4 ปัญหาการเงิน ที่ 50 ปีก่อน โลกนี้ไม่เห็นมีเลย
สมัย 50 ปีที่แล้ว โลกของเรามีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการลอบสังหาร Martin Luther King และ Robert F. Kennedy การออกนอกยานอวกาศครั้งแรกของมวลมนุษยชาติ ไปจนถึงการคิดค้นอ่างจากุชชี่ครั้งแรกในโลก
แน่นอนว่า โลกของเราตอนนี้ มันพัฒนาไปมากเมื่อเทียบกับ 50 ปีก่อน แต่ในความก้าวหน้านี้ มันยิ่งทำให้เรื่องบางเรื่อง มีความยุ่งยากซับซ้อนขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย โดยเฉพาะ ปัญหาการเงิน ค่ะ
ถึงแม้ว่า เราจะมี เครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ ที่ช่วยทำให้ชีวิตการใช้จ่ายของเราสะดวกสบายและรวดเร็วมากขึ้น แต่ความทันสมัยนี้ มันก็นำมาซึ่งปัญหาใหม่ๆ ที่โลกของเราไม่เคยต้องพบเจอ เมื่อสมัย 50 ปีก่อนด้วยค่ะ
4 ปัญหาการเงิน ที่ 50 ปีก่อน โลกนี้ไม่เห็นมีเลย
1.การเป็นหนี้บัตรเครดิต
บัตรเครดิตที่ประสบความสำเร็จใบแรกของโลก คือ บัตร The BankAmericard ของ Bank of America เมื่อปี ค.ศ. 1958 และหลังจากนั้น บัตรเครดิตก็ถือเป็นเครื่องมือทางการเงินที่เป็นที่นิยมมากๆ รองลงมาจากเงินสดเลยทีเดียว
ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีจำนวนบัตรเครดิตมากถึง 20,167,226 ใบ ซึ่งคนวัยทำงานนั้น จะถือบัตรเครดิตเฉลี่ยแล้วคนละประมาณ 4 ใบค่ะ
ถึงแม้บัตรเครดิตจะมีประโยชน์หลายอย่าง ทั้งช่วยให้เรารูดซื้อของง่ายขึ้น ผ่อนสินค้าได้ แถมสะสมแต้มแลกส่วนลดก็ดี แต่เพราะแบบนี้แหละค่ะ ทำให้หลายคน ที่ใช้จ่ายแบบเพลินมือ ต้องมานั่งกุมขมับกับหนี้บัตรเครดิตก้อนโต ที่ส่งมาเก็บถึงหน้าประตูบ้านทุกๆเดือน
แล้วไม่ใช่แค่บัตรเครดิตเท่านั้น แต่หลายๆคนยังมีหนี้ก้อนอื่นๆอีก อย่างหนี้สินเชื่อ หนี้รถ หนี้บ้าน ซึ่งวิธีการที่จะแก้ปัญหาหนี้สินเหล่านี้ได้ คือ การใช้จ่ายอย่างพอตัวและเร่งชำระหนี้เก่าให้เร็วที่สุด ก่อนที่จะสร้างหนี้ใหม่มาเพิ่มค่ะ
2.การออมเงินเพื่อเกษียณอายุ
สมัยก่อน ไม่ได้มีอาชีพหลากหลายเหมือนในปัจจุบันค่ะ ทำให้เมื่อได้งานแล้ว คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยเปลี่ยนงาน และทำงานอยู่ที่เดิมตั้งแต่วัยรุ่นยันเกษียณอายุกันไปเลย ทำให้พวกเขาได้รับเงินบำนาญก้อนโตและไม่ต้องกังวลเรื่อง การเก็บเงิน ไปใช้ในวัยเกษียณค่ะ
ต่างจากปัจจุบัน ที่คนมักจะเปลี่ยนงานกันบ่อยๆ โดยสถิติจาก กระทรวงแรงงาน ระบุบว่า คนไทยลาออกจากงานมากถึง 96,659-130,855 คน/เดือน เลยทีเดียว
เมื่อเงินบำนาญจากบริษัทหายไปแล้ว สิ่งที่เราจะทำได้ คือ การออมเงินไว้เผื่อเกษียณค่ะ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ทั้ง การลงทุน การซื้อประกันชีวิต หรือแค่หยอดกระปุกทุกวันก็ยังได้
แต่คนส่วนใหญ่ มักจะคิดถึงแค่การใช้เงินตอนนี้ ใช้ยังไงให้พออยู่ถึงสิ้นเดือน หรือเก็บเงินแค่พอซื้อของที่อยากได้แล้วก็เลิก ซึ่งเราควรเปลี่ยนความคิด แล้วหันมาเริ่มออมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณตั้งแต่วันนี้ค่ะ เพราะยิ่งคุณเริ่มเร็วเท่าไหร่ ชีวิตในวัยชราของคุณก็ยิ่งสบายมากขึ้นเท่านั้นด้วย
3.การโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว
อินเตอร์เน็ตและโซเชียลเน็ตเวิร์ก สามารถช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กับเราได้ก็จริง แต่มันก็ยิ่งทำให้พื้นที่ส่วนตัวของเราลดลงได้เช่นกัน
ถึงแม้ การโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว จะเป็นปัญหาที่มีมานานแล้วก็ตาม แต่เพราะ เทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต ทำให้มันยิ่งมีกลโกงและมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ๆเกิดขึ้นแทบทุกวัน เช่น การแฮกข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ การปลอมเว็บไซต์และอีเมลล์เพื่อหลอกเอาข้อมูล (Phishing) การขโมยบัตรเครดิต หรือการลอกเอาข้อมูลผ่านโทรศัพท์
ซึ่งเมื่อข้อมูลของคุณรั่วไหลออกไป มิจจฉาชีพก็อาจจะเอาไปสร้างความเสียหายต่างๆได้ เช่น เอาชื่อไปหลอกซื้อประกัน ขโมยบัตรเครดิตไปรูดเอง หรือ หลอกเอารหัส ATM เป็นต้น
เราสามารถป้องกันอาชญากรรมรูปแบบนี้ได้ง่ายๆ เพียงแค่ต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติรอบตัวเวลาใช้บัตรเครดิต และอย่าข้อมูลส่วนตัวกับใครถ้ายังไม่แน่ใจว่าสามารถเชื่อถือได้จริง
4.ค่ารักษาพยาบาลที่สูงทะลุเพดาน
วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์เดินหน้ามาไกลมาก เมื่อเทียบกับ 50 ปีที่แล้ว แต่ด้วยวิทยาการใหม่ๆที่ออกมา มันก็ยิ่งส่งผลให้ค่ารักษาพยาบาลแพงขึ้นทุกวันด้วยเช่นกัน
ค่าใช้จ่ายด้ายสุขภาพในปัจจุบัน มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2557 ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า คนไทยมีค่ารักษาพยาบาลประมาณ 6,286 บาท/คน
ซึ่งอันนี้ เป็นเพียงค่ารักษาของอาการป่วยธรรมดาหรือแค่ไปหาหมอเท่านั้น ไม่นับการรักษาโรคอื่นๆที่มีอาการรุนแรงหรือโรคเรื้อรังแต่อย่างใดค่ะ
การทำประกันสุขภาพ หรือ การเก็บเงินก้อน หนึ่งไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพโดยเฉพาะ ถึงแม้จะไม่ได้ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ แต่อย่างน้อยมันจะทำให้คุณไม่ต้องกังวลเรื่องเงินมากนัก เมื่อเวลาโรคร้ายมาเยื่อนค่ะ
อีก 50 ปีข้างหน้า ใครจะรู้ว่าจะมีอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นมาอีก แต่ที่แน่ๆ ถ้าคุณอยากจะแก้ปัญหาการเงินที่มีตั้งแต่วันนี้ วิธีที่ดีที่สุด คือ การออมเงินไว้เผื่อกรณีฉุกเฉินค่ะ และอย่าลืมติดตาม rabbit finance ให้ดีนะคะ ว่าเราจะเอาเรื่องราวน่าสนใจอะไรมาอัพเดตให้ฟังกันอีก
ขอบคุณข้อมูลจาก rabbitfinance.com