ทำไมต้องมี EdTech? ปฏิรูปก่อนระบบการศึกษาจะถูก disrupt
รู้หรือไม่? ระบบการศึกษาทั่วโลกอย่างการเข้าห้องเรียน 5 วันต่อสัปดาห์ เพื่อนั่งฟังครูบรรยายบทเรียนอย่างน้อยๆ 6 ชั่วโมงต่อวัน ภายใต้กรอบเกณฑ์การวัดผลที่เกรด 0-4 หรือ A-F และถูกปกครองด้วยความกลัวแทนความกระหายอยากรู้ สิ่งหลายๆเหล่านี้ ยังคงเดิมมาตั้งแต่ปี 1900 จนกระทั่งปัจจุบัน ถึงแม้จะมีการตั้งคำถามต่อระบบการศึกษาเหล่านี้มาตลอดระยะเวลายาวนาน แต่ก็ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นผลได้ชัดเจนขนาดนั้น จนมาถึงในยุคเศรษฐกิจปัจจุบันที่เรียกกันว่ายุค 4.0 เหล่าสตาร์ทอัพทั่วทั้งโลกก็ได้ริเริ่มที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาขึ้นมา และเรียกสิ่งนั้นว่า “EdTech”
4.0 ยุคแห่งการเติบโตของ AI ที่ระบบการศึกษาแบบเดิมใช้ไม่ได้
ภายใต้การตั้งคำถามและการพยายามสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อระบบการศึกษา จึงเป็นที่มาของคลาสเรียนทางเลือกมากมายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันผ่าน
digital platform การพยายามแสวางหาชุดความรู้สักเรื่องหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องเข้าห้องสมุดอีกต่อไป แต่จะปรากฎในโลกดิจิตอล ทั้งเอกสารเผยแพร่ตาม google, YouTube, TED Talk, Duolingo และอื่นๆอีกมากมาย นอกจากชุดความรู้สำหรับการสืบค้นแล้ว ก็ได้มีการต่อยอดความคิดไปถึงว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันจะเข้ามาบรรจบกับการพัฒนาระบบการศึกษาได้อย่างไร และคำตอบที่ได้ก็คือ AI (Artificial Intelligence) ที่จะเข้ามาช่วยในระบบการเรียนการสอนเฉพาะปัจเจกบุคคลAI อย่างแรกที่ถูกนำมาพูดถึงก็คือ Conversational User Interfaces หรือระบบตอบโต้ผ่านเสียง เหมือน siri ในระบบ ios นั่นเอง ซึ่งมีแนวคิดในการพัฒนาไปเป็น chatbot ที่จะคอยตอบโต้ในระดับบุคลคล โดยเน้นไปที่การเรียนการสอน ซึ่งก็น่าสนใจมากว่าถ้าหากมีการบรรจุบทเรียนที่เหมาะสมสำหรับยุคสมัย และสามารถพัฒนาระบบตอบโต้ให้แก้ไขปัญหา มีความเสมือนจริง จะทำให้บทเรียนในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยนั้นไม่จำเป็นอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาควิชาบรรยาย อย่าง ประวัติศาสตร์ วรรณคดี การอบรม และสัมมนา ที่ไม่ได้ปริญญาบัตรแต่ได้ใเป็นใบรับรองการจบการศึกษา เป็นต้น
รูปแบบของระบบการศึกษาที่น่าจะเปลี่ยนไปในอนาคต
ความตื่นตัวเรื่องการปรับปรุงระบบการศึกษาเริ่มแพร่หลายในทั่วโลก โดยเว็บไซต์ medium.com ได้มีการพูดถึงอนาคตของรูปแบบระบบการศึกษา ที่น่าจะมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากการพัฒนา AI หรือ EdTech ซึ่งระบบการเรียนการสอนที่จะช่วยให้เกิด Big Data สำหรับการพัฒนา น่าจะมาจากการเรียนรู้ 3 รูปแบบ ได้แก่
ชุดความรู้เฉพาะบุคคล : การเรียนรู้เฉพาะบุคคลในแง่นี้หมายถึง การนำข้อมูลความสามารถเฉพาะด้าน ความสนใจเฉพาะกลุ่ม และวัฒนธรรมเฉพาะในแต่ละพื้นที่ ซึ่งผลลัพธ์ของข้อมูลเหล่านี้จะสามารถช่วยสร้างบทเรียนและการเรียนรู้ที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล โดยในระบบการศึกษาปัจจุบัน นักเรียนจะได้รับบทเรียนตามหลักสูตรการสอน วัดผลและประเมินตามเกณฑ์ ซึ่งมีการวิจัยมาว่า บทเรียนในลักษณะนี้ ไม่ช่วยให้เกิดความทรงจำในระยะยาว จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเมื่อสอบเสร็จแล้ว เราถึงจำบทเรียนที่เพิ่งท่องมาไม่ได้
ชุดความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ : ข้อมูลจากการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ก็เหมือนกับความเข้าใจทางณิตศาสตร์ ที่จะต้องเข้าใจการบวกลบ ก่อนที่จะเรียนรู้การคูณหาร เป็นต้น ซึ่งจะเปลี่ยนการวัดผลจากแต่ที่ต้องมีความรู้ 85% จึงจะได้เกรด A เป็นความเข้าใจในระดับเกรด C-B หรือเพียง 60%-70% ก็เพียงพอสำหรับความเข้าใจขั้นพื้นฐาน เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในระดับต่อไป ซึ่งการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ จำเป็นจะต้องวิเคราะห์ให้แน่ชัดก่อนว่าความเข้าใจในระดับไหน จึงจะเพียงพอต่อการเรียนรู้ในระดับขั้นต่อไป
ชุดความรู้เชิงประสบการณ์ : การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ คือรูปแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทำให้สมองมีการจดจำมากกว่าบทเรียนทั่วไป โดยในปัจจุบันการเรียนรู้เชิงประสบการณ์มักพบแค่ในชั่วโมงวิชาศิลปะ, แล็ปวิทยาศาสตร์ หรือการบ้านที่ครูสั่งให้ไปทำเท่านั้น และเป็นที่รู้กันว่าเด็กส่วนใหญ่ล้วนเกลียดการบ้าน ซึ่งการจะรวบรวมข้อมูลจากชุดความรู้เชิงประสบการณ์ เพื่อพัฒนา EdTech คือการตั้งคำถามว่า ประสบการณ์การเรียนรู้แบบใด ที่จะสามารถส่งผ่านแพลตฟอร์มดิจิตอลได้
ทำไมระบบการศึกษาไทยถึงควรปฏิรูป?
กระทิง พูนผล ผู้ก่อตั้ง Disrupt ได้บอกเล่าว่าทักษะเด็กไทยในยุค Digital Disruption นั้นค่อนข้างน่าเป็นห่วง อ้างอิงจาก ข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า 50% ของเด็กไทยสอบตกด้านการอ่าน เพราะไม่สามารถจับใจความและทำความเข้าใจได้, 53.8% สอบตกคณิตศาสตร์และไม่สามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และ 46.7% สอบตกวิทยาศาสตร์เพราะไม่สามารถเข้าใจและประยุกต์ใช้ได้ ในขณะที่ปัจจุบัน 47% ของการจ้างงานกำลังจะหายไป และ 90% ของตำแหน่งงานดั้งเดิมจะถูกแทนที่ด้วยตำแหน่งงานใหม่ๆภายในปี 2030
โดยยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ระบบการศึกษาไทยยังผลิตบุคลากรในรูปแบบ Dump Pipe หรือการเดินตามท่อ คืออุตสาหกรรมมีความต้องการอาชีพอะไร ก็ผลิตป้อนออกมาแบบนั้น ยังขาดการเรียนการสอนแบบ Strategic And Systems Thinking อีกทั้งยังขาดแรงกระตุ้นและความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาระบบการศึกษาอย่างจริงจัง โดยในกลุ่มสตาร์ทอัพด้านการศึกษา (EdTech) ในประเทศไทยสามารถระดมทุนเพียงไม่กี่สิบล้านบาท ในขณะที่ต่างประเทศสามารถระดมทุนรวมกันได้ 3,000-4,000 ล้านเหรียญ
ผลสำรวจภาวะการมีงานทำของประชากรไทยจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ รวบรวมโดย TDRI พบว่ามีประชากรทั้งหมด 65.75 ล้านคน โดยเป็นประชากรวัยแรงงานจำนวน 56.05 ล้านคน โดยจำนวนผู้อยู่นอกวัยแรงงาน กำลังเรียนหนังสือ 4.44 ล้านคน ใช้งบประมาณมากกว่า 20.3% ของรายจ่ายทั้งประเทศ แต่คุณภาพของผู้เรียนที่ผ่านมาจนปัจจุบัน ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากในยังมีจำนวนผู้เรียนที่ตกระบบตั้งแต่ชั้น ป.1-ม.6 และ ปวช.3 รวมกันถึง 7.4 แสนคน คิดเป็น 16% ของผู้เรียนที่อยู่นอกวัยแรงงานทั้งหมด อีกทังยังมีประชากรวัยแรงงานที่ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศอีกถึง 1.19 ล้านคน ได้แก่ ผู้มิได้เรียนต่อทุกชั้นเรียน/ปี, จำนวนผู้ว่างงาน (ณ ตุลาคม), พระและเณร, ผู้ต้องขัง และผู้อยู่ในสถานพินิจเด็ก/เยาวชน
การเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลงด้านระบบการศึกษาในไทย
สำหรับเรื่องดีเกี่ยวกับการพัฒนาด้านการศึกษาในไทยก็มีเหมือนกัน ปัจจุบันมีการจัดตั้งองค์กรอิสระและมูลนิธิเพื่อการพัฒนาการศึกษาหลายแห่ง โดยเริ่มกระจายไปต่างจังหวัดทั่วประเทศไทย ได้แก่ เครือข่ายโรงเรียนนอกกะลา (PBL และ PLC), การใช้ IT ในการเรียนรู้, มูลนิธิสดศรี-สฤษด์วงศ์ (พัฒนาโรงเรียน), สยามกัมมาจล(ปรับการสอน) และ sQip พัฒนาระบบคุณภาพ) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวที่สำคัญของการเริ่มต้นพัฒนาระบบการศึกษาไทย
นอกจากนั้น ล่าสุดนี้ยังมีการจัดงาน Education Disruption Conference and Hackathon 2018 โดย Disrupt, KBank และ TCP ร่วมกับ TDRI, dtac, PTT และ Areeya Property โดยนำพิธีกรระดับโลกมาแบ่งปันนวิตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆทางการศึกษา
นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพ, ธุรกิจด้านการศึกษาที่ไม่แสวงกำไร และบุคคลทั่วไปที่มีทีมงานและอยากทำเทคโนโลยีด้านการศึกษา สมัครเข้างานเพื่อนำเสนอไอเดียด้านนวัตกรรมทางการศึกษาในงาน EdTech Hackathorn ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของ EdTech ในประเทศไทย - เทอร์ร่า บีเคเค
อ้างอิง
บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน
TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก