ไทยตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคขนส่งลดลง 20% ภายในปี63
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในพิธีปิดโครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง(GMS)ว่าประเทศไทยได้มีมีความร่วมมือกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และสหภาพยุโรป (อียู) ในการพัฒนาการขนส่งเชิงพาณิชย์ในกลุ่ม GMS รวม 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเมียนมา โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าที่ต้องเป็นเส้นทางสีเขียวหรือกรีนโลจิสติกส์ เพื่อให้การขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกประหยัดพลังงาน โดยเป็นการพัฒนาหลักสูตรในการขับรถช่วยประหยัดพลังงานและความปลอดภัย เน้นรถบรรทุกขนส่งสินค้าวัตถุอันตราย ต้องพยายามให้ปลอดภัย
ทั้งนี้ได้เชิญผู้แทนจาก 5 ประเทศมาสรุปที่ดำเนินการร่วมกันให้เหมือนกับในยุโรปที่มีกฎเกณฑ์ร่วมกัน อาทิ เยอรมัน ฝรั่ง สเปน และอิตาลี ส่วนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเพิ่งเริ่มมีกฎกติการ่วมกัน เพราะฉะนั้นการสร้างความเข้าใจจึงจำเป็นมาก อย่างไรก็ตามตั้งเป้าลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคขนส่งลดลง 20% ภายในปี 2563 โดยเฉพาะรถบรรทุกต้องร่วมมือกันขับรถประหยัดพลังงาน และไม่บรรทุกน้ำหนักเกินสมรรถนะรถที่จะรับได้ ทั้งนี้ภาครัฐออกกฎระเบียบมาเพื่อควบคุมส่วนภาคเอกชนต้องปฎิบัติด้วย เพื่อประหยัดต้นทุนในการขนส่งด้วย
ด้านนายเปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชฑูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยกล่าวว่าจากผลดำเนินการในช่วงที่ผ่านมานั้นพบว่ากลุ่มประเทศGMS ที่เข้าร่วมนั้นสามาารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการใช้น้ำมันเฉลี่ย 16.86% คิดเป็น 7.4 ลิตร/100 กม. เมื่อคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้วสามารถลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการในแต่ละรายได้ 1.63 แสนบาท ต่อระยะทางเฉลี่ยที่ 100,000 กม./ปี ขณะที่ค่าเฉลี่ยของการลดก๊าซเรือนกระจกนั้นอยู่ที่ 169,808 กรัมคาบอนไดออกไซด์/ปี (gCO₂) สำหรับในแต่ละกลุ่มประเทศนั้นพบว่าสปป.ลาวลดปริมาณการใช้พลังงานและปล่อยก๊าซได้มากที่สุดคิดเป็น 28.18% ตามมาด้วยกัมพูชา 16.76% เมียนมา 13.25% ไทย 12.90% และเวียดนาม 11.41%
นายเปียร์ก้ากล่าวต่อว่า กลุ่มGMSมีสัดส่วนการขนส่งทางรถบรรทุกสูงถึง 70%-80% ของรูปแบบการขนส่งทั้งหมดดังนั้นโครงการนี้จึงเน้นช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยในการลดต้นทุนขนส่งควบคู่ไปกับลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ผ่านมาได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไปแล้วมากกว่า 500 คน โดยได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุน SWITCH Asia ของสหภาพยุโรป(EU)
นอกจากนี้โครงหารดังกล่าวยังสนับสนุนให้กระทรวงคมนาคมในกลุ่มชาติGMS ปรับปรุงและแก้กฎหมายการขนส่งสินค้าอันตราย ขณะนี้ไทยอยู่ระหว่างออกกฎหมายควบคุม ส่วนด้านเมียนมาได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้อง 6 ฉบับ ขณะเวียดนามกำลังทำการแก้ไขกฤษฎีกา และกัมพูชาเสนอกฎหมาย 6 มาตราเพื่อขอรัฐบาลอนุมัติบังคัยใช้ต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก www.thaipost.net