ในยุคนี้ธุรกรรมการเงินต่างๆ นั้นสามารถทำได้ง่ายขึ้นกว่าเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยว่าอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น จึงส่งผลให้ทุกอย่างๆ ย่อมมีการตื่นตัวและปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย ไม่เว้นแม้แต่ธุรกรรมการเงิน ที่ทางสถาบันการเงินต่างๆ ได้มีการเปิดให้บริการทางอินเตอร์เน็ตหลากหลายรูปแบบขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์บนคอมพิวเตอร์หรือแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Internet Banking (อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง) ขึ้นมา เพื่อความสะดวกสบายและเพิ่มความรวดเร็วให้ลูกค้าที่มาใช้บริการของสถาบันการเงิน

         แม้ว่าการใช้บริการ Internet Banking ผ่านคอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน นั้นจะสร้างความสะดวกสบายและเพิ่มความรวดเร็วให้เราเป็นอย่างมาก เพราะเราสามารถทำธุรกรรมการเงินได้โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่สถาบันการเงิน หรือ ตู้ ATM และรวมถึงความปลอดภัยของระบบ Internet Bankingที่ทางสถาบันการเงินให้ความสำคัญและดูแลเป็นอย่างดีอีกด้วย

         แต่ก็ใช่ว่าจะมีแต่ข้อดี เพราะทุกอย่างๆ นั้นมีข้อเสียด้วยกันทั้งนั้น Internet Banking ก็เช่นเดียวกัน ที่มิจฉาชีพพยายามหาช่องโหว่ และวิธีการต่างๆ มาล่อล่วง เพื่อหวังจะข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้ในทางมิชอบ รวมถึงหวังจะเอาทรัพย์สินของเราไปด้วย  ดังนั้นเราก็ควรที่จะรู้จักระวังตัวและศึกษาข้อควรปฏิบัติเมื่อจะใช้งานให้ดี

และวันนี้ MoneyGuru.co.th ก็จะมาแนะนำข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องใช้งาน Internet Banking ให้ได้ทราบกัน เพื่อเป็นข้อมูลให้กับคนที่ต้องใช้บริการส่วนนี้ ได้เก็บเอาไว้ป้องกันตัวเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพเหล่านี้

9 ข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องใช้งาน Internet Banking

1.เราที่ใช้บริการธุรกรรมการเงินผ่านทาง Internet Bankingจะต้องจดจำและเก็บรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้เป็นความลับ โดยห้ามเปิดเผยให้ผู้อื่นเป็นอันขาด

ข้อมูลที่ต้องเก็บเป็นความลับ ได้แก่

  • รหัสชื่อผู้ใช้บริการ (User ID)
  • รหัสผ่าน (Password)
  • รหัสรักษาความปลอดภัย (Security Password)

เพราะหากเรามีการเปิดเผยให้ผู้อื่นทราบนั้น ก็เท่ากับว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นแอบเข้ามาใช้งานในส่วนของเราได้นั่นเอง ซึ่งจะเสี่ยงต่อทรัพย์สินของเราเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ ของเรา เช่น

  • รหัสเอทีเอ็ม (ATM PIN)
  • รหัสบัตรเครดิต
  • หมายเลขบัญชี
  • หมายเลขบัตรเดบิต เป็นต้น

ก็ไม่ควรเปิดเผยให้ผู้อื่นทราบเช่นกัน ไม่ว่าช่องทางใดๆ ก็แล้วแต่

2. เราควรที่จะหมั่นเปลี่ยนรหัสผ่านของเราอยู่เสมอ เพื่อที่ให้ยากต่อการคาดเดาของมิจฉาชีพ

3. เราไม่ควรใช้รหัสผ่านที่ผู้อื่นสามารถคาดเดาได้ง่าย เพราะอาจจะถูกเดาสุ่มถูกแล้วโดนเข้าไปเอาทรัพย์สินในบัญชีของเราไปนั่นเอง

4. ห้ามตอบกลับอีเมล์ที่ส่งมาขอข้อมูลส่วนตัวของเรา (ผู้ใช้บริการ) อย่างเด็ดขาด ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม หรือหากมีข้อสงสัยก็ให้เราเป็นฝ่ายติดต่อสอบถามไปทางสถาบันการเงินเองเพื่อความปลอดภัยในทรัพย์สินของเรา

5. หลีกเลี่ยงการกดคลิกลิงก์ (link) ที่มีการแนบมากับอีเมล์ที่เราไม่ทราบที่มา หรือชื่อผู้ส่งที่เราไม่รู้จัก เพราะอาจจะเป็นไปได้ว่ามีการใช้โปรแกรมสอดแนม (Spyware) แนบมากับลิงค์เหล่านี้ เพื่อทำการโจรกรรมข้อมูลของเราไปนั่นเอง

6. หลังจากใช้งานระบบต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตเสร็จแล้ว เราก็ควรที่จะทำการออกจากระบบ (Log out) ทุกครั้ง โดยเฉพาะเมื่อทำธุรกรรมการเงินต่างๆ เสร็จแล้วยิ่งไม่ควรที่จะลืมออกจากระบบทุกครั้ง เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยของทรัพย์สินเรา

7. เราควรหมั่นตรวจสอบรายการธุรกรรมการเงินและยอดเงินในบัญชีของเราอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการตรวจสอบและป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงเพื่อเป็นการเช็คความถูกต้องของรายการต่างๆ ว่า ครบถ้วนตามที่เราใช้งานไปจริงหรือไม่ มีส่วนไหนที่เพิ่มเติมมาอย่างผิดปกติหรือเปล่า หากมีให้เรารีบแจ้งทางสถาบันการเงินให้เร็วที่สุด เพื่อหาทางแก้ไขได้ทันท่วงที

8.ไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับผู้อื่น และควรหลีกเลี่ยงการใช้ Internet Bankingในร้านอินเตอร์เน็ต เพราะอาจจะไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีพอ หากเป็นไปได้ควรใช้งานเฉพาะกับคอมพิวเตอร์ส่วนตัวของเราเท่านั้น

9.หลีกเลี่ยงการใช้ อินเตอร์เน็ตสาธารณะ หรือ WIFI สาธารณะ ในการเข้าใช้งานInternet Bankingเพราะมีความเสี่ยงที่จะถูกแฮกเกอร์ดักถอดรหัส SSL เพื่อขโมยข้อมูลของเราไป ดังนั้นจะปลอดภัยกว่าถ้าเราจะใช้อินเตอร์เน็ตส่วนตัวของเรา

Internet Bankingนั้นมีความสะดวกสบายเป็นอย่างมาก แต่ก็ต้องแลกกับความเสี่ยงที่มากพอสมควรเช่นกัน ดังนั้นเราไม่ควรที่จะประมาท ควรจะมีสติคอยเตือนตัวเองให้ระวังตัวอยู่เสมอเมื่อต้องใช้งาน เพื่อความปลอดภัยในทรัพย์สินของเราครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก www.moneyguru.co.th