“ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) คำนี้มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก เป็นแนวคิดปรัชญา ที่หมายถึง ผู้ที่โหยหาสิ่งมีชีวิต หรือ การใช้สิ่งมีชีวิตที่รวมธรรมชาติและสัตว์มาช่วยในการบำบัดความเครียดนั่นเอง ซึ่งแนวคิดนี้ในปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมสูงจากกลุ่มผู้ออกแบบอาคารสำนักงาน อาคารที่พักอาศัย ที่เหมาะสำหรับคนเมือง เพราะต้องยอมรับว่ายุคสมัยนี้ คนเรามีสภาวะความเครียดสูงทั้งจากการทำงานสภาพอากาศ รวมถึงปัจจัยเรื่องสุขภาพและโรคระบาด   

       แนวคิดนี้มาจาก Edward O. Wilson นักชีววิทยา ที่ได้เขียนหนังสือขึ้นมาในปี 1984 เป็นการนิยามปรัชยากระตุ้นใหเคนหันมาสนใจธรรมชาติที่อยู่รอบตัวมากขึ้น เปรียบเทียบให้ว่า ธรรมชาติ คือ ยารักษาโรคเครียด ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด แม้ว่าจะผ่านไปหลายทศวรรษแต่แนวคิด “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) ก็ยังคงนำมาปรับใช้ได้มาจนถึงยุคปัจจุบัน

       นายเกชา ธีระโกเมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทอีอีซี – ดีที กรีน พาวเวอร์ จำกัด หนึ่งในผู้ออกแบบอาคารตามแนวคิด “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) ให้ความเห็นว่า “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) เป็นคำนิยามแทนการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันเป็นกระแสที่กำลังมาแรง โดย “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) เป็นคำตอบของการออกแบบอย่างยั่งยืน ที่ให้ผู้อยู่อาศัยใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล จะสร้างสุขภาพที่ดี

จริง ๆ แล้ว การออกแบบการก่อสร้างอาคารแบบ “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) เป็นเทรนด์ที่สถาปนิกและวิศวกรพูดถึงกันมาโดยตลอด ในอดีตที่ผ่านมาการออกแบบก็พยายามนำ แนวคิด “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) มาปรับใช้อยู่ตลอด ทั้งการออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน การดูทิศทางลม แต่ยังไม่มีการระบุชัดเจนว่าการออกแบบอาคารนั้น ๆ ใช้แนวคิด “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) ที่แท้จริง


การออกแบบอาคารในช่วง 20 – 30 ปีก่อน

        ย้อนไปเมื่อช่วง 20 – 30 ปีก่อน สถาปนิกและวิศวกรทั่วโลก ก็มีความพยายามนำแนวคิด “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) มาปรับใช้อยู่ตลอด แต่การดีไซน์ก็ยังแยกเป็นส่วน ๆ ซึ่งอาจจะให้การออกแบบไม่ครบองค์ แต่ “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) จะเป็นการผสมผสานการเชื่อมโยงมนุษย์และธรรมชาติแบบองค์รวม ผมคิดว่า “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) ทำให้สามารถดีไซน์แบบองค์รวมได้มากกว่า ครบกว่า

ถ้าพูดถึงการนำแนวคิด “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) เข้ามาจุดประกายในประเทศไทย ก็คือ  ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ ผู้บุกเบิกแนวทางการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานรุ่นแรก ๆ ของประเทศไทย และพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบบ้านและอาคารอัจฉริยะ ที่เหมาะสมกับประเทศไทยอีกมากมาย ซึ่งในช่วงนั้นแนวคิด “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) ถือเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งผมเองได้มีส่วนร่วมกับโครงการอนุรักษ์พลังงานกับ ศ.ดร.สุนทร มาตั้งแต่ที่ท่านกลับมาจากอเมริกาหลายโครงการ

        เมื่อ 20 ปีที่แล้ว การออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน  ในแนวคิด “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) เป็นเรื่องที่คนสมัยนั้นยังมองว่า โลกร้อนยังเป็นเรื่องที่ไกลตัว การประหยัดพลังงานเป็นเรื่องของจิตสำนึก ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้  แต่ถ้าเทียบกับปัจจุบันนี้ภาพเริ่มเปลี่ยนไป ภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก เป็นเรื่องที่คนตระหนักรู้มากขึ้นกว่าอดีตเยอะ และสมัยนี้ก็ออกแบบอาคารที่คำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงานกันมากขึ้น ถ้าเทียบกับเมื่อ 20 ที่แล้ว การชักจูงให้ลูกค้าออกแบบอาคารที่ประหยัดพลังงานเป็นเรื่องที่เหนื่อยมาก  เพราะคนส่วนใหญ่กังวลเรื่องความคุ้มค่ากันมากกว่า การประหยัดพลังงาน  

ตัวอย่างการออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน ในแนวคิด “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) ที่ผ่านมา

         ผมอยากจะยกตัวอย่าง อาคารศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ซึ่งมีการก่อสร้างเมื่อ 15 ปีก่อน เป็นมิติใหม่ของการออกแบบอาคารราชการ ที่ตามปกติแล้วอาคารของหน่วยงานราชการจะมีค่าการใช้พลังงานมากกว่าอาคารเอกชนทั่วไป และคุณภาพอาคารก็ไม่ดีเท่าที่ควร แต่ที่อาคารศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ถือเป็นการออกแบบอาคาร รุ่นใหม่ สมัยใหม่ มิติใหม่ของอาคารราชการ ที่มีการใช้งานได้ 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน

มาจนถึงปัจจุบันนี้ อาคารศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ก็ยังถือว่าเป็นอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ที่มีการใช้งานได้ 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน ที่ใช้พลังงานได้ต่ำที่สุดในประเทศไทย และคุณภาพอาคารสูงกว่าอาคารสำนักงานราชการทั่วไป ทั้งการใช้งาน รวมถึงคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ดีที่สุดในประเทศไทย

การออกแบบอาคารศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ถือว่าเป็นระบบที่ทันสมัยตั้งแต่ 15 ปีที่แล้ว มาจนถึงทุกวันนี้ โดยระบบที่สำคัญที่ทำให้อากาศภายใน อาคารศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะดีมาก คือ ระบบการเติมอากาศ ที่มีการกรองอากาศและควบคุมความชื้นให้แห้ง นำอากาศที่สะอาด อุณหภูมิที่เหมาะสมเข้ามาเติม ซึ่งจะเป็นตัวที่ทำให้สามารถคุมภายในอาคารได้ดี รวมถึงภายในอาคารศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ จะมีโถงใหญ่ตรงกลาง ซึ่งมีพื้นที่ถึง 20,000 ตร.ม. ถือว่าใหญ่มาก และมีความต่างจากศูนย์แสดงสินค้าขนาดใหญ่อื่น ๆ เพราะที่ อาคารศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ จะไม่เห็นเครื่องแอร์ ไม่เห็นท่อลม แต่มีอากาศเย็นที่ออกมาสม่ำเสมอ ทุกตารางเมตร เพราะใช้ระบบทำความเย็นที่คุณภาพสูง

วิวัฒนาการ การออกแบบในแนวคิด “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) จากเมื่อ 15 ปีก่อน

       ต้องบอกว่า ก่อนการจะสร้างโครงการหรืออาคารสักหนึ่งอาคารนั้น ในแนวคิด “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia)  จำเป็นจะต้องกำหนดปรัชญา ว่าควรจะมีธีมอย่างไร ที่เป็นเป้าหมายที่แท้จริง  ส่วนความคุ้มค่าของการลงทุน ได้จัดให้ป็นเรื่องของกระบวนการดำเนินการ ยกตัวอย่างของโครงการ “เดอะ ฟอเรสเทียส์” (The Forestias)  ของ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC)  ที่ตั้งใจพัฒนาโครงการต้นแบบแห่งใหม่ของโลกในการพัฒนาเมืองในป่า  บนที่ดินกว่า 398 ไร่ ซึ่งผมได้กำหนดธีมการออกแบบที่สอดคล้อง ผมเลยคิดว่าเราจะต้องออกแบบให้โครงการมีคุณค่ามากกว่าป่าทั่วไป จึงออกมาเป็นธีม “ยกเขาใหญ่มาไว้กรุงเทพฯ” เพราะคิดว่าจะดีมากถ้ายกเขาใหญ่มาไว้ที่ บางนา กม. 7 ได้ และคนที่มาใช้ชีวิตใน โครงการ “เดอะ ฟอเรสเทียส์” ก็จะเหมือนมีบ้านในเขาใหญ่ได้ทุกวัน ซึ่งเขาใหญ่มีมนต์เสน่ห์ ที่ดึงดูดคนเข้าไปท่องเที่ยวหลายอย่าง

        แม้ว่าในโครงการ “เดอะ ฟอเรสเทียส์” จะไม่สามารถนำทั้งหมดของเขาใหญ่มาได้ แต่การออกแบบจะดึงเอาบรรยากาศ ความเย็น บ่อน้ำ มาเติมเต็มให้ธรรมชาติในป่าของ “เดอะ ฟอเรสเทียส์” มีอากาศที่สดชื่นสบาย เช้ามีหมอก ใกล้เคียงกับเขาใหญ่ ขณะเดียวกันภายในโครงการ “เดอะ ฟอเรสเทียส์”  ก็ยังมีการสร้างบรรยากาศอื่นๆ ที่เขาใหญ่ยังไม่มีเพิ่มเข้าไปด้วย  โดยรวมก็มองว่ามีการออกแบบได้ดี ดำเนินการก่อสร้างได้ดี ทำให้โครงการ “เดอะ ฟอเรสเทียส์” ก็จะเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ลูกบ้านใช้ประโยชน์อยู่อาศัย จะรู้สึกมีความสุข จากบรรยากาศเขาใหญ่และมีความสะดวกพร้อมรองรับการใช้ชีวิตของลูกบ้านมากกว่าเขาใหญ่ได้  และยังสะดวกด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกเพียบพร้อม

        สำหรับการออกแบบให้อาคารที่พักอาศัย ทั้งบ้าน คอนโดฯ ให้การอยู่อาศัยเชื่อมโยงกับธรรมชาติใน “เดอะ ฟอเรสเทียส์”  ผมได้พยายามคิดให้ระบบรองรับ ลดข้อจำกัดให้คนที่จะออกมาใช้ชีวิตนอกอาคาร ซึ่งมีความแตกต่างจากโครงการอื่นทั่วไปที่การออกแบบพื้นที่ทำให้มนุษย์แยกตัวเองออกจากส่วนของในอาคารและนอกอาคาร  ซึ่งการออกแบบ แบบนี้เป็นข้อจำกัด ซึ่งทำให้การออกแบบไม่เป็น “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) เท่าที่ควร ดังนั้นจึงต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้คนมีโอกาสเข้าไปอยู่ในธรรมชาติได้มากขึ้น เช่น บ้าน ก็ดีไซน์ให้พื้นที่ใช้สอยในบ้านกับพื้นที่สวนสามารถเชื่อมต่อแบบฟรีสไตล์ เชื่อมโยงกันได้แบบไร้ข้อจำกัด รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมให้นอกบ้านในบ้าน มีความสบายเท่าๆ กันและอุณหภูมิ ที่ทำให้คนอยู่อาศัยไม่ป่วย อยากให้คนอาศัยอยู่แบบคนสมัยก่อนที่ไม่ต้องต้องแอร์ จึงสร้างสภาพแวดล้อมให้อากาศเย็นสบายที่สุด

       ส่วนคอนโดฯ อาคารสูง ที่โครงการ “เดอะ ฟอเรสเทียส์” มี “ระบบดิสทริค คูลลิ่งซิสเต็ม” ซึ่งทำให้ภายในอาคารไม่มีเครื่องระบายความร้อนของเครื่องปรับอากาศ โดยความเย็นของอากาศจะมาจากท่อส่วนกลางที่อยู่ในอุโมงค์ ระบบสาธารณูปโภค ซึ่งอยู่ส่วนด้านหน้าของโครงการ ส่งผ่านท่อมายังอาคารคอนโดฯ บ้าน ช่วยให้สภาพแวดล้อมโดยรวมเย็นลงได้มาก จากการลดการปล่อยความร้อนจากคอมเพลสเซอร์

สำหรับ ระบบดิสทริค คูลลิ่งซิสเต็ม ซึ่งเป็นระบบทำความเย็นหลัก ภายในโครงการ “เดอะ ฟอเรสเทียส์” เป็นระบบอุตสาหกรรม  ที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับอุตสาหกรรม มีระบบสำรอง อาทิ ถังสำรองน้ำเย็น เครื่องกำเนิดสำรองไฟฟ้า เพราะระบบดิสทริค คูลลิ่งซิสเต็ม ให้บริการครอบคลุมทุกอาคารภายในโครงการ  “เดอะ ฟอเรสเทียส์” รวมถึง โรงพยาบาลหน้าโครงการด้วย ดังนั้นระบบนี้จึงสามารถรองรับการใช้งานได้สม่ำเสมอ และไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาไฟฟ้าดับ 

“ถือว่าโครงการ “เดอะ ฟอเรสเทียส์” เป็นโครงการมิกซ์ยูส ขนาดใหญ่ที่ใช้แนวคิด “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) อย่างเต็มรูปแบบโครงการแรกของประเทศไทย โดยการออกแบบมีเป้าหมาย ต้องการให้คนที่เข้าไปอยู่อาศัยหรือเข้าไปใช้ประโยชน์ใน โครงการ “เดอะ ฟอเรสเทียส์” จะเสียค่าใช้จ่ายด้านพลังงานน้อยกว่าที่เคยใช้จ่าย จากการออกแบบอาคารที่ประหยัดพลังงาน และลดการใช้พลังงานลดลง ทำให้ลูกค้าใน โครงการ “เดอะ ฟอเรสเทียส์” ที่จะต้องจ่ายค่าพลังงานรวมถึงค่าส่วนกลางต่าง ๆ เมื่อเทียบแล้วจะจ่ายน้อยกว่าโครงการทั่วไป”

 

“EEC Academy” อาคารประหยัดพลังงานต้นแบบ ที่ครบองค์ในแนวคิด “ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia)

         นอกจากอาคารสำนักงาน รวมถึงโครงการที่พักอาศัยขนาดใหญ่แล้ว คุณเกชา ยังให้ความสำคัญกับพื้นที่สำนักงานของตัวเอง จากเดิมที่เคยเช่าพื้นที่สำนักงานในอาคารใจกลาง New CBD  จนมาริเริ่มก่อสร้าง “EEC Academy” อาคารสำนักงานของบริษัทเอง เพราะเห็นว่า เมื่อถึงเวลาที่บริษัทมีการเติบโตอย่างเข้มแข็งแล้ว จากที่เคยเช่าก็ควรจะริเริ่มมีอาคารของตัวเอง โดยบริษัทอีอีซี เป็นบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา ประกอบกิจการมาแล้วกว่า 44 ปี ที่ผ่านมาได้ออกแบบสร้างอาคารสำนักงานมาจำนวนมาก ดังนั้นการสร้าง “EEC Academy” อาคารสำนักงานของบริษัทเอง จะทำให้สามารถบริหารจัดการได้ดี สร้างเป็นอาคารตัวอย่างให้ลูกค้าได้เห็นการออกแบบก่อสร้างอาคารประหยัดพลังงาน

        ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทอีอีซี ได้แนะนำลูกค้าที่จะก่อสร้างอาคารให้เป็นอาคารเขียวประหยัดพลังงานมาโดยตลอด แต่ก็เกิดคำถามย้อนกลับจากลูกค้าว่าบริษัทที่ปรึกษา ได้เคยสร้างอาคารประหยัดพลังงานของตนเองหรือไม่ ผมจึงมาสร้างอาคารของตัวเอง พร้อมสร้างหลายๆอย่างที่ควรต้องทำ ภายใต้งบของบริษัทที่ใช้อย่างพอเหมาะ ทั้งการติดตั้งฉนวนกันความร้อน อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน แสดงให้เห็นว่าแม้บริษัทอีอีซีจะเป็นบริษัทที่มีขนาดเล็ก แต่ก็มีการติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในการแนะนำ ให้คำปรึกษาบริษัทอื่น ๆให้ทำตามสร้างความน่าเชื่อถือให้ลูกค้าได้มากขึ้น และอาคารหลังนี้ ก็ยังเป็นห้องทดลอง ทดสอบ สำหรับบริษัททำให้เกิดสินค้าใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ที่ดีกว่าเดิม เพื่อนำไปแนะนำให้ลูกค้าใช้สินค้าคุณภาพดี ราคาถูกกว่าเดิม มีตัวเลือกจากสินค้าในตลาดอื่น ๆ ทั่วไป

ซึ่งภายในอาคารสำนักงาน บริษัทอีอีซี มีการวางระบบภายในอาคาร ให้สอดรับกับเป้าหมายที่ต้องการเพิ่มผลผลิตที่มากกว่าพื้นที่เช่าเดิม ซึ่งอาคารหลังนี้พร้อมรองรับการทำงาน 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน โดยมีอากาศและแสงเพียงพอต่อการทำงาน สร้างอากาศที่ดี ทำให้สุขภาพคนทำงานดีขึ้น เพิ่มศักยภาพการทำงานของคนทำงานได้ดีขึ้น  นอกจากนี้ในอาคารยังมีปล่องหน้าอาคาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการออกแบบเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกอาคารให้เชื่อมต่อกัน โดยมีการปลูกต้นไม้เพื่อสร้างออกซิเจน หมุนเวียน ช่วยดักจับฝุ่นละอองจากภายนอก เพื่อนำอากาศบริสุทธิ์เข้าสู่ตัวอาคาร ปัจจุบัน “EEC Academy” มีทั้งหมด 2 อาคาร โดยีการออกแบบก่อสร้างที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สะท้อนการใช้งานที่หลายแต่ยังคงประหยัดพลังงาน

 

การสร้างอาคารสำนักงานประหยัดพลังงานที่มีมาตรฐาน ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ซึ่งการก่อสร้างอาคารของ บริษัทอีอีซี หลังนี้ ค่าก่อสร้างเฉลี่ย 32,000 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งเป็นราคาก่อสร้างที่ไม่ได้สูงกว่าการก่อสร้างอาคารทั่วไป และยังเพิ่มมาตรฐานการประหยัดพลังงานสูงกว่าอาคารทั่วไปอีกด้วย โดยปัจจุบันอาคารหลังนี้ เสียค่าใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าอาคารทั่วไปกว่าครึ่งหนึ่ง ขณะที่การใช้งานตลอดทั้งวัน

“ไบโอฟิลเลีย” (Biophilia) แนวคิดในการออกแบบอาคารสำนักงาน ที่จะช่วยให้จิตใจของมนุษย์เชื่อมต่อกับธรรมชาติ ผ่อนคลาย เพื่อสร้างสมดุลของจิตใจ ทำให้คนทำงานรู้สึกอยากมาทำงานที่สำนักงานมากขึ้น เสมือนบ้านหลังที่ 2 ที่มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ สบาย เพื่อสร้างงานที่มีคุณภาพ สร้างสุขภาพคนทำงานให้แข็งแรง เพราะเมื่อคนเย็นลง ธรรมชาติของโลกก็เย็นลงตามไปด้วย”

ขอขอบคุณ : คุณเกชา ธีระโกเมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทอีอีซี – ดีที กรีน พาวเวอร์ จำกัด