นักท่องเที่ยว อย่างเราๆ ต้องรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ กันบ้างล่ะกับข่าวหนาหูที่ว่า “ กรมศุลกากรตรวจเข้ม แบกกล้อง โน๊ตบุ๊คต้องแจ้ง ของดิวตี้ฟรีกลับไทยต้องจ่ายอากร ” แต่แหมม มันก็ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้นนะคะ เพราะวันนี้เรามี 6 ข้อควรรู้สำหรับการไป ช็อปปิ้งต่างประเทศ ไม่ให้โป๊ะแตก เสียเงินมาฝาก

เช็คให้ชัวร​์ หากไม่อยากโป๊ะแตกกลางสนามบิน กับ 6 ข้อควรรู้ ก่อนไปช็อปปิ้งต่างประเทศ

วันนี้ rabbit finance มีเทคนิค เคล็บลับดีๆ และข้อควรรู้สำหรับการช็อปปิ้งซื้อของใช้ส่วนตัว และการซื้อของฝากหิ้วกลับไทยมาฝากค่ะ

กรมศุลกากร ออกประกาศใหม่ 2 ฉบับ คือ

1.  ฉบับที่ 59/2561 ทำขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจคน และสัมภาระสำหรับ เที่ยวบินต่อเครื่องไปต่างประเทศ

2. ฉบับที่ 60/2561 ทำขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจสอบของติดตัวผู้โดยสารไปต่างประเทศอย่างเข้มงวดได้

โดยเฉพาะ โน๊ตบุ๊ค กล้อง หรือสินค้าที่มีเครื่องหมาย เลขหมายที่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งคุณจะต้องนำของสิ่งนั้นไปแจ้งต่อพนักงานศุลกากร ณ ห้องที่ทำการศุลกากรบริเวณห้องผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ

สินค้าดิวตี้ฟรี ถ้านำกลับเข้าประเทศต้องเสียภาษี

หากคุณซื้อเครื่องสำอาง น้ำหอม ครีมประทินผิวอะไรก็ตามแต่จากดิวตี้ฟรี คุณควรใช้มันให้หมดซะ ก่อนที่จะถึงเมืองไทย ไม่เช่นนั้น คุณจะโดน Declare ช่องแดง พร้อมกับชำระอากร VAT สรรพสามิต

*** 
Declare หรือช่องตรวจแดง คือ ช่องสำหรับผู้โดยสารที่มีของต้องเสียภาษีอากร ดังนี้

1. ของต้องห้าม อาทิ สื่อลามก ของเลียนแบบเครื่องหมายการค้า สัตว์ป่าสงวน เป็นต้น

2. ของที่ต้องควบคุมการนำเข้า และส่งออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งต้องได้รับหนังสืออนุญาตจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องก่อน

3. ของที่ต้องชำระภาษีอากร คือ ของที่มีมูลค่ารวมทั้งหมดเกิน 20,000 บาท หรือสิ่งของที่นำมาเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ทางการพาณิชย์ หรือทางการค้า

ช็อปปิ้งต่างประเทศ
ขอบคุณภาพจาก marketingoops.com

ช็อปของใช้ส่วนตัว ห้ามเกิน 20,000 บาท

นักท่องเที่ยวอย่างเราๆ รู้หรือไม่ว่า เวลาคุณไป เที่ยวเมืองนอก แล้วอยากจะซื้อของเพื่อกลับมาใช้เอง มันมีข้อควรระวังอยู่นะคะ นั่นก็คือ

สินค้า หรือของใช้ต่างๆ ที่จะติดตัวขาเข้าประเทศไทย รวมกันแล้วห้ามมีมูลค่าเกิน 20,000 บาท แต่หากเกิน 20,000 บาท คุณจะต้องจ่ายค่าภาษีอากร

อยากรับหิ้ว ต้องทำไง ?

กรมศุลกากรระบุว่า สิ่งของที่ไม่ต้องเสียภาษีสำหรับสินค้านำเข้า ต้องเป็นสินค้าที่นำมาใช้เอง และไม่มากกว่า 1 ชิ้นเท่านั้น ส่วนของฝากถือเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษี ไม่มีข้อยกเว้น ดังนั้น จะซื้อของฝากใครก็ต้องคิดดูให้ดีๆ นะคะ เพราะหากเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจเจอล่ะก็ คุณซวยแน่

ช็อปปิ้งต่างประเทศ
ขอบคุณภาพจาก americansecuritytoday.com

ซื้อของฝากเป็นขนมสิ ปลอดภัยสุด

เข้าใจค่ะว่า เวลาเรา ไปเที่ยวต่างประเทศ หรือไปเที่ยวที่ไหนก็ตามแต่ เราก็อยากจะมีของฝากเล็กๆ น้อยๆ ติดไม้ติดมือกลับมาบ้านเพื่อให้พ่อแม่ พี่น้อง หรือเพื่อนฝูง ซึ่งเราขอแนะนำของฝากที่เป็น ขนม เพราะมันจะปลอดภัยมากกว่าของฝากประเภทอื่นๆ

การสุ่มตรวจ และบทลงโทษของผู้ที่ฝ่าฝืน

อย่างที่ทราบกันดีว่า กรมศุลกากรจะเน้นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารที่ เดินทางเข้าประเทศ โดยมิได้ทำการตรวจสัมภาระของผู้โดยสารทุกคน แต่จะสุ่มตรวจด้วยเครื่อง X-Ray ตามหลักมาตรฐานสากล

ฉะนั้น การปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามพิธีการทางศุลกากร จึงถือเป็นหน้าที่ที่ผู้โดยสารทุกคนควรตระหนัก และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และหากคุณมีของที่ต้องสำแดง แต่หลีกเลี่ยงไม่สำแดงขณะผ่านจุดตรวจ ไม่ว่าจะด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม เมื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจพบจะถือเป็นความผิดทันที

โดยมีบทลงโทษ คือ ปรับ 4 เท่าของมูลค่าสินค้าทั้งหมด พร้อมบวกค่าภาษี และอากร หรือจำคุกไม่เกิน  10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และของที่หลีกเลี่ยงการชำระอากรจะถูกริบเป็นของแผ่นดินตามกฎหมายศุลกากรทันที

รู้แบบนี้แล้ว ก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะทั้งหมดทั้งมวลที่เรานำข้อควรรู้มาฝากนี้ ถือเป็นหน้าที่ที่คุณต้องปฏิบัติตามที่ กรมศุลกากร บอกอย่างเคร่ดครัดอยู่แล้ว ซึ่งหากคุณสามารถปฏิบัติตามนี้ได้ ก็ไม่มีอะไรให้ต้องเป็นกังวล จริงไหมล่ะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก finance.rabbit.co.th