แนวทางการปรับตัวของนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในวิกฤต Covid-19 ระบาด เพื่อเดินหน้าสู่ไตรมาส 2 ต่อไปได้
ไตรมาส 2 ประมาณการยอดขายจะลดลงจากไตรมาส 1 อีก 50% ในภาพรวม แล้วจะทำอย่างไรต่อไป เมื่อธุรกิจต้องเดินหน้าให้ได้ !!
การซื้อที่อยู่อาศัย เรียกได้ว่าเป็น Natural Demand คือเมื่อมีอัตราการเกิดใหม่ หรือเมื่อสถานทางสังคมเปลี่ยน ก็ต้องคิดที่จะเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย หากดูในสภาวะขณะนี้เกิดวิกฤต Covid-19 ก็เกิดทั้งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเชิงลบคือธุรกิจย่ำแย่ และเชิงบวก คือธุรกิจรุ่งเรือง ในส่วนของภาพใหญ่ธุรกิจขายบ้านได้รับผลกระทบเชิงลบในภาพรวม แต่หากว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังตั้งอยู่กับคำว่า Location is the King และในช่วงที่วิกฤติที่สุด Cash is the King แนวทางการปรับตัว ที่บริษัทต่างๆ เลือกทำอยู่ ณ ขณะนี้ คือ
- ปรับขนาดองค์กรใหม่ ตัดหน่วยธุรกิจ (Business unit) ลดกำลังคน ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ออกไปก่อน
- ลดราคาขาย เพื่อระบายสต๊อกสร้างกระแสเงินสด
- ขายที่ดินทิ้ง หรือขายโครงการทิ้งเพื่อลดภาระหนี้สิน
- ควบรวมกิจการซึ่งจะสามารถช่วยได้ทั้งแหล่งเงินทุน และกำลังคน
- เสนอขายสินค้าให้กับกลุ่มซัพพลายเออร์ แบบการันตีผลตอบแทน (เรียกว่าซื้อใจกัน)
ในส่วนของคำแนะนำคือ ในวิกฤตครั้งนี้ให้มองหาโอกาสจากกลุ่มธุรกิจผู้รุ่งเรือง ภายหลังซบเซามานาน เช่น กลุ่มพลาสติกบรรจุภัณฑ์อาหาร ,กลุ่มเวชภัณฑ์ อนามัย, กลุ่มประกันภัย ทั้ง ชีวิต สุขภาพและวินาศภัย และกลุ่มโลจิสติกขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค โดยปรับกลยุทธ์ใหม่หมด ดังนี้
- มองหาทำเลใหม่ กลุ่มลูกค้าใหม่ ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ผลประโยชน์จาก Covid-19
- ปรับผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้ได้ราคาที่เหมาะสม ตามกำลังซื้อที่แท้จริงของคนในทำเลนั้นๆ
- ปรับกลยุทธ์การสร้างตราสินค้าใหม่ เพราะความกังวลเรื่องสุขภาพ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม จะรุนแรงขึ้น
- เพิ่มช่องทางการขายผ่านสื่อออนไลน์ หรือกับมาขายแบบขายตรง ออกบูธ โรดโชว์ตามบริษัท โรงงาน แทนที่ห้างสรรพสินค้า หรือรอการขายที่สำนักงานขายเพียงอย่างเดียว
ท้ายสุด หลายประเทศประเมิณสถานการณ์ว่าอย่างเร็วสิงหาคมปีนี้ อย่างดีธันวาคมปีนี้ และเลวร้ายที่สุดคือสิ้นสุดธันวาคม ปี 2564 ...ดังนั้นไตรมาส 2 ปีนี้ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทุกเจ้าจึงต้องหาทางรอด ทางออก ของตนเองให้ได้ เพื่อจะได้อยู่รอด และพร้อมรับสถานการณ์ ที่จะลากยาวไปต่อ ถึงธันวาคม 2564