สำหรับเจ้าของกิจการทั้งหลายที่ได้มีการจดทะเบียนเปิดบริษัทและดำเนินการในรูปแบบของการจดทะเบียนทางธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย  ก็มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเสียภาษีให้กับภาครัฐ เพื่อให้รัฐได้นำรายได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศทางด้านต่าง ๆ ต่อไป ส่วนภาษีธุรกิจที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องจ่ายให้กับภาครัฐในรูปแบบนิติบุคคลนั้นมีทั้งหมด 5 แบบ ดังต่อไปนี้

1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล

          ภาษีเงินได้นิติบุคคล หมายถึง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากองค์กรธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลตามกฎหมายภาษีอากรที่ชื่อว่า "ประมวลรัษฎากร"  มีแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 แบบคือแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 50 ที่ต้องยื่นภายใน 150 วันหลังจากวันที่ปิดบัญชี และ แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 51 ที่ต้องยื่นภายใน 2 เดือนหลังจากรอบบัญชีครึ่งปี

2.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

          หรือเรียกง่าย ๆ คือภาษีหักจ่ายล่วงหน้า  ซึ่งกำหนดให้คนที่จ่ายเงินต้องหักภาษีไว้ทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินเป็นไปตามประเภทของเงินได้และอัตราภาษีกำหนด หรือที่เรารู้จักกันดีในรูปแบบของแบบ ภ.ง.ด. 3 กรณีที่หักบุคคลธรรมดา และ ภ.ง.ด. 53 กรณีที่หักนิติบุคคล ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม

          สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากเจ้าของกิจการผลิตสินค้า หรือขายสินค้าและบริการ ส่วนกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มก็คือกิจการที่มีรายได้ต่อปี ตั้งแต่ 1,800,000 บาทขึ้นไป ทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โดยแบบฟอร์มในการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นคือแบบ ภ.พ. 30 ทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป 

4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ

          ภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นอีกหนึ่งรูปแบบภาษีที่รัฐเลือกเก็บจากผู้ประกอบการประเภทกิจการเฉพาะบางอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก โดยแบบยื่นแสดงภาษีชนิดนี้จะมีชื่อว่าภ.ธ. 40 ส่วนกิจการที่เข้าข่ายธุรกิจเฉพาะ ได้แก่การธนาคาร การธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายเฉพาะ การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์การรับประกันชีวิต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต การรับจำนำ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ และการประกอบกิจการโดยปกติเสมือนการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน

5.อากรแสตมป์

          อากรสแตมป์นั้น จะมีการเรียกเก็บเมื่อมีการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะ โดยจะใช้การขีดฆ่าแสดงถึงการใช้แสตมป์ดังกล่าว ส่วนเอกสารที่ต้องเสียอาการสแตมป์นั้นจะต้องเป็นไปตามกำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์เช่นสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน สัญญาเช่าที่กับโรงเรือน จ้างทำของ สัญญากู้ยืมเงิน 

          นอกจากความรู้ด้านภาษีแล้ว เรายังสามารถวางแผนการลดหย่อนภาษี วางแผนเก็บออมเงิน หรือพบกับการเปรียบเทียบบัตรเครดิตและสินเชื่อดีๆ ได้อีกครับ รวมถึงการทำประกันสุขภาพ เพื่อลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย และยังสามารถพบกับบทความดีๆได้ทาง https://masii.co.th/blog  ครับ

หรือสามารถแอดไลน์มาสอบถามได้ทาง Line@ : @masii ซึ่งคุณจะพบคำตอบดีๆ ที่เหมาะสำหรับการเก็บออมเงิน หรือลดหย่อนภาษีในรูปแบบของคุณได้ครับ

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก www.masii.com