ทำไมเราต้องแก่? (ในมุมวิทยาศาสตร์)
มุมของนักวิทยาศาสตร์ ความแก่ชราไม่ใช่แค่สิ่งที่ปรากฏออกมาภายนอกเท่านั้น แต่เป็นยังเป็นสิ่งที่ซับซ้อนของการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาภายใน การเสื่อมสภาพของดีเอ็นเอ โปรตีน และเซลล์ที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ จนไม่สามารถทำงานและเติมเต็มตัวเองได้ ซึ่งงานวิจัยและแนวคิดต่าง ๆ ยังคงพยายามที่จะหาคำตอบว่าทำไมเราถึงแก่ ด้วยความหวังที่ว่าจะช่วยยืดระยะเวลาให้ชีวิตนี้ยาวนานขึ้นเท่าที่จะเป็นไปได้
ตัวอย่างเช่น 2 เหตุผล ดังต่อไปนี้ ที่มีการค้นพบว่าเป็นสาเหตุของความแก่ชรา ลองไปดูกันว่าจริงแท้แค่ไหน
เหตุผลที่ 1 Organisms Age
มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่ากลไกการซ่อมแซมดีเอ็นเอ (DNA Repairs) จะลดลงเมื่อเราอายุมากขึ้น ซึ่งโรคที่เกิดก่อนวัยชราจำนวนมากมักจะเกิดจากการบกพร่องของการซ่อมแซมดีเอ็นเอ เมื่อจีโนมถูกทำลายเซลล์ก็จะเสื่อมลงไปด้วย ตามมาด้วยการหดสั้นลงของ Telomeres หรือส่วนปลายโครโมโซมตามอายุที่มากขึ้น ในที่สุดเซลล์ก็จะค่อยๆ เสื่อมและตายในที่สุด นอกจากนี้ Telomeres ยังมีความไวต่อความเสียหายจากดีเอ็นเอ และการศึกษาในหนูพบว่า Telomeres ที่ชำรุดมีส่วนทำให้อายุขัยของหนูสั้นลง ซึ่งในมนุษย์จะมีผลกระทบคือเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้
เหตุผลที่ 2 Biological Program
นักวิจัย Steve Horvath จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส มองว่า ความชราเป็นโปรแกรมทางชีวภาพที่ถูกใส่เข้าไปในดีเอ็นเอของเรา ซึ่งได้กำหนดจุดแต่ละจุดที่เราต้องผ่านในชีวิตเอาไว้แล้ว แต่เราจะเดินถึงจุดนั้นของชีวิตตอนอายุไม่เท่ากันด้วยปัจจัยหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น คนที่มีความเครียดมากกว่าก็ย่อมถึงจุดนั้นก่อนหรือแก่ก่อนนั่นเอง ในขณะนักวิจัยคนอื่นๆ อย่าง Richard Miller จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน แอบแย้งนิดๆ ว่า แม้ว่าเราจะถูกโปรแกรมความแก่มาแล้ว แต่มันก็ไม่ใช่ระเบิดเวลาที่ระบุเอาไว้แน่นอนขนาดนั้น เพราะมนุษย์เราไม่ได้มีวงจรชีวิตแบบเจาะจงเหมือนสัตว์ขนาดนั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก www.thaihealth.or.th