แม้จะมีการบ่นกันอุบเกี่ยวกับเรื่องค่าโดยสาร รถไฟฟ้า ว่ามีราคาแพงเกินไป ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้นและไม่สอดรับกับรายได้เฉลี่ยของคนกรุงเทพฯ และมีการตั้งข้อกังขาว่า รถไฟฟ้า นั้นเป็นขนส่งมวลชนที่รองรับเฉพาะกับชนชั้นกลาง แต่สำหรับในกลุ่มประชากรที่มีรายได้ต่ำ ไม่สามารถแบกรับค่าโดยสารในราคานี้ได้

            แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อย้อนมองกลับในอีกมุมหนึ่ง ขนส่งสวลชนอย่าง รถเมล์ ที่ดูเหมือนว่าจะมีค่าบริการที่สอดรับกับรายได้ของประชากรมากที่สุด ก็กลับพบว่ามีจำนวนผู้ใช้บริการลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยจากปี 2556 มีปริมาณผู้ใช้บริการ รถเมล์ ประมาณ 690,000 คน/วัน แต่ในปี 2560 กลับพบว่ามีผู้ใช้บริการเพียง 580,000 คน/วันเท่านั้น ซึ่งเท่ากับว่าปริมาณผู้ใช้บริการรถเมล์ลดลงเฉลี่ยปีละถึง 27,500 คน/วัน และในเมื่อค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพง ค่าครองชีพต่ำ แล้วคนจำนวน 27,500 คนนั้นหายไปไหน?

            ปัจจัยโดยรวมที่มีผลให้ผู้ใชับริการ รถเมล์ ลดลง คงจะไม่พ้นปัจจัยทางด้านการให้บริการ ที่ถ้าถามถึงสาเหตุ คงต้องย้อนไปที่การกำหนดราคาค่าบริการที่ทำให้ไม่สามารถสร้างผลกำไรได้ ทำให้บริษัทที่รับผิดชอบต้องตัดค่าใช้จ่าย และกลายเป็นว่าผู้ที่รับผลกระทบกลับเป็นผู้ใช้บริการไปเสียเอง

หากรถไฟฟ้าคือเส้นเลือดใหญ่ของกรุงเทพฯ รถเมล์ก็คงไม่ต่างกับเส้นเลือดฝอย ซึ่งเป็น Main-transit และ Feeder ที่ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ เพราะรถไฟฟ้าไม่ได้เข้าถึงทุกตรอกซอกซอย รถเมล์จึงเป็นส่วนช่วยสำคัญที่ขนส่งคนจากที่ตั้งไปสู่ที่หมาย เพราะฉะนั้นในเมืองที่มีคุณภาพนั้น ประชากรเมืองจะเลือกใช้บริการได้ทั้งรถไฟและรถเมล์ สิงคโปร์มีสัดส่วนผู้ใช้รถเมล์ถึง 70% ฮ่องกงมีถึง 81% และลอนดอนมีถึง 70% แต่กับกรุงเทพมหานครแล้ว กลับมาผู้ใช้บริการรถเมล์เพียงแค่ 21% เท่านั้น ซึ่งในขนส่งสาธารณะที่ใช้บริการมากที่สุดกลับเป็น มอเตอร์ไซค์รับจ้าง - เทอร์ร่า บีเคเค

ที่มา
- สถิติการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะของคนกรุงเทพฯ
- รายงานการศึกษาเรื่อง ข้อมูลผู้ใช้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ กองนโยบายและแผน กรุงเทพมหานคร
- บทความ ทำไม ขสมก. (องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ) จึงขาดทุน