เมื่อประเทศไทยประกาศตนหวังจะเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมของอาเซียน ก่อนวันนั้นจะมาถึ TerraBKK Researchอพาทุกท่านย้อนกลับมาดูก่อนว่า บริษัทกว่า 20 บริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์มีใครกันบ้าง โดยจะขอแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มการบิน , กลุ่มเดินเรือ , กลุ่มรถไฟฟ้า และ กลุ่มโลจิสติกส์ ถึงข้อมูลด้าน ผลประกอบ การดำเนินธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา ครอบคลุมด้านตัวเลขรายได้และกำไรสุทธิ รวมทั้งอัตราส่วนการเงินอย่าง ROE, ROA และ NPM รายละเอียดดังนี้

เครื่องบิน-เดินเรือ-รถไฟฟ้า-โลจิสติกส์ ใคร รายได้ สูงสุด ?

           เปิดประเด็น 4 กลุ่มการขนส่งในประเทศไทย ภาพรวม ผลประกอบการ กลุ่มขนส่งทางอากาศมีขนาดรายได้ค่อนข้างดี เมื่อเทียบกับกลุ่มเดินเรือ กลุ่มรถไฟฟ้า และกลุ่มโลจิสติกส์ และ บริษัทมหาชนที่สร้างรายได้สูงสุดระดับแสนล้าน ก็คือ การบินไทย(THAI) 1.90 แสนล้านบาท โตขึ้น 5%จากปีก่อน รองลงมาคือ ท่าอากาศยานไทย(AOT) 5.67 หมื่นล้านบาท และ เอเชีย เอวิเอชั่น(AAV) 3.72 หมื่นล้านบาท กลุ่มที่มีรายได้ถัดมาจะเป็น กลุ่มรถไฟฟ้า ประกอบด้วย 2 ยักษ์ใหญ่บ้านเรา ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ(BEM) นำรายได้เกิน บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์(BTS) อยู่หลายพันล้านบาท จากตัวเลขรายได้ 1.58 หมื่นล้านบาท และ 1.04 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ ถัดมาเป็น กลุ่มเดินเรือท่าเรือ ที่มีช่วงรายได้ค่อนข้างกว้าง ตั้งแต่ระดับร้อยล้านบาท, พันล้านบาท แต่ ระดับหมื่นล้านบาท มีเพียง 2 บริษัทเท่านั้น คือ ทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) 1.42 หมื่นล้านบาท และ อาร์ ซี แอล(RCL) 1.18 หมื่นล้านบาท ท้ายสุด กลุ่มโลจิสติกส์ กลุ่มน้องใหม่มาแรงในตลาดหุ้นไทย ซึ่งมีแนวโน้ม ผลประกอบการ โดยบริษัทที่สามารถสร้างรายได้สูงสุดในกลุ่มนี้คือ เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ (JWD) 2.96 พันล้านบาท โตขึ้น 31.6%จากปีก่อน เลยทีเดียว

เครื่องบิน-เดินเรือ-รถไฟฟ้า-โลจิสติกส์ ใคร กำไรสุทธิ สูงสุด ?

             น่าแปลกใจว่าทำไม การบินไทย(THAI) ซึ่งมีรายได้ระดับแสนล้านบาท กลับขาดทุนสุทธิกว่า 2.10 พันล้านบาท สาเหตุหลักมาจาก ต้นทุนเครื่องบินน้ำมันเพิ่มขึ้น 10.8% ,ค่าใช้จ่ายด้านการขายและโฆษณาเพิ่มขึ้น 19.3% รวมทั้ง ขาดทุนจากการถือหุ้นสายการบินนกแอร์ 4.29 ร้อยล้านบาท และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 1.58 พันล้านบาท เป็นต้น ทำให้ ผลประกอบ ท่าอากาศยานไทย(AOT) คือผู้ชนะกำไรสุทธิสูงสุดของกลุ่มขนส่งทุกแขนงในประเทศไทย ด้วยตัวเลข 2.07 หมื่นล้านบาท ลองมา คือ เอเชีย เอวิเอชั่น(AAV) 1.47 พันล้านบาท และ 2 บริษัทรถไฟฟ้า คือ ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ(BEM) 3.12 พันล้านบาท และ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์(BTS) 2.00 พันล้านบาท ที่เหลือ กลุ่มเดินเรือและกลุ่มโลจิสติกส์ จะมีกำไรสุทธิอยู่ในระดับร้อยล้านบาท สูงสุดในกลุ่มเดินเรือจะเป็น พริมา มารีน (PRM) 7.17 ร้อยล้านบาท และ เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ (JWD) 6.12 ร้อยล้านบาท ในกลุ่มโลจิสติกส์

เครื่องบิน-เดินเรือ-รถไฟฟ้า-โลจิสติกส์ ใคร ROE สูงสุด ?

             เพื่อสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารงานก่อเกิดผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นในฐานะเจ้าของกิจการ นักลงทุนในตลาดหุ้นมักมองกันที่ อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ค่ายิ่งสูงก็ยิ่งดี ภาพรวม ผลประกอบการ อยู่ในหลักหน่วยและหลักสิบเปอร์เซ็นต์ เป็นหลัก ดังนั้น 4 บริษัท ที่สามารถทำอัตราส่วนนี้ได้สูงสุดในแต่ละกลุ่ม คือ เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ (JWD) 21.82% ในกลุ่มโลจิสติกส์ และ สูงสุดในกลุ่มขนส่งประเทศไทยด้วย เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ (ASIMAR) 17.79% ในกลุ่มเรือ, ท่าอากาศยานไทย(AOT) 16.37% ในกลุ่มการบิน และ ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ(BEM) 10.28% ในกลุ่มรถไฟฟ้า นอกจากนี้มีเพียง 2 บริษัทที่สามารถสร้างการเติบโตของ ROE อย่างต่อเนื่อง(Up Trend) ในช่วง 3 ปีที่ผ่าน คือ กรุงเทพโสภณ(KWC) ธุรกิจคลังสินค้าและรับฝากเอกสาร และ ทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์(TTA) ธุรกิจขนส่งสินค้าทางเรือและอื่น ๆ

เครื่องบิน-เดินเรือ-รถไฟฟ้า-โลจิสติกส์ ใคร ROA สูงสุด ?

            การลงทุนในทรัพย์สินเพื่อนำไปประกอบการทำธุรกิจเป็นเรื่องปกติ การเปรียบเทียบวัดผลด้านนี้ สังเกตได้จาก อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) เพื่อสะท้อนประสิทธิภาพของบริษัทในการนําสินทรัพย์ไปลงทุนให้เกิดผลตอบแทน ผลลัพธ์ยิ่งมีค่าสูงยิ่งดี ภาพรวมกลุ่มนี้มักมีค่าอยู่ในหลักหน่วย โดยกลุ่มโลจิสติกส์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในหลักสิบเปอร์เซ็นต์ ดีที่สุดในกลุ่มขนส่ง ซึ่ง กรุงเทพโสภณ(KWC) คือ ผู้ชนะที่สามารถทำ ROA ได้สูงสุด 16.05% ในกลุ่มโลจิสติกส์ และ สูงสุดในกลุ่มขนส่งประเทศไทยด้วย ขณะที่ กลุ่มเดินเรือ เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์(ASIMAR) 14.88% สูงสุดในกลุ่ม ส่วน กลุ่มการบิน จะเป็น ท่าอากาศยานไทย(AOT) 15.62% สำหรับ กลุ่มรถไฟฟ้า ค่อนข้างใกล้เคียงกัน ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ(BEM) 6% และ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์(BTS) 4.46% หากมองถึง แนวโน้มการเติบโตของ ROE อย่างต่อเนื่อง(Up Trend) ในช่วง 3 ปีที่ผ่าน พบเพียง 2 บริษัท คือ กรุงเทพโสภณ(KWC) ธุรกิจคลังสินค้าและรับฝากเอกสาร และ ทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์(TTA) ธุรกิจขนส่งสินค้าทางเรือและอื่น ๆ


เครื่องบิน-เดินเรือ-รถไฟฟ้า-โลจิสติกส์ ใคร อัตรากำไรสุทธิ สูงสุด ?
            ผลประกอบการ อดีต 3 ปีที่ผ่านมา มองให้ดีพบว่า ธุรกิจจำพวกท่าเรือหรือท่าอากาศยานสร้างอัตรากำไรสุทธิอยู่ในระดับบนของกลุ่มขนส่งมาโดยตลอด อาทิ ท่าอากาศยานไทย(AOT) 36.45% ในกลุ่มการบิน, นามยง เทอร์มินัล(NYT) 27.33% ในกลุ่มเดินเรือ และ กรุงเทพโสภณ(KWC) 32.27% บริษัทคลังสินค้า เป็นต้น ขณะที่ กลุ่มรถไฟฟ้า อย่าง ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ(BEM) 19.77% และ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์(BTS) 19.25% ถือว่าทำได้ดีไม่น้อย


            ท้ายสุด ด้านการบริหารสัดส่วนหนี้สินต่อทุนอย่าง อัตราส่วน D/E ภาพรวมกลุ่มขนส่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนใหญ่มีค่าไม่เกิน 2 เท่า มีเพียง 2 บริษัทที่ดูแล้วน่าเป็นกังวลมาก คือ การบินไทย(THAI) 7.8 เท่า และ สายการบินนกแอร์(NOK) 5.05 เท่า รวมทั้ง ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ(BEM) ที่มีแนวโน้มอัตราส่วน D/E เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ 1.69 เท่า (ปี2558), 1.79 เท่า (ปี2559) และ 2.18เท่า (ปี2560) ---TerraBKK

บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน
TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก