จัดทัพการประชุมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด!
วันนี้ทาง Terrabkk จะมาสรุปเนื้อหาจาก Connect The Dots Podcast ซึ่งเป็นประสบการณ์จริงของคุณภัทร ภัทรธราดล ในเรื่องการจัดการประชุมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งหลังจากที่เข้าใจ Target group กับการศึกษาข้อมูลคู่แข่งและการพัฒนา product ไปแล้ว จากนั้นจะต้องมีการประชุมเพื่อพัฒนาโครงการ โดยในการประชุมครั้งแรกนั้นจะเป็นครั้งที่สำคัญที่สุด เพราะว่าจะเป็นการประชุมที่ทำให้คนจากทีมต่างๆ เข้ามาอยู่รวมกันและเห็นภาพเดียวกันทั้ง Direction และแนวทางในการพัฒนาโครงการจะเป็นไปอย่างไร โดยการประชุมครั้งแรกจะเรียกว่า "Kick Off Meeting" ในการประชุมจะแบ่งเป็น 3 ทีม คือ
1.) ทีมเจ้าของโครงการ โดยผู้ที่เข้าร่วมประชุมจะขึ้นอยู่กับขนาดบริษัท ทั้ง CEO, MD (Managing Director) , SBU (Strategic Business Unit) รวมถึง Marketing Team จะเป็นส่วนที่รู้เรื่องเกี่ยวกับโครงการมากที่สุด รู้รายละเอียดของโครงการจากการศึกษา Product และ Target group
Sale ซึ่งเป็นตัวแทนของลูกค้า จากการที่พบปะกับลูกค้าบ่อยที่สุด จะทำให้เข้าใจและรู้ความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง
Product Development เป็นตัวกลางระหว่าง Marketing กับทีมผู้ออกแบบ เป็นสถาปนิกประจำทีม ช่วยให้การประสานงานในการพัฒนาแบบให้ราบรื่นมากขึ้น
Project Management เป็นผู้ประสานงานระหว่าง Designer กับผู้รับเหมา อีกทั้งยังคอยประสานงานกับ CM (Construction Management)
2.) ทีม Designer จะประกอบด้วย สถาปนิก, Interior และ Landscape Design โดยสถาปนิกจะเป็นทีมหลักในการออกแบบ เป็นผู้วาง skim หรือ Option ต่างๆ ในการวางอาคาร วางผังโครงการหรือวาง design หลักๆ ในบางครั้งสถาปนิกได้โปรแกรมมาจาก Marketing ก็ได้ทำการวาง skim หรือการเพิ่ม efficiency หรือพื้นที่การขายให้มากเพียงพอ รวมถึงมีเรื่องกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องในการออกแบบ ทำให้การออกแบบค่อนข้างซับซ้อนซึ่งทางสถาปนิกจะต้องออกแบบและคอยประสานงานกับฝ่ายต่างๆมากมาย และอีกสิ่งที่สำคัญก็คือสถาปนิกต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องกฎหมายผังเมือง กฎหมายอาคารและกฎหมายอื่นๆ เพื่อให้ไม่มีปัญหากับการอนุญาตก่อสร้างโครงการ
ทีม Interior หรือทีมออกแบบตกแต่งภายใน มีความสำคัญมากเพราะเป็นการออกแบบ เป็นพื้นที่ที่ใกล้ชิดกับลูกค้ามากที่สุด หาก Interior สามารถออกแบบพื้นที่ให้ตอบสนองต่อ charactor ของลูกค้าหรือ Target group นั้นๆได้ จะทำให้ลูกค้ามีความต้องการในการซื้อสินค้าสูงขึ้น ทำให้ impact ของโครงการเราต่อลูกค้ามีเพิ่มขึ้น
และสุดท้ายทีม Landscape Design เป็นส่วนที่จะสามารถผลักดันให้โครงการมีความโดดเด่นได้ การที่ทีม Designer มารวมตัวกันและทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี จะทำให้ดีไซน์มีความน่าสนใจมากขึ้น อย่างเช่น Landscape อยากออกแบบสวนเข้าไปในโครงการ หรือ สถาปนิก กับ Interior มีการออกแบบตึกให้แทรกออกมาที่สวน หรือแม้แต่การออกแบบสวนและการออกแบบภายในให้เชื่อมต่อกับสถาปัตยกรรม จะเป็นการสร้าง charactor และสร้างความน่าสนใจให้กับตัวโครงการ
3.) ทีม Support เริ่มจาก Construction Management เป็นผู้ดำเนินการการประชุมรวมถึงการดูแลควบคุมแผนการก่อสร้าง ทีมวิศวกรโครงสร้างที่คอยทำงานร่วมกันกับสถาปนิก วิศวกรงานระบบต่างๆภายในโครงการ ทั้งระบบไฟฟ้า ระบบน้ำ ระบบแอร์ ฯ ซึ่งมีความสำคัญมากกับการออกแบบ โดยเฉพาะตึกสูงยิ่งมีความสำคัญอย่างมาก
ทีม EIA หรือที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมซึ่งมีกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆในการทำ EIA นอกจากนี้จะมีอีก 2 ทีมที่มีความสำคัญเมื่อมีการพัฒนาโครงการแล้วเสร็จไปประมาณ 80 % ซึ่งก็คือ ทีม Aftersales ซึ่งจะเข้ามาดูว่าโครงการที่เราออกแบบ เมื่อลูกค้าเข้ามาอยู่แล้ว มีการแจ้งซ่อมและวิธีการเข้าไปซ่อมมีความยากง่ายมากน้อยเท่าไหร่ โดยการออกแบบต้องง่ายต่อการเข้าไปซ่อมและง่ายต่อการอยู่อาศัย
ทีม Project Management ดูแลอาคารหลังจากที่ลูกค้าเข้ามาอยู่ เช่น การเข้า-ออกโครงการ วิธีการเดินรถ ฯลฯ ต้องเพิ่มอุปกรณ์อย่างไรเพื่อให้การอยู่อาศัยของลูกค้าในโครงการมีความสะดวกสบายและปลอดภัย รวมถึงการนำ Applications มาเชื่อมต่อกับ facility ภายในโครงการ เช่น co-working space, hometheater ที่ให้ลูกค้าสามารถจองและจัดตารางการใช้งานเพื่อลดความซับซ้อนได้
จากที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นประสบการณ์ส่วนตัวที่นำมาแบ่งปัน สำหรับบริษัทที่มีขนาดเล็กสามารถนำหลักเหล่านี้ไปใช้ได้ แม้จะไม่ได้มีทีมเยอะแต่ก็สามารถสวมบทบาทและมองในมุมของทีมต่างๆได้ ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาโครงการเป็นไปได้ดียิ่งขึ้่น
สามารถติดตาม
ตอนที่ 1 ก้าวสู่โลกอสังหาริมทรัพย์ ยอดขายมา เมื่อลูกค้าชัด!(Click)
ตอนที่ 2 วิธีคิดโครงการแบบ “รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง!!!”(Click)