แม้จะผ่านเวลามากว่าหนึ่งสัปดาห์แล้ว ที่ชาวกรุงเทพมหานครต้องเผชิญกับปัญหาค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอนเกินมาตรฐาน แต่หลายเสียงพร่ำบ่นของชาวกรุงก็ยังเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ยังมองไม่เห็นการแก้ไขและจัดการปัญหาที่เป็นรูปธรรมและยอมรับได้จากรัฐบาลเท่าไรนัก โดยในครั้งนี้ TerraBKK ได้ลองค้นหาข้อมูลเมืองใหญ่ในต่างประเทศที่ต้องประสบกับปัญหาในลักษณะเดียวกัน นั่นก็คือ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งพบว่ามีมาตรการและนโยบายการแก้ไขปัญหาที่น่าสนใจเลยทีเดียว

วิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมจากการเร่งพัฒนาประเทศ

            นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมฉบับแรกของรัฐบาลเกาหลีใต้ ได้ประกาศใช้ในปี 1963 หลังจากที่ในช่วง 1960s เกาหลีใต้เป็นอีกหนึ่งประเทศที่เร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม โดยในปี 1961 เกาหลีใต้มี GDP เท่ากับ 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และภายหลังจากที่เกาลีใต้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ในปี 1996 เกาหลีใต้มี GDP สูงถึง 484 พันล้านเหรียญสหรัฐ

            และในช่วงเดียวกัน ในปี 1996 เกาหลีใต้มี GNP ต่อจำนวนรวมของประชากรสูงถึง 10,543 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า นับว่าเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่โตขึ้นแบบก้าวกระโดด

            การประสบความสำเร็จอย่างพุ่งทะยานของเกาหลีใต้ มาจากการมุ่งเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ทำให้ในปี 1997 เกาหลีใต้ต้องพบกับวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมอย่างหนักหน่วง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลกระทบมาจนถึงปัจจุบัน

PM 2.5 ปัญหาที่เจอกันถ้วนหน้า

            ไม่ได้มีเพียงแค่ประเทศไทยเราเท่านั้นที่ต้องเจอกับฝุ่นเจ้าปัญหา PM 2.5 แต่เกาหลีใต้ก็เช่นเดียวกัน โดยมีค่า PM 2.5 พุ่งสูงสุดถึง 258 เลยทีเดียว แน่นอนว่ารัฐบาลเกาหลีใต้ก็ได้ออกมาตรการเบื้องต้นสำหรับการแก้ปัญหาระยะสั้นโดยทันที โดยเริ่มต้นที่กรุงโซล ได้มีการประกาศให้ ดกิจกรรมกลางแจ้ง ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว โดยอนุญาตให้เฉพาะรถส่วนตัวที่มีทะเบียนเลขคู่ออกมาขับขี่บนถนนเท่านั้น อีกทั้งยัง ห้ามรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ดีเซลที่จดทะเบียนในปี 1999 หรือเก่ากว่านั้นออกมาวิ่งในท้องถนน และะรัฐจ่ายเงินชดเชยสูงสุด 1.65 ล้านวอน (หรือประมาณ 46,700 บาท) ส่วนรถบรรทุกที่มีน้ำหนัก 2.5 ตันขึ้นไป ได้รับเงินคันละ 1.43-9.28 ล้านวอน (หรือประมาณ 40,000-264,000 บาท) เพื่อติดตั้งอุปกรณ์กรองฝุ่นละอองจากท่อไอเสีย นอกจากนั้นยัง ดราคาค่าโดยสารขนส่งสาธารณะ ประกาศฟรีค่าโดยสารในช่วงเวลาเร่งด่วน และลดกำลังการผลิตในโรงไฟฟ้าถ่านหินลงมาอยู่ที่ 80%

ก้าวต่อไปของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

         ในระยะยาวรัฐบาลเกาหลีใต้ได้เตรียมมาตรการและนโยบายจูงใจในการลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมไว้แล้ว โดยจากที่ปัจจุบันได้ออกมาตรการให้ลดกำลังการผลิตในโรงไฟฟ้าถ่านหินมาอยู่ที่ 80% แต่ในปีหน้า รัฐบาลออกมาระบุชัดเจนว่าจะไม่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินอีกต่อไป นับเป็นมาตรการที่เด็ดขาดและกล้าได้กล้าเสียเป็นอย่างมาก

            นอกจากนั้น ยังได้ออก นโยบายเศรษฐกิจไฮโดรเจน (Hydrogen economy policy blueprint) โดยมีเนื้อหาระบุว่าจะผลักดันการผลิตรถที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้พลังงานไฮโดรเจน ซึ่งตั้งเป้าไว้ถึง 6 ล้านคันภายใน 20 ปีนี้ ซึ่งจะสามารถสร้างมูลค่าให้กับประเทศได้กว่า 43 ล้านล้านวอน โดยในปัจจุบันเกาหลีใต้มีรถพลังงานไฮโดรเจนแล้ว 4,000 คัน และจะตามมาด้วย แท็กซี่พลังงานไฮโดรเจน 80,000 คัน, รถบัส 40,000 คัน และรถบรรทุกพลังงานสะอาด 30,000 คัน

การจัดการด้านระบบขนส่งมวลชน ต้นปัญหาหลักมลภาวะ

            จะเห็นได้ว่ารัฐบาลเกาหลีใต้ค่อนข้างตระหนักและให้ความสำคัญกับระบบโครงสร้างของขนส่งสาธารณะเป็นอย่างมาก โดยหากย้อนไปหน่อยในช่วงปี 2002 ทุกคนจะรู้จักประธานาธิบดีเกาหลีใต้ที่ชื่อ ลี มยอง บัค เป็นอย่างดี จากการ ฏิรูปคลองชองเกชอน (โครงการรื้อทางด่วนเก่าเพื่อทำเป็นพื้นที่สาธารณะ) ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายสมัยที่สมัครเป็นผู้ว่าฯ กรุงโซล และเป็นผลให้ ลี มยอง บัค ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในที่สุด (อ่านเรื่องคลองชองเกชอน คลิกที่นี่) แต่ยังมีอีกหนึ่งนโยบายที่สร้างฐานคะแนนเสียงมหาศาลให้กับ ลี มยอง บัค ที่ยังไม่ค่อยมีคนทราบ นั่นก็คือ การจัดการระบบรถบัสสาธารณะในกรุงโซล

            แต่เดิมระบบรถบัสในกรุงโซลนั้นไม่ได้ผิดเพี้ยนไปจากกรุงเทพในปัจจุบันเท่าไรนัก กล่าวคือเป็นการมอบสิทธิขาดในสายรถโดยรายย่อยๆ ผ่านใบอนุญาตจาก Seoul Metropolitan Government (SMG) ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในด้านต่างๆ เช่น คุณภาพการบริการและสภาพรถที่ย่ำแย่, ผู้โดยสารต้องเสียค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อนในการต่อรถ, สายรถต่างๆมีความทับซ้อนกัน ในขณะเดียวกัน บางพื้นที่ก็ไม่มีรถบัสให้บริการ

            ลี มยอง บัค ได้ปฏิรูประบบรถบัสสาธารณะในกรุงโซลเสียใหม่ ผ่านแนวคิด 5 ด้าน ได้แก่ ส้นทางง่าย, จัดหมวดหมู่เป็น 4 สี, เปลี่ยนการคิดราคาเป็นแปรผันตามระยะทาง, ตั้งระบบตัวเลขขึ้นมาใหม่และทำระบบติดตาม GPS โดยเริ่มต้นกระบวนการปฏิรูปจากการเข้าไปมีส่วนร่วมกับประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และจัดตั้ง คณะกรรมการประชาชนเพื่อการปฏิรูปรถเมล์ ซึ่งประกอบไปด้วนส่วนของภาคประชาชน, นักวิชาการ, ภาครัฐ และเอกชน

            ภายหลังจากการจัดระบบรถบัสใหม่ ทำให้ขนส่งสาธารณะในกรุงโซลนั้นเชื่อมเป็นปึกแผ่นเดียวกัน โดยใช้ระบบตั๋วจ่ายเงิน T-money ที่ใช้ได้ทั้งกับรถบัสและรถไฟ หากต้องการเปลี่ยนสายก็ไม่ต้องเสียเงินซ้ำสองต่้อหากเดินทางภายใน 30 นาที ไม่ว่าจะเปลี่ยนจากบัสไปต่อบัส หรือบัสไปต่อรถไฟก็ตาม อีกทั้งยังคิดราคาที่รับได้จากระยะทาง โดย 10 ก.ม.แรก ค่าใช้จ่าย 1050 วอน (30 บาท) และจะในระยะทางที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ก.ม. จะเสียค่าบริการเพิ่มขึ้น 100 วอน (3 บาท)

            แต่ถึงแม้ว่าการจัดระเบียบขนส่งสาธารณะในกรุงโซลจะทำได้ดีเยี่ยม แต่เชื่อหรือไม่ว่ารัฐไม่เคยได้กำไรจากขนส่งมวลชนเหล่านี้เลย แถมยังต้องจ่ายเงินชดเชยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่กระนั้นการขาดทุนก็ดูเหมือนจะเป็นเพียงปัญหาเดียวที่เหลืออยู่ของรัฐจากการจัดระบบขนส่งมวลชน เพราะนอกเหนือไปจากนี้ รัฐสามารถจัดการแก้ปัญหาที่ตามมาหลังจากปฏิรูปใหม่ๆ ไ้ด้เสร็จสิ้นในระยะเวลาอันสั้น และที่สำคัญมากไปกว่าการขาดทุนของรัฐเพื่อกิจการสาธารณะ คือประชาชนกรุงโซลได้ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นการเดินทางภายในเมือง - เทอร์ร่า บีเคเค

บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน

TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก