WHIZDOM101 กับแนวคิด Third Place พื้นที่ที่เติมเต็มความสุข และตอบโจทย์การใช้ชีวิตในทุกๆวัน
สำหรับผู้คลุกคลีในวงการอสังหาริมทรัพย์ คงคุ้นเคยกับชื่อเสียงของ แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น หรือ (MQDC) กันบ้าง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งค่ายอสังหาฯ ยักษ์ใหญ่ แต่สิ่งที่เราจะพูดถึงในครั้งนี้ เราไม่ได้โฟกัสในความเป็นค่ายดังของเขา เพราะความน่าสนใจของค่ายอสังหาฯ หัวก้าวหน้านี้ คือ ความชัดเจนด้านนโยบายธุรกิจที่ตั้งใจสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสังคม ไปพร้อมๆ กับการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนโดยอาศัยนวัตกรรม
ที่สำคัญคือการแสดงให้เห็นว่าค่ายอสังหาฯ ก็สามารถดำเนินธุรกิจไปพร้อมกับสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนได้เช่นกัน
สิ่งนี้ MQDC ได้พิสูจน์ให้เห็นด้วยการกระทำ จากการริเริ่มหลายๆ โครงการ หนึ่งในนั้นคือ WHIZDOM101 (วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน)
จริงอยู่หากมองจากภายนอก WHIZDOM 101 ก็คือโครงการขนาดใหญ่ในย่าน สุขุมวิท 101 (ปุณณวิถี) แต่สิ่งที่ทำให้ WHIZDOM 101 แตกต่าง คือ การซ่อนนัยยะความเป็น Third Place เข้าไปในโครงการ
Third Place คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรต่อการอยู่อาศัย?
The Great Good Place
สังคมไทยอาจไม่คุ้นเคยกับคำๆ นี้เท่าไร แต่นักพัฒนาเมืองทั่วโลกให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่สาธารณะนี้ เพราะมันคือส่วนหนึ่งในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คน อย่างที่ Ray Oldenburg นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เคยระบุในหนังสือ The Great Good Place ที่แม้จะเป็นแนวคิดซึ่งเขียนขึ้นปลายยุค 80 แต่ยังคงได้รับการยอมรับว่า หากคุณจะสร้างเมือง หรือหมู่บ้าน ให้กลายเป็น The Great Good Place สมบูรณ์แบบ ต้องประกอบด้วย 3 สถานที่ คือ
1.First Place : บ้าน
2.Second Place : ที่ทำงาน
3.Third Place : สถานที่ที่เติมเต็มความสุข ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะก่อให้เกิดความเป็น The Great Good Place และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ นอกเหนือจากบ้านและที่ทำงาน สถานที่ที่จะช่วยรีชาร์จทั้งร่างกายและจิตใจ ที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช้ชีวิตได้ทุกวัน ถ้าจะให้เปรียบง่ายๆก็คล้ายกับพื้นที่แห่งความสุขของทุกคนนั่นเอง
Third Place ในบริบทสังคมไทย แบบฉบับ WHIZDOM 101
คำถามที่ตามมาคือ WHIZDOM 101 จะเป็น Third Place แบบไหน?
ต้องบอกก่อนแม้ในประเทศชั้นนำอย่างสิงค์โปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี ไปถึงอเมริกา ต่างก็ให้ความสำคัญในการพัฒนาเมืองให้มีพื้นที่ Third Place แต่จนถึงที่สุดแล้วก็ยังไม่มีสถานที่ใดที่จะเข้าถึงหัวใจสำคัญของแนวคิดนี้ได้สมบูรณ์แบบ
เมื่อมองกลับมาที่เมืองไทย สิ่งที่ MQDC ทำ เพื่อเติมเต็มหัวใจความเป็น Third Place เข้าไปใน WHIZDOM 101 ซึ่งเราคงไม่ได้เห็นกันบ่อยนักในตัวผู้ประกอบการอสังหาฯ คือการลงลึกในการวิจัยที่ไม่ใช่แค่ศึกษาความต้องการของลูกค้า (Customer) หรือนัยยะในเชิงออกแบบ แต่มองลึกลงไปถึงความต้องการเชิงพฤติกรรมมนุษย์ (Human Behavior) โดยใช้เวลากว่า 2 ปี ระดมสมองทีมผู้เชี่ยวชาญทั้งสถาปนิก นักออกแบบ ไปจนถึงนักจิตวิทยา มาวิจัยหาแพลตฟอร์มความเป็น Third Place ที่ ‘ใช่’ สำหรับคนกรุงเทพฯ
หนึ่งในวิธีการนั้นคือการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 60 คน ที่เราเรียกว่า Lead User ซึ่งเป็นกลุ่ม Trend Setter โดยทีมวิจัย MQDC เข้าไปศึกษาตั้งแต่พฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดีย สัมภาษณ์ และคลุกคลีกับคนกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด จนได้ข้อสรุปว่า สิ่งที่พวกเขาคาดหวังจากสถานที่ คือ สถานที่นั้นต้องตอบโจทย์การใช้เวลาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (Optimize Time)
แน่นอนว่าการสร้างประสบการณ์นั้นให้ถูกจริตกับไลฟ์สไตล์คนเมืองย่อมต้องตอบโจทย์
1.ความสะดวกสบาย
2.ความแปลกใหม่ ไม่ซ้ำใคร
3.ความต้องการลึกๆ ในใจที่ยังไม่เคยมีใครตอบถูก
จุดเชื่อมโยงความผูกพันของผู้คน
อย่างที่ คุณสุทธา เรืองชัยไพบูลย์ President แห่ง MQDC หนึ่งในผู้ริเริ่มและขับเคลื่อนโครงการนี้ ย้ำกับเราว่า คอนเซ็ปต์ของการเป็น The Great Good Place ของ Ray Oldenburg คือการนำ 3 สถานที่มาสร้างความสมดุลให้อยู่ในพื้นที่เดียวกันที่ WHIZDOM 101 หัวใจของความเป็น Third Place จึงเป็นพื้นที่สาธารณะที่ไม่ว่าใครก็เข้ามาใช้ประโยชน์ได้ทุกวัน โดยไม่รู้เบื่อ รู้สึกปลอดภัย เป็นจุดศูนย์รวมของการพักผ่อนหย่อนใจ ให้เข้ามารีชาร์จพลัง สามารถเชื่อมโยงกับผู้คน ผ่านกิจกรรมใดๆ ที่พวกเขาสนใจได้อย่างเท่าเทียม
“สิ่งที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันโดยไม่รู้ตัว บางทีเราอยู่ในคอนโด แต่ไม่ยอมนั่งเล่นไอแพ็ดอยู่ในคอนโดเงียบๆ แต่ลงมาร้านกาแฟมาอยู่ในที่สาธารณะ แม้ว่าจะไม่ได้คุยกับใครเลยก็ตาม พฤติกรรมนี้สอดคล้องกับผลวิจัยชิ้นหนึ่งที่เราไปเจอคือ Privacy in Public ที่ระบุว่าท้ายสุดแล้วสิ่งนี้แสดงให้ว่ามนุษย์มีความต้องการอยู่ร่วมกันในสังคม”
“ฉะนั้น Third Place ในแบบของเรา จะต้องเป็นสถานที่ที่จะตอบโจทย์ความรู้สึกลึกๆ ในใจที่ผู้คนมองไม่เห็น ตอบสนองไลฟ์สไตล์และความสนใจในทุกๆ ด้านของคนในสังคมและชุมชนยุคนี้ อย่างสุภาพสตรีบางท่านอาจชอบช้อปปิ้ง บางท่านชอบคุกกิ้งคลาส นักเรียนอยากได้พื้นที่อ่านหนังสือ เป็นต้น ขณะเดียวกันพื้นที่แห่งนี้ต้องยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนด้วย เพราะนี่คือเป้าหมายสำคัญของ WHIZDOM 101” คุณสุทธาเผยให้เห็นความเป็น Third Place ใน WHIZDOM 101
คืนคุณภาพชีวิตให้คนเมือง ใส่ใจต่อระบบนิเวศนอกจากการมีแผนกวิจัยในการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ เพื่อค้นคว้าความต้องการที่แท้จริงของผู้อยู่อาศัยแล้ว MQDC ยังทำการวิจัยชุมชนโดยรอบปุณณวิถี เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการออกแบบ WHIZDOM 101 ให้มายกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนอีกด้วย ซึ่งสรุปแนวทางหลักออกมาได้ 3 ประการ ได้แก่
1.หากสำรวจทำเลปุณณวิถี จะพบว่ามีสปอร์ตคลับอยู่คู่กับพื้นที่มานานกว่า 20 ปี เป็นความคุ้นเคยของคนในชุมชนนี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนในพื้นที่นี้ใส่ใจกับการออกกำลังกายและสุขภาพ WHIZDOM 101จึงให้ความสำคัญกับสถานที่แห่งนี้ ด้วยการเข้าไปเติมเต็มฟังก์ชั่นใช้สอยให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น เช่น Bike Lane, จ็อกกิ้งแทร็ค ฯลฯ รวมถึงหลากหลายร้านค้าและเซอร์วิสต่างๆ ที่จะตอบสนองการใช้ชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เช้าจรดเย็นแบบครบทุกมิติ อาทิ ร้านอาหาร ร้านแฮงค์เอ้าต์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ธนาคาร ไปรษณีย์ ร้านตัดผม ร้านซักรีด คลินิกทำฟัน ร้านทำเล็บ สปา และอีกมากมาย ท่ามกลางมาตรฐานที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตสะดวกสบายของคนยุคนี้ อย่างบริการ Wi-Fi ความเร็วสูงเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ การนำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาช่วยประหยัดพลังงานต่างๆ ทั้งหมดนี้รวมกันเรียกว่า Innovative Lifestyle Complex
2.ตอบโจทย์สิ่งที่คนเมืองโหยหา คือ พื้นที่สีเขียว เพราะเมืองที่ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีในโลกนี้ ต้องมีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 29% แต่น่าตกใจที่กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวเพียง 7% เท่านั้น WHIZDOM 101 จึงจัดสรรพื้นที่สีเขียวภายในโครงการมากถึง 32% และไม่ใช่แค่การใส่สีเขียวด้วยการปลูกต้นไม้เพื่อความสวยงาม แต่คัดสรรพืชแต่ละชนิดที่จะเป็นประโยชน์กับทั้งมนุษย์ สรรพชีวิตเล็กๆ รวมถึงเอื้อต่อระบบนิเวศ นำไปสู่การสร้างระบบนิเวศใหม่ใจกลางเมือง
3.เนื่องจาก MQDC เห็นความสำคัญของการศึกษา ภายใน WHIZDOM 101 ได้จัดสรรพื้นที่กว่า 1,000 ตารางเมตรให้เป็น “วิสซ์ดอม โซไซตี้” เปิดให้นักศึกษาเข้ามาติวหนังสือ เวิร์คช็อป โดยทางโครงการจะทำหน้าที่เชิญวิทยากรผู้มีประสบการณ์สาขาต่างๆ มาให้ความรู้ในพื้นที่นี้ ตามโอกาสต่างๆ อีกทั้งยังมีบริการ e-library ให้สามารถสแกน QR Code หนังสือน่าอ่านจนถึงหนังสือหายาก เพื่อจุดประกายความคิดและต่อยอดความรู้ของนักเรียนนักศึกษาและผู้ที่สนใจ
Innovative Lifestyle Complex
จากแนวคิด The Great Good Place นี้ WHIZDOM101 ได้แบ่งพื้นที่ตามประสบการณ์ที่จะได้รับ ได้แก่
Hillside Town : โซนที่ได้รับการออกแบบเพื่อให้ผู้มาเยือนรู้สึกว่ากำลังเดินเล่นอยู่ในเมืองกลางหุบเขา พาเข้าไปสำรวจพื้นที่ต่างๆ ของร้านค้า ผ่านทางเดินและทางลาดเอียงซึ่งออกแบบโดยใช้หลัก Universal Design ซึ่งจะเป็นรูปแบบที่ไม่เหมือนกับที่ใดในกรุงเทพฯ นำเสนอประสบการณ์การใช้ชีวิตไม่เหมือนใคร ตั้งแต่อาหารไปจนถึงแฟชั่น โดยภายในเป็นที่ตั้งของร้านค้า ร้านอาหารคอนเซ็ปต์ฟู้ด และคาเฟ่สุดชิคที่ตกแต่งแปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร
24-Hour Street : มีการวิจัยมาแล้วว่าผู้คนจะรู้สึกปลอดภัยในเวลากลางคืน เมื่อมีร้านค้า ร้านกาแฟ หรือร้านอาหารเปิดไฟสว่าง ระหว่างทางกลับบ้าน บวกกับความต้องการของคนรุ่นใหม่ในสังคมดิจิทัลที่กำลังมองหาสถานที่ที่ตอบสนองความต้องการได้แบบทันทีทันใด 24-Hour Street จึงได้เกิดขึ้น ที่ไม่ได้มีเพียงแค่ร้านมินิมาร์ท แต่ยังมีร้านอาหาร และบริการต่างๆ และที่สำคัญยังเป็นสถานที่เชื่อมต่อกับผู้คนหลากหลายที่มีความสนใจเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
WHIZDOM PARK : แท้จริงแล้วมนุษย์ต้องอยู่ร่วมกับธรรมชาติ พื้นที่ว่างในอาคารต่างๆ จึงได้รับการออกแบบให้เป็นพื้นที่สวนเขียวชอุ่มไปด้วยไม้ดอกและไม้ผลที่เป็นไม้พื้นถิ่น ให้ทุกคนได้มารีชาร์จพลังกายและใจ หลีกหนีจากความเร่งรีบ ในพื้นที่นี้คุณจะได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากโอเอซิสสีเขียวตัดกับบรรยากาศสีเทาของเมือง เหมาะสำหรับจัดกิจกรรมขนาดใหญ่ตั้งแต่กีฬาจนถึงคอนเสิร์ต
WHIZDOM TRACK : สำหรับผู้ที่รักการออกกำลังกายเป็นชีวิตจิตใจ ไม่ควรพลาดประสบการณ์เรียกเหงื่อสุดพิเศษ ที่จะให้ประสบการณ์ที่ดีต่อสุขภาพ บนจ็อกกิ้ง แทร็ค และ Bike Lane ความยาว 1.3 กิโลเมตรรอบตัวอาคาร พร้อมเป็นจุดชมวิวที่น่าทึ่ง
สโมสรสุขภาพ : โซนคนรักสุขภาพที่รวมสปอร์ตคลับขนาดใหญ่และดีที่สุด บริการอุปกรณ์เต็มรูปแบบ ทั้งห้องออกกำลังกาย สระว่ายน้ำ ซึ่งนอกจากอุปกรณ์ สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับฟิตเนสและสปอร์ตคลับแล้ว ยังมีโซนสำหรับครอบครัว และสนามกีฬาในร่มอีกด้วย
หวังเป็นต้นแบบสร้างบรรทัดฐานการอยู่อาศัยที่ดี
ทั้งหมดนี้น่าจะทำให้เรามองเห็นแล้วว่า Third Place ในนิยามของ WHIZDOM 101 ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ แต่เกิดจากการค้นคว้า วิจัย และทำการบ้านมาอย่างหนัก นั่นเพราะความคาดหวังของโครงการอยากให้ WHIZDOM 101 เป็นต้นแบบของการสร้างพื้นที่สาธารณะดีๆ เพื่อสังคม อย่างน้อยให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ ตระหนักถึงประโยชน์ของการจัดสรรพื้นที่สาธารณะไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใด
ดูเหมือนว่าเป็นความหวังที่ต้องใช้เวลา แต่ก็ต้องยอมรับว่านับตั้งแต่โครงการนี้เปิดตัวมา ก็เริ่มได้รับการกล่าวถึงในแวดวงอสังหาฯ นอกจากนี้วงการสถาปนิกของญี่ปุ่นได้นำโครงการ WHIZDOM 101 ไปเป็นกรณีตัวอย่างในเรื่องการพัฒนาเมืองในรูปแบบสมาร์ทซิตี้แล้ว
“ระยะสั้นเราคาดหวังให้ผู้คนที่เข้ามาใช้พื้นที่ได้เอ็นจอยกับการใช้ชีวิต Outdoor มากขึ้น เพราะเราออกแบบให้ Journey ของคนที่เข้ามาใช้ชีวิตที่นี่ได้เดิน 8 พันก้าวต่อวัน เพราะมีผลวิจัยระบุว่าคนกรุงเทพฯ ใช้ชีวิต 90% Indoor ซึ่งเป็นการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ทำให้ WHIZDOM 101 พยายามออกแบบแก้ไขปัญหาเรื่องมลพิษ อากาศร้อน ฝนตก โดยใช้เทคโนโลยีช่วยลดอุณหภูมิในโครงการ เพื่อเอื้อให้ผู้คนออกมาใช้ชีวิตข้างนอกมากขึ้น”
“ส่วนระยะยาว เราอยากแชร์แนวคิดนี้ไปยังนักเรียนและนักศึกษา ปลูกฝังให้เขานำไอเดียเหล่านี้ไปพัฒนาต่อยอดในอนาคต รวมถึงกระจายไอเดียนี้ไปยังผู้พัฒนาอสังหาฯ ในไทยหรือในภูมิภาคนี้ได้มีโอกาสเห็นสิ่งที่เราทำว่า สามารถทำธุรกิจไปพร้อมๆ กับทำประโยชน์ให้กับสังคม ซึ่งเราเริ่มดำเนินการแล้ว โดยเปิดศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center - RISC) เปิดให้ผู้พัฒนาอสังหาฯ และนักศึกษาเข้ามาต่อยอดองค์ความรู้”
ถือเป็นอีกหนึ่งความตั้งใจจริงของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชนและสังคมเมือง เชื่อว่าเมื่อโครงการ WHIZDOM 101 สร้างเสร็จสมบูรณ์ จะเป็นตัวอย่างในการสร้างแรงกระเพื่อมที่ดีให้กับวงการอสังหาฯ ได้อย่างแน่นอน
สำหรับน้องๆนักศึกษา และผู้ที่สนใจในการทำหนังสั้น โอกาสมาถึงแล้ว กับโครงการประกวดหนังสั้น My Third Place Short Film Contest โดย WHIZDOM 101 ลุ้นโอกาสเป็นผู้กำกับหนังสั้นร่วมกับทีมงานมืออาชีพ พร้อมร่วมทริปดูงานที่ญี่ปุ่น รวมมูลค่าสูงสุดกว่า 500,000 บาท ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.whizdom101bangkok.com
ขอบคุณข้อมูลจาก www.whizdom101bangkok.com