เมื่อเทรนด์ของ ‘วัยผู้ใหญ่’ คือ ‘ที่อยู่อาศัย’ ที่ดีกว่า
แต่ไหนแต่ไร มนุษย์นั้นแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าเสมอ เป็นที่มาของวิทยาการและนวัตกรรมใหม่ๆที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นับตั้งแต่อดีตอันไกลโพ้นจนมาถึงปัจจุบัน ถึงแม้รูปแบบของนิยามคำว่า ‘ชีวิตที่ดีกว่า’ จะไม่ซ้ำกันเลยในแต่ละยุคสมัย แต่จุดหมายที่ขับเคลื่อนให้มนุษย์อย่างเราๆเป็นมาอยู่เสมอก็คือ ‘มนุษย์นั้นแสวงหาสิ่งที่ดีกว่า เพื่อเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม’
ยิ่งเราโตขึ้น เรายิ่งมองหาชีวิตที่ดีกว่า
สำหรับเทรนด์ด้านประชากรโลก เริ่มมีการพูดถึงประชากรกลุ่ม Active Adult มากขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยในสมัยก่อนคำว่า Active Adult นั้นเป็นคำที่ใช้จำกัดความกลุ่มประชากรที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ทำให้คำว่า Active Adult นั้นถูกมองว่าเป็นชื่อเรียกของกลุ่มประชากรสูงวัย แต่ในช่วง 2016-2018 นี้
ประชากรกลุ่ม Active Adult และ ประชากรสูงวัย (Aging Society) เริ่มมีการแบ่งแยกจากกันอย่างชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากมีความแตกต่างในด้านพฤติกรรมของประชากรอย่างชัดเจน โดยประชากรกลุ่ม Active Adult จะมีไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายมากกว่าประชากรสูงวัย ทำให้คำว่า Active Adult นั้นไม่ได้หมายความถึงประชากรสูงวัย แต่เป็นคำนิยามของ ‘ผู้ใหญ่ที่มีความ Active’ ต่างหาก เนื่องด้วย Active Adult เป็นประชากรกลุ่มที่มีความมั่นคงทางการเงินสูง อีกทั้งยังอยู่ในช่วงระยะเวลาการทำงาน ทำให้เป็นกลุ่มประชากรที่มีศักยภาพในการซื้อสินทรัพย์ที่มีราคาสูงอย่างที่อยู่อาศัยได้ ทำให้เทรนด์ด้านประชากรโลก ได้ให้ความสำคัญและจับตาดูพฤติกรรมของประชากรกลุ่ม Active Adult และพยายามเข้าถึงความต้องการเพื่อตอบสนองพฤติกรรมของประชากรกลุ่มนี้มากขึ้นผลการวิจัยเรื่อง Active Lives Adult Survey, May 17/18 Report โดย Sport England (เผยแพร่เมื่อตุลาคม 2018) ระบุว่าประชากรกลุ่ม Active Adult มีการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันทั้งแบบกลุ่มและแบบเดี่ยวเพิ่มขึ้น โดยสิ่งที่น่าสนใจจากงานวิจัยชิ้นนี้ คือพฤติกรรมของ Active Adult มีแนวโน้มที่จะสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมด้านการดูแลสุขภาพ, การออกกำลังกาย และกิจกรรมจิตอาสาแบบกลุ่มอย่างชัดเจน และเกินครึ่งของ Active Adult หรือคิดเป็นสัดส่วน 62.3% ใช้เวลาในการออกไปทำกิจกรรมข้างนอกเฉลี่ยมากกว่า 150 นาที/สัปดา์ห์ ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐานของการออกกำลังกายสำหรับประชากรทั่วไป
เมื่อมองข้อมูลงานวิจัยให้ลึกลงไปอีกก็พบว่า ประชากรกลุ่ม Active Adult สัดส่วนกว่า 62.3% หรือประมาณ 28 ล้านคน มีพฤติกรรมการทำกิจกรรมที่หลากหลาย มากกว่าจะมุ่งไปที่กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง โดยเมื่อเทียบปริมาณของกิจกรรมในระยะเวลา 28 วันระหว่างปี 2017 และ 2018 พบว่า จำนวนโดยรวมของการเข้าร่วมกิจกรรมนั้นใกล้เคียงจนแทบจะไม่แตกต่างกัน แต่มีการเพิ่มขึ้นและลดลงของแต่ละกิจกรรม เช่น กิจกรรมประเภทเดี่ยว อย่าง ว่ายน้ำ, แร็คเก็ต หรือ ปั่นจักรยาน มีจำนวนลดลง แต่กิจกรรมอย่าง จ็อกกิ้ง, การเดินป่าหรือเดินเที่ยว, กีฬาแอดเวนเจอร์ หรือ กีฬาแบบกลุ่ม มีจำนวนเพิ่มขึ้น และที่น่าสนใจคือกิจกรรมที่ประชากรกลุ่ม Active Adult นิยมมากที่สุดในช่วงปีนี้คือ กิจกรรมจิตอาสา
แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมของ Active Adult มีการใช้ชีวิตสมดุลมากขึ้น และยังสนใจการเข้าร่วมสังคมมากขึ้น เพื่อเข้าถึง คุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์ (well-being)
เทรนด์เก่าหลบไป เทรนด์ Live-Well แบบใหม่กำลังมา
เนื่องด้วยพฤติกรรมของกลุ่มดีมานด์คุณภาพอย่าง Active Adult คือการเริ่มสนใจการดูแลตัวเอง, สร้างคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น และทำกิจกรรมร่วมกับสังคมมากขึ้น ทำให้เกิดเทรนด์การพัฒนาที่อยู่อาศัยที่เน้นคุณภาพชีวิตที่สมดุล Wellness Communities โดยไม่เพียงแต่การพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดีเฉพาะบุคคลเท่านั้น แต่ยังสร้างสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ เอื้อต่อการใช้ชีวิตในทุกมิติมากขึ้น ซึ่งกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆในหลายประเทศทั่วโลก
ในด้านดีมานด์ จากรายงาน Build Well to Live Well: Wellness Lifestyle Real Estate and Communities โดย Global Wellness Institute พบว่า ผู้บริโภคโดยเฉลี่ย 38% ทั่วโลก ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มเพื่อได้อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่มี สุขภาวะที่ดีขึ้น (Healthier) โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยที่สามารถเข้าถึงกิจกรรมเชิงสุขภาพ อาทิ คลาสเรียนฟิตเนส, สตรีม, คลาสเรียนโยคะ, คลาสออกกำลังกายแบบกลุ่ม และกิจกรรมเชิงสังคมอื่นๆ เป็นต้น
ในด้านซัพพลาย จากรายงานฉบับเดียวกัน พบว่า Wellness Real Estate มีมูลค่ารวมกว่า 134 พันล้านเหรียญ หรือกว่า 4.42 ล้านล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 4.9% และเติบโตมากกว่า 7% ในทวีปอเมริกาเหนือและเอเชียแปซิฟิก โดยประเทศที่มีมูลค่าของ Wellness Real Estate สูงที่สุดและทิ้งห่างประเทศอื่นๆก็คือ อเมริกา (USA) ซึ่งมีมูลค่า 52,481 ล้านเหรียญ โดยรองลงมาคือประเทศจีน ที่มีมูลค่าของ Wellness Real Estate อยู่ที่ 19,940 ล้านเหรียญ
สำหรับใน กลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เริ่มมีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภายใต้แนวคิด Wellness Real Estate ในปี 2017 มีเพียง สิงคโปร์ มูลค่า 819 ล้านเหรียญ (อันดับที่ 18), อินโดนีเซีย มูลค่า 571 ล้านเหรียญ (อันดับที่ 23) และ เวียดนาม มูลค่า 482 ล้านเหรียญ (อันดับที่ 24)
จากเทรนด์ข้างต้นแสดงให้เห็นถึง ดีมานด์และซัพพลาย ของการอยู่อาศัยแบบ Live-Well ว่ากำลังเติบโตอย่างมาก ทำให้ แสนสิริ ที่ไม่เคยหยุดนิ่งในเรื่องการพัฒนาที่ดีที่สุดที่ส่งต่อไปสู่ผู้บริโภค ได้นำแนวคิด Wellness Communities เข้ามาใช้ในการพัฒนาโครงการ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมสำหรับที่อยู่อาศัยแบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน โดยได้เลือกทำเล กรุงเทพกรีฑา ที่มีความครบครันของ Live Activities & Good Environment ที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างสมดุลเป็นทำเลในการพัฒนาโครงการ
กรุงเทพกรีฑา ทำเลที่มีองค์ประกอบของ Wellness Communities ที่มากกว่า
ดังที่กล่าวไปช่วงต้นของบทความ ว่าองค์ประกอบของ Wellness Communities นั้นมีมากกว่าแค่เรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการ แต่ยังมีปัจจัยในด้านสิ่งแวดล้อม, สาธารณูปโภค, สาธารณูปการ, มิติด้านสังคม และสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งสำหรับทำเลกรุงเทพกรีฑา มีคุณสมบัติที่ค่อนข้างสอดคล้องกับปัจจัยดังกล่าว
ด้านการคมนาคม มีถนนกรุงเทพกรีฑาที่สามารถเชื่อมกับถนนเส้นหลักอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ถนนพระราม9, ถนนศรีนครินทร์, ถนนรามคำแหง, มอเตอร์เวย์ และ ถนนกาญจนาภิเษก นอกจากนั้นยังเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ที่ สถานีศรีกรีฑา อีกด้วย
ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ทำเลกรุงเทพกรีฑาแวดล้อมไปด้วยคอมมิวนิตี้มอลล์, ห้างสรรพสินค้า และร้านอาหาร เช่น The Park, The Nine Center, Kurve7, The Paseo Town, London Street, Tesco Lotus และ Max Value พัฒนาการ
ด้านสถาบันการศึกษา ก็มีครบครันไม่ว่าจะเป็น Brighton International College, Wellington College International Bangkok (WCIB), มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) และ โรงเรียนอุดมศึกษาพัฒนาการ สำหรับโรงพยาบาลที่ใกล้เคียง ได้แก่ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์, โรงพยาบาลปิยะเวท, โรงพยาบาลพระราม 9 และ โรงพยาบาลกรุงเทพฯ
และอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ทำเลกรุงเทพกรีฑาคือทำเลที่เหมาะสมต่อการพัฒนาโครงการแบบ Wellness Communities ก็คือ การมีสถานที่หย่อนใจมากมายที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมประเภทต่างๆ อาทิ สวนหลวง ร.9, ศูนย์กีฬาทางน้ำหนองบอน, กรุงเทพกรีฑาสปอร์ตคลับ และ Unico Grande Golf Course เป็นต้น
Wellness Residence คอนโดมิเนียมสำหรับคนรักสุขภาพจาก แสนสิริ
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีมูลค่าของ Wellness Real Estate สูงเป็นประเทศอันดับที่ 10 ของโลก โดยมีผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำอย่าง โตคิว (Tokyu Corporation) เป็นกำลังสำคัญ และเพื่อพัฒนาโครงการ Wellness Residenceให้กลายเป็นที่อยู่อาศัยที่จะเติมเต็มไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพสำหรับคนทุกวัย แสนสิริ จึงได้จับมือกับ โตคิว ในการสร้างโครงการนี้ ผนวกกับความร่วมมือจาก โรงพยาบาลสมิติเวช ผู้นำและเชี่ยวชาญด้านการรักษาสุขภาพของประเทศไทย ทำให้สามารถการันตีได้ถึงความสำเร็จของ Wellness Residence ที่จะเกิดขึ้นในฐานะ Communities ของคนรักสุขภาพที่สมบูรณ์แบบได้ไม่ยากเลยทีเดียว
สำหรับโครงการ Wellness Residence ที่กำลังพัฒนาอยู่นี้ ตั้งอยู่ในทำเลกรุงเทพกรีฑา มีการออกแบบแบบ Human-Centric ที่ครอบคลุมทั้งในเรื่องของ การรวมกลุ่มทางสังคม, ไลฟ์สไตล์, ความปลอดภัย, ความสะดวกสบาย, กิจกรรมด้านสุขภาพ รวมไปถึงบริการทางสุขภาพ โดยจะดำเนินการก่อสร้างเพื่อให้ได้การรับรองมาตรฐานแบบ WELL Certification จาก International WELL Building Institute ที่มีองค์ประกอบเพื่อสุขภาพที่ดีรอบด้านในเรื่องสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี ซึ่งเป็นการรับรองว่าเป็นสภาวะที่อยู่อาศัยที่ดีสำหรับเรา และมุ่งหวังให้โครงการนี้เป็น Wellness Communities แห่งแรกในประเทศไทย
การยกเทรนด์สุขภาพซึ่งเป็นเทรนด์ของคนยุคใหม่มาเป็นคอนเซ็ปต์หลักของโครงการ ทำให้ Wellness Residence จาก แสนสิริ เป็นที่น่าจับตามองอย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นอสังหาฯ ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรักสุขภาพที่ไม่จำกัดเพศหรืออายุ ทุกองค์ประกอบทั้งภายในและนอกโครงการ อย่างสถานที่บริเวณใกล้เคียง อาทิ สนามกีฬากรุงเทพกรีฑา ช่วยเสริมความโดดเด่นเฉพาะตัวของ Wellness Residence ให้เป็นที่อยู่อาศัยแบบ Live-Well ได้มากกว่า นั่นเพราะที่อยู่อาศัยในโลกยุคใหม่ ต้องให้มากกว่าเพียงแค่การอยู่อาศัยที่สะดวกสบายครบครัน หรืออยู่ในทำเลที่ดี แต่ยังต้องช่วยเสริมคุณภาพชีวิตในหลายๆด้าน โดยเฉพาะด้านที่สำคัญอย่างสุขภาพให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย - เทอร์ร่า บีเคเค
บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน
TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก