นายธนากร มนูญผล ผู้บริหารที่ปรึกษาการลงทุนและผลิตภัณฑ์ธนบดีธนกิจ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความเห็นว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยังคงส่งผลกระทบต่อภาพรวมการลงทุนทั่วโลก ซึ่งนับเป็นวิกฤตการณ์ครั้งประวัติศาสตร์เลยทีเดียว หากเทียบกลับไปเมื่อปี วิกฤตทางการเงินในประเทศสหรัฐฯ (Subprime Mortgage Crisis) ทำให้ช่วงจุดต่ำสุด 6 เดือนของตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีวันที่ตลาดปรับตัวลดลงมากกว่า 9% เพียง 1 วันเท่านั้น

ในขณะที่วิกฤตการณ์ไวรัส COVID-19 เพียงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวแต่ละวันมากกว่า 9% ถึง 3 ครั้ง และนับตั้งแต่ต้นปีปรับตัวลดลงมากกว่า 30% จนต้องใช้มาตรการหยุดซื้อขายหุ้นชั่วคราว (Circuit Breaker) ถึง 4 ครั้ง เช่นเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลก รวมไปถึง ตลาดตราสารหนี้ น้ำมัน ทองคำ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน นักลงทุนเทขายสินทรัพย์ออกมามาก เพื่อถือครองเงินสด ซึ่งความผันผวนที่เราเจออยู่นี้ สูงที่สุดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

สำหรับความร้ายแรงของวิกฤตครั้งนี้ ส่งผลให้ธนาคารกลางหลายประเทศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเพื่อประคองเศรษฐกิจอย่างหนัก รวมถึงประเทศไทยด้วย แต่วิกฤตครั้งนี้ไม่ได้เหมือน Financial Crisis หลายๆ ครั้งที่ผ่านมาที่เกิดจาก Financial Sector เป็นหลัก แต่ครั้งนี้ปัญหาหลักจะเริ่มที่ Business Activity ที่ได้รับผลกระกล่าวคือ ประชาชนไม่ออกมาจับจ่ายใช้สอย การดำเนินธุรกิจของภาคธุรกิจหยุดชะงักลง ตัวเลขการบริโภค การลงทุนตกต่ำลง ซึ่งสุดท้ายจะส่งผลต่อผลประกอบการของธุรกิจแน่นอน โดยก่อนเกิดวิกฤต Covid 19 นี้ SET Index Earning Forecast ก็ได้ปรับลดลงไปแล้วกว่า 7% จากปัจจัยค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้ว และภาคการบริโภคที่ยังไม่แข็งแรง อีกทั้งราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงที่ระดับ 24 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ต่ำสุดเมื่อเทียบกับปี 2016 ซึ่งจะกระทบต่อ Sector ใหญ่ที่สุดของ SET Index อย่าง Energy Sector ดังนั้นผลกระทบจริงๆ เรายังคงประเมินได้ยาก หากสถานการณ์การระบาดยังไม่สิ้นสุด

ไพรเวทแบงก์กิ้ง ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) คาดการณ์วิกฤตินี้จะถึงจุดต่ำสุดในช่วงสิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2020 โดยประเมินจากจุดที่การระบาดน่าจะถึงจุดสูงสุดในฝั่ง USA และ EU จึงขอแบ่งกลยุทธ์การลงทุนออกเป็น 2 ช่วงสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง คือ

1.ในช่วงก่อนถึงจุดต่ำสุด Pre-Bottom แนะนำถือเงินสด 40-50% หุ้นและตราสารหนี้อย่างละ 15% ทองคำ 10% และ REITs/Infrastructure Fund 10% สำหรับโอกาสการลงทุนในช่วงวิกฤตินี้ ดัชนี SET Index ปัจจุบันระดับประมาณ 1,100 จุด เรามองแนวรับสำคัญที่ระดับ 860-940 จุด ดังนั้นเราเข้าใกล้จุดการลงทุนเพื่อระยะยาว สอดคล้องกับทางรัฐบาลมีการเพิ่มกองทุน SSF พิเศษ ซึ่งการลงทุนในช่วง ถือว่ามีโอกาสได้ต้นทุนที่ดีที่สุดในรอบ 8 ปี ในส่วนหุ้นกู้ยังมีความน่าสนใจ แต่อาจจะเจอความเสี่ยงที่ดอกเบี้ยอาจจะกลับมาเป็นขาขึ้นหากจบช่วงดอกเบี้ยระดับต่ำอย่างยาวนาน จึงแนะนำคัดเลือก เฉพาะบริษัทที่มีสถานะทางการเงินแข็งแกร่ง ไม่ได้พึ่งพาการ Roll Over ของการออกหุ้นกู้มากนัก
การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ในส่วนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรมยังมีความน่าสนใจ เนื่องจากราคาปรับตัวลงมามาก ทำให้มีผลตอบแทนที่มีส่วนต่างเมื่อเทียบกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสูงสุดในรอบ 15 ปี

2. เมื่อพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว คือหลังไตรมาสที่สอง เราเชื่อว่าจะค่อยๆเข้าสู่ยุคดอกเบี้ยขาขึ้น ผลจากการกระตุ้นการคลังที่ตามมาด้วย Supply หนี้จะสูงขึ้นจากหลายประเทศจะดันให้ อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และอาจจะได้เห็นเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ช่วงนี้เราจะมองเป็นโอกาสเข้าลงทุนหุ้นอีกครั้ง ซึ่งเรามองการกระจายระดับ 40% - 50% ของพอร์ตการลงทุนเลยทีเดียว