ชี้ชัดความแตกต่าง เหล็ก “EF IF”
โลกเราในปัจจุบันมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งเหล็กสำหรับก่อสร้างเองก็มีการพัฒนาด้วยเช่นกัน ทำให้มาตรฐาน กฎระเบียบต่างๆ ที่เราใช้กันมาตั้งแต่อดีตต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องและทันต่อสภาวการณ์ในปัจจุบัน เช่น มาตรฐานเหล็กเส้นก่อสร้าง ที่ได้มีการปรับปรุงมาตรฐานใหม่ ซึ่งเริ่มประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ. 2559 (อ่านประกาศได้ที่นี่เพียงคลิก…) และบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา วันนี้ BUILK Construction United จะมาตีแผ่เนื้อหาของ มอก. เหล็กฉบับใหม่นี้ให้ทุกๆท่านได้ทราบในความแตกต่างของเหล็ก “EF IF”
ซึ่งสาระสำคัญของเนื้อหาใน มอก. ฉบับใหม่นี้ จะเน้นเรื่องการยกมาตรฐานคุณภาพเหล็กให้สูงขึ้น เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยแบ่งได้เป็น 3 ข้อใหญ่คือ
1. เพิ่มการตรวจสอบและควบคุมค่าเคมีที่ต้องตรวจสอบในเนื้อเหล็กอย่างเข้มงวด จากเดิม 5 ชนิดเป็น 19 ชนิด
2. เพิ่มชื่อผู้นำเข้าเหล็กเส้นก่อสร้างเป็นตัวนูนลงบนเนื้อเหล็ก
3. กำหนดให้ผู้ผลิตแสดงชนิดของเตาหลอมที่ใช้ในการหลอมเหล็กเป็นตัวนูนเพิ่มลงไปบนเนื้อเหล็กทุกเส้น เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้เหล็กที่มีคุณภาพเหมาะสมกับลักษณะงาน
โดยที่ปัจจุบันมีเตาหลอมอยู่ 4 ชนิดได้แก่ OH, BO, EF และ IF แต่ในประเทศไทยมีเตาหลอมอยู่เพียง 2 ชนิด คือ EF และ IF ดังนั้น ในบทความนี้จะเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเหล็ก EF และ IF เท่านั้น
เหล็ก Electrical Arc Furnace process (EF)
เป็นเหล็กที่ผลิตจากการหลอมละลายเศษเหล็กด้วยเตาอาร์คไฟฟ้า โดยในเตาจะมีแท่งอิเล็กโทรดจ่อกับเศษเหล็กให้ไฟฟ้าวิ่งผ่านเหล็กจนเกิดความร้อน จนหลอมละลาย เปรียบเสมือนการหลอมละลายด้วยฟ้าผ่า
หลังจากที่เหล็กหลอมละลายแล้ว จะกำจัดสิ่งสกปรกหรือค่าเคมีที่มีผลเสียต่อความแข็งแรงของเหล็กด้วยการทำให้สิ่งสกปรกและธาตุประกอบต่างๆกลายเป็นตะกรัน (Slag) และลอยขึ้นมาบนผิวหน้าน้ำเหล็ก ส่งผลให้น้ำเหล็กที่ได้สะอาดเหมือนใหม่ ก่อนจะนำไปเติมธาตุที่จำเป็นเพื่อให้เหล็กมีความเหนียว แข็งแรง เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน
เหล็ก Induction Furnace process (IF)
เป็นเหล็กที่ผลิตมาจากการหลอมเศษเหล็กเช่นกัน แต่ใช้การเหนี่ยวนำไฟฟ้าเพื่อให้เกิดความร้อนที่เหล็กจนหลอมละลายเป็นน้ำเหล็ก จากนั้นเติมธาตุ ที่จำเป็น เพื่อให้เหล็กรับกำลังได้ตามที่ มอก. กำหนด แต่เตาชนิดนี้จะไม่สามารถกำจัดสิ่งที่ปนเปื้อนมากับเศษเหล็กออกได้ ทำให้การคัดเลือกเศษเหล็กที่มีความสะอาด ปราศจากสิ่งปนเปื้อนมาใช้ในการผลิตจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก
สรุปความแตกต่างระหว่างเหล็ก “EF” กับ “IF”
เหล็ก Electrical Arc Furnace process (EF)
- สามารถควบคุมคุณภาพและค่าเคมีได้ดีกว่า
- สามารถกำจัดสารเจือปนและนำสิ่งแปลกปลอมออกจากเหล็กได้ จึงมั่นใจได้ว่าเหล็กประเภทนี้จะมีความบริสุทธิ์
- มีคุณภาพดีสม่ำเสมอในทุกล็อตการผลิต
เหล็ก Induction Furnace process (IF)
- ควบคุมคุณภาพและค่าเคมีได้ยากกว่า
- ทำการกำจัดสารเจือปนและสิ่งแปลกปลอมออกจากเหล็กได้ยาก
- ต้องพึ่งการคัดเลือกเศษเหล็กที่จะนำมาผลิต ซึ่งควบคุมและตรวจสอบได้ยาก จึงมีโอกาสที่เหล็กจะถูกเจือปนได้มากกว่าวิธี “EF” และมีโอกาสที่เหล็กจะมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอทั้งเส้น
ตารางสรุปความแตกต่างระหว่างเหล็ก “EF” กับ “IF”
และหากต้องการซื้อเหล็กมาตรฐานใหม่ ให้ระบุสเป็ค EF ของ TATA TISCON เพราะเป็นเหล็กสะอาด มีคุณภาพสม่ำเสมอ ไม่มีรูพรุน เหล็กมีความแข็งแรง ทนทาน มั่นใจได้ในคุณภาพ
คำถามที่พบบ่อย
1. จะรู้ได้อย่างไรว่าเหล็กที่ซื้อมาเป็นเหล็กประเภทไหน
เหล็กที่ผลิตหลังจากวันที่ 18 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไปในทุกโรงงาน ถูกกำหนดตาม มอก. 24-2559 ให้ต้องทำสัญลักษณ์บ่งบอกกรรมวิธีการผลิตและเตาหลอมที่ใช้บนเนื้อเหล็กทุกชิ้นถัดจากชั้นคุณภาพ
2. เหล็กที่อยู่ใน Stock เดิม จะสามารถนำมาใช้ได้ไหม
ถึงแม้ว่าจะมีประกาศการบังคับใช้ มอก. 24-2559 แต่จะบังคับใช้เฉพาะเหล็กที่ผลิตหลังวันที่ 18 มิถุนายน 2561 เท่านั้นที่ต้องเพิ่มสัญลักษณ์ “EF” หรือ “IF” ส่วนเหล็กที่ผลิตก่อนวันที่ 18 มิถุนายน 2561 ยังสามารถนำมาจำหน่ายหรือใช้งานได้ตามปกติ จนกว่าจะหมดไปจากตลาด
3. มีเหล็กยี่ห้อใดบ้างที่เป็นเหล็ก “EF”
เหล็ก TATA TISCON ทุกเส้นล้วนผ่านการหลอมโดยเตาอาร์คทั้งสิ้น ทำให้มั่นใจได้ถึงความบริสุทธิ์ ความสม่ำเสมอของค่าเคมี ช่วยให้งานก่อสร้างและโครงสร้างมีความแข็งแรงและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
4. สามารถหาซื้อเหล็ก EF ได้จากที่ไหน
หากยังไม่ทราบว่าจะหาซื้อเหล็ก “EF” ของ TATA TISCON ได้จากที่ไหน วันนี้ BUILK ขอชี้เป้าร้านค้าเหล็ก “EF” มาตรฐาน มอก.ใหม่ ทั่วประเทศไทย คลิกที่นี่
ขอราคาเหล็ก EF จาก TATA ได้จากที่นี่…คลิก
Shopping วัสดุก่อสร้างอื่นๆได้ที่นี่…คลิก
ขอบคุณข้อมูลจาก www.builk.com