ลองอ่านข่าวในต่างประเทศเหล่านี้ดูนะครับ แล้วแต่ละท่านคิดยังไงกันบ้าง

• บริษัททอมสันรอยเตอร์สื่อยักษ์ใหญ่ประกาศปลดพนักงาน 3200 ตำแหน่งทั่วโลก
• บริษัท bayer ยักษ์ใหญ่แห่งวงการยาจีนขายแบบฟอร์มพนักงานอีก 12,000 ตำแหน่งทั่วโลก
• ค่าย GMM เตรียมปิดโรงงาน และปลดพนักงานอีก 15,000 ตำแหน่งทั่วโลก


กลับมาที่ประเทศไทยนิดนึงนะครับ มีการคาดการณ์เรื่องของคนว่างงานค่อนข้างเยอะทีเดียว ผมได้อ่านข่าวทางออนไลน์ เช่น บริษัทแพนดอร่า บริษัทเจเวลรี่ยักษ์ใหญ่ เตรียมปลดพนักงาน 1,200 คนหลังจากยอดขายตกฮวบในไตรมาสที่ 1 2562 หรือมีการคาดการณ์จากกสทช.ภายหลังจากการคืนช่องทีวีดิจิตอลว่าจะมีคนตกงานเพิ่ม 1,500 คน 


รวมไปถึงค่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศไทย ในเดือนธันวาคมปีที่แล้วค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ประมาณ 79.4 หรือ ในเดือนเมษายนปีนี้มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ประมาณ 79.2 เปรียบเทียบในเดือนสิงหาคมปีที่แล้วค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ประมาณ 83.2 จะเห็นได้ว่าทั้งไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้วรวมไปถึงไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ค่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงอย่างน่าใจหาย

ยังไม่นับรวมบริษัทที่ผมได้ร่วมทำงานอยู่มีข่าวลือว่าดำเนินการปลดพนักงานที่ไม่ได้ปรากฏตามสื่ออีกหลายพันตำแหน่ง ซึ่งบริษัทที่ปลดพนักงานเหล่านั้นไม่เคยมีนโยบายการปลดพนักงานมาก่อนแม้ว่าจะเกิดวิกฤติต้มยํากุ้งในปี 40 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจในช่วงปี 2562 แต่ละบริษัทมีปัญหาหนัก ซึ่งจากการสอบถามจากเพื่อนรอบข้างที่เป็นผู้บริหาร ในหลายหมวดสินค้าต่างยอมรับว่าไตรมาสที่ 4 ปี 2561 กับไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ค่อนข้างจะเป็นช่วงวิกฤติในเชิงยอดขายเป็นอย่างมาก 

หลายคนตั้งความหวังไว้ กับการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ว่ามีเสถียรภาพและสามารถจัดการเศรษฐกิจในภาพรวมได้อย่างไรบ้าง
ซึ่งก็ยังไม่มีสัญญาณที่ดีถึงความมีเสถียรภาพ หรือแนวโน้มของการจัดตั้งรัฐบาลที่ทำให้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจดีขึ้นมาได้ ทำให้การปลดพนักงาน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อลดค่าใช้จ่ายของบริษัท


ผมตั้งข้อสังเกตว่าปัญหาเศรษฐกิจในรอบนี้อาจจะหนักและรุนแรงกว่าปี 40 เนื่องจากว่าฟองสบู่ที่แตกต่างจะไม่มีสัญญาณเตือนเหมือนเรื่องของค่าเงินบาท แต่จะเป็นฟองสบู่ที่ค่อยๆฟี้บ และแผ่วเบาลงไป
 
คำถาม เราจะเป็นผู้รอดชีวิตในช่วงระยะเวลานี้ได้อย่างไร ในฐานะนักพฤติกรรมศาสตร์ ผมเลยอยากจะฝากข้อคิดในการปรับตัวกับการบริหารงานในช่วงเวลานี้ดังต่อไปนี้
 
ประเมินศักยภาพภายในองค์กร ทั้งเรื่องของการผลิต และผลผลิตในการทำงานว่าปัจจุบันผลผลิตที่ได้ สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายภายในบริษัทมากน้อยเพียงใด ที่ผ่านมาเราได้ใช้แรงงานคุ้มค่ากับศักยภาพของเขามากน้อยเพียงใด ผมเคยเห็นบางบริษัทว่าจ้างนักศึกษาปริญญาโทเพื่อมาทำงานเอกสาร ถึงเวลาแล้วที่แต่ละองค์กรต้องประเมินว่า พนักงานในองค์กรสามารถทำได้มากกว่านั้นหรือไม่ ลองปรับลักษณะของงาน ให้ตรงกับศักยภาพหรือความสนใจของเขาอย่างแท้จริง
 
มองโลกในแง่บวก ผู้บริหารหลายคนเริ่มวิตกกังวลกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วตัดสินใจหลายๆอย่างบนพื้นฐานของความกลัว ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้กับเลวร้ายมากกว่าเดิม ลองเปลี่ยนมุมคิดว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในช่วงตกต่ำ สุดท้ายแล้วก็จะกลับมาได้อยู่ดี เพียงแต่สถานการณ์ต่างๆ อาจจะต้องตัดสินใจ อย่างระมัดระวัง มากกว่าการใช้สัญชาตญาณของผู้บริหารเพียงอย่างเดียว

Customer Centric ปัจจุบันลักษณะพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปข้างเร็ว การเข้าใจลูกค้าในแบบเดิมๆอาจจะไม่ใช่คำตอบเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งสำคัญ คือเข้าใจเขาได้อย่างรวดเร็ว แม้กระทั่งงานของผมซึ่งเกี่ยวข้องกับงานวิจัยการตลาด ในสมัยก่อนการเก็บข้อมูล 400 ชุดการรายงานผลต้องใช้เวลาหลายอาทิตย์ปัจจุบัน องค์กรผมยังต้องปรับตัวให้ลดระยะเวลาในการทำความเข้าใจลูกค้าให้เหลือเพียงไม่กี่วัน และนำเสนอให้ตรงจุด มากกว่าลูกเล่น หรือการนำเสนอที่สวยเพียงอย่างเดียว

มองหาความร่วมมือจาก partner หรือคู่แข่ง พื้นฐานของผมมักจะเชื่อว่า พนักงานภายในองค์กรจะมีจุดแข็ง รวมไปถึงประสิทธิภาพที่ยังปลดปล่อยออกมาไม่หมด ผมยกตัวอย่างพนักงานร้านกาแฟแห่งหนึ่งที่ในความเป็นจริงสามารถผลิตกาแฟได้มากกว่า 100 แก้วต่อวัน แต่ด้วยเศรษฐกิจที่ทำให้ยอดสั่งกาแฟต่อวันลดลง ทำให้พนักงานท่านนั้น ทำกาแฟได้เพียง 30 แก้วต่อวัน ด้วยหลักการเช่นนี้ แสดงว่าเรายังคงมีโอกาสในการผลิตกาแฟได้อีก 70 แก้ว ลองนึกถึงว่า partner ที่อาจจะอยู่ร้านใกล้เคียงกัน เช่น ร้านขนมปัง หรือร้านอาหารประเภท bistro ที่ยังไม่ได้มีการขายกาแฟ หรือมีการขายกาแฟที่อาจจะมีชื่อเสียงสู้เราไม่ได้ ลองเสนอการผลิตกาแฟคู่กัน ซึ่งจะไม่เป็นเพียงการเพิ่มยอดขายแต่ยังจะเป็นการเพิ่ม Channel ของกาแฟเราอีกด้วย

ประเมินสถานการณ์ตลาดอย่างต่อเนื่อง ความเคลื่อนไหว ของคู่แข่งลูกค้ารวมไปถึง Partner ต่างส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัญหาที่ผ่านมาผู้บริหารหลายท่านมักจะได้ข้อมูลที่ล่าช้า รวมไปถึงการได้รับข้อมูลที่ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง ทำให้การตัดสินใจผิดพลาด หรือล่าช้าเกินไป การปรับปรุงในส่วนของการนำเสนอข้อมูลผ่านดิจิตอลที่รวดเร็วและฉับไว หรือพัฒนาทีมงานในการตรวจสอบคุณภาพทั้งสายการผลิตหรือการตลาดจะเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจให้กับท่านได้ดีขึ้น

ลองทำ scenario ที่เลวร้ายที่สุด แนวทางสุดท้ายที่ผมอยากจะนำเสนอ ถ้าผู้บริหารลองประเมินถึงความเร็วร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้มากที่สุด ในเชิงของยอดขาย ลองตัดสินใจดูว่า ในสถานการณ์นั้น ท่านจะดำเนินการธุรกิจในลักษณะใด การปลดพนักงาน จะเป็นทางออกที่แท้จริงหรือไม่ หรือเราสามารถหาทางออก หนึ่งในสิบสี่ล้านทางที่จะทำให้เรารอดในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ได้ดีที่สุด
 
 
ขอบคุณข้อมูลจาก ดร.วสุพล ตรีโสภากุล นักพฤติกรรมศาสตร์ และนักวิจัยการตลาดอาวุโส