลค้ำประกันและเงินสด นายจ้างต้องเรียกเก็บหลักประกันไม่เกินหกสิบเท่าของค่าจ้างต่อวันที่ลูกจ้างได้รับ โดยจะต้องมีเอกสารประกอบตามข้อ 1 และ 2 ประกอบ
อย่างไรก็ตาม นายจ้างสามารถกำหนดเก็บหลักประกันการทำงานหรือไม่เรียกเก็บก็ได้ ขึ้นอยู่ดุลยพินิจและการบริหารจัดการความรับผิดชอบแต่ละตำแหน่งงานตามความเหมาะสม หรือการสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างก่อนมีการจ้างงาน ซึ่งส่วนใหญ่การสร้างเงื่อนไขการเก็บหลักประกันการทำงานจะนำไปใช้กับธุรกิจที่มีลูกจ้างจำนวนมาก มีความจำเป็นต้องดูแลทรัพย์สิน วัตถุของมีมูลค่าสูง เป็นต้น
อ้างอิงข้อมูลจาก : กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ทีมงาน Terrabkk.com