อ่านบทความฉบับภาษาอังกฤษ >>> คลิก

ย้อนกลับไปเมื่อแรกเริ่มวิกฤตโควิด 19 ในประเทศไทย ในเวลานั้นไม่มีใครคาดคิดว่าประเทศไทยจะสามารถใช้เวลาเพียงแค่ 2 เดือน จากการเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อโควิด 19 สูงเป็นอันดับสองของโลก ลงมาสู่ลำดับที่ 59 และสามารถคุมสถานการณ์โควิด 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเช่นทุกวันนี้ 

ในวันนี้ ประเทศไทยได้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงต่อโควิด 19 น้อยเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นประเทศที่ได้รับการยอบรับและยกย่องจากนานาประเทศ ถึงความมีประสิทธิภาพในการจัดการกับวิกฤตโควิด 19 

 

ประเทศไทยสามารถรับมือวิกฤตนี้ได้อย่างไร? ซึ่งก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องนั้น เรามาย้อนดูลำดับเหตุการณ์สำคัญในช่วงวิกฤตโควิด 19 ในประเทศไทย กันอีกครั้ง 

มกราคม 2563 ประเทศไทยได้รับนักท่องเที่ยวชาวจีนเข้าประเทศมา 1,030,148 คน หลังจากนั้นไม่นานไทยเป็นประเทศแรก (ไม่รวมจีน) ที่มีรายงานว่าพบผู้ติดโควิด 19 และเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากเป็นอันดับ 2 รองจากจีนทางรัฐบาลได้ยกระดับยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินเป็นระดับ 3 เพื่อเตรียมรับมือกับการระบาดโควิด 19 ครั้งใหญ่นี้

Please help us by participating in this questionnaire. >> Click

  • 7 กุมภาพันธ์ รัฐบาลไทยได้เริ่มบังคับให้ผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ต้องตรวจสุขภาพและทำการกักตัวเป็นเวลา 14 วัน
  • 12 กุมภาพันธ์ มีการเฝ้าระวังมากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ 8 จังหวัดที่นักท่องเที่ยวนิยมไป ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กระบี่ และภูเก็ต 
  • 29 กุมภาพันธ์ มีการประกาศให้โรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 ของประเทศไทย
  • 15 มีนาคม ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเกิน 100 ราย และนั่นก็ทำให้ไทยกลายเป็นที่จับตาจากทั่วโลกอีกครั้ง
  • 16 มีนาคม มีการประกาศเลื่อนวันสงกรานต์อันเป็นปีใหม่ไทยออกไป เพื่อป้องกันการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรม ที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ
  • 20 มีนาคม #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ คือแคมเปญที่รณรงค์ให้คนไทยทุกคนอยู่กับบ้าน เพื่อหยุดการแพร่เชื้อซึ่งกันและกัน
  • 22 มีนาคม นายกรัฐมนตรีประกาศพรก.ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร เพื่อควบคุมการระบาดโควิด 19 ไม่ให้ลุกลามไปมากกว่านี้
  • 3 เมษายน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย(กพท.) มีการประกาศยกเลิกเที่ยวบินขาเข้าประเทศทั้งหมดเป็นการชั่วคราว
  • 9 เมษายน มีการประกาศงดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ทั่วประเทศ เพื่อระงับการสังสรรค์ชุมนุมต่างๆที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
  • 11 เมษายน มีจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ต่ำกว่า 50 คนต่อวัน
  • 27 เมษายน ประเทศไทยสามารถควบคุมผู้ติดเชื้อใหม่จนเหลือต่ำกว่า 10 คนต่อวันได้แล้ว

 

Credit: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/871773

Credit: https://news.thaipbs.or.th/content/290004

 

ณ วันที่บทความนี้ได้ถูกตีพิมพ์ (5 มิถุนายน 2563) จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ประเทศไทยมียอดผู้ติดเชื้อโควิด 19 จากวันที่ค้นพบครั้งแรกรวมทั้งสิ้นราวๆ 3,000 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตรวม 58 ราย

จากตัวเลขนี้ เราจะเห็นได้ว่าประเทศไทยนั้นมีความสามารถในการจัดการวิกฤตโควิด 19 ได้มีประสิทธิภาพ และไม่น้อยหน้าประเทศอื่นๆ ในโลก แต่เราเองก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าวิกฤตโควิด 19 นี่เป็นความท้าทายอย่างหนักหน่วงต่อประเทศไทยและผู้ที่อยู่ในประเทศไทยทุกๆคน ในบทต่อไปนี้ เราจะกล่าวถึงประเด็นต่างๆ ที่มีส่วนทำให้ประเทศไทยสามารถรับมือวิกฤตโควิด 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

Please help us by participating in this questionnaire. >> Click

Credit: https://in.reuters.com/article/health-coronavirus

Credit: https://marketeeronline.co/archives/153255

ประเด็นหลักๆ ที่ทำให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับวิกฤตโควิด 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น มีด้วยกัน 3 หัวข้อหลักๆ ดังนี้

[1] วัฒนธรรมไทย – วัฒนธรรมดั้งเดิมและวัฒนธรรมสมัยใหม่ของไทย มีส่วนอย่างยิ่งในการรับมือกับวิกฤตโควิด 19

[2] บทบาทของรัฐบาล – ในช่วงเวลาวิกฤตโควิด 19 รัฐบาลไทยมีความเด็ดขาดในการออกมาตรการต่างๆ เช่น การระงับเที่ยวบินระหว่างประเทศ หรือ การบังคับใช้มาตรการล็อคดาวน์ และรัฐบาลได้มีการร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงสาธารณสุขในการออกมาตรการจัดการและรับมือกับวิกฤตโควิด 19

[3] การเข้าถึงปัจจัยอุปโภคบริโภคและบริการต่างๆ – ประเทศไทยนั้นมีภาคเอกชนที่แข็งแกร่งและมีบทบาทสำคัญในการรักษาระดับการเข้าถึงปัจจัยอุปโภคบริโภคและบริการต่างๆ ในช่วงวิกฤตโควิด 19  ให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับในภาวะปกติ ซึ่งสามารถลดภาวะความตึงเครียดของคนในประเทศไทย ได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าในหลายๆ ประเทศที่เกิดสภาวะขาดแคลนปัจจัยอุปโภคบริโภคจากวิกฤตโควิด 19

เรามาดูรายละเอียดของประเด็นเหล่านี้กันว่าทั้ง 3 ประเด็น ทำให้ไทยรับมือกับวิกฤตโควิด 19 ได้อย่างไร?

 

ประเด็นที่ 1 วัฒนธรรมไทย

[1] วัฒนธรรมที่ไม่เน้นการสัมผัสตัว – ประเทศไทยเรามีการไหว้ เป็นการทักทายประจำชาติ ซึ่งในการไหว้นั้นจะไม่มีการสัมผัสตัวของบุคคลอื่น ดังนั้น การที่คนไทยมีวัฒนธรรมที่ไม่เน้นการสัมผัสตัว ทำให้สามารถลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อโควิด 19 ลงไปได้ ถึงแม้ว่าวัฒนธรรมที่มีการสัมผัสตัวอย่างการกอดจูบจะเป็นที่เริ่มแพร่หลายในหมู่คนไทยหนุ่มสาว แต่พอเกิดวิกฤตโควิด 19 ทุกคนก็พร้อมใจกันที่จะหยุดการทักทายเหล่านั้นเพื่อลดการสัมผัสตัวและลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อโควิด 19 จากบุคคลสู่บุคคล

[2] การใช้หน้ากาก – การสวมใส่หน้ากากเมื่อต้องออกไปในที่สาธารณะเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย ได้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตัวในสังคมไทย ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากเราจะพบคนไทยสวมใส่หน้ากากเวลาออกจากบ้านในช่วงวิกฤตโควิด 19 ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้นเมืองไทยได้มีแคมเปญรณรงค์การสวมใส่หน้ากากเมื่อต้องออกไปในที่สาธารณะในยามเจ็บป่วย โดยเน้นย้ำว่า “เมื่อคุณไม่สบาย คุณต้องปกป้องคนรอบตัวคุณจากอาการป่วยของคุณด้วย” และในช่วงวิกฤตโควิด 19 ข้อความในการรณรงค์ก็ได้ถูกเพิ่มเติมเป็น “เมื่อคุณไม่สบาย คุณต้องปกป้องคนรอบตัวคุณจากอาการป่วยของคุณ และ ปกป้องตัวคุณเองจากอาการป่วยของคนอื่นด้วยเช่นกัน”   

[3] ความเป็นหนึ่งเดียวกันในสังคม – เมื่อเทียบกับในหลายๆประเทศ ความแตกต่างทางการเมืองในไทยนั้นถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรงนัก คนไทยมีการติดตามการเมืองโดยเน้นที่ตัวบุคคล ดังที่เห็นได้จากการดึงตัวนักการเมืองที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมเข้าสู่พรรคในต่างๆ เพื่อเสริมฐานความนิยมให้พรรคนั้นๆ แข็งแกร่งขึ้น ดังนั้นรูปแบบการเมืองไทยจึงไม่ได้เป็นแบบสองขั้ว แต่เป็นแบบมีหลายขั้วหลายแนวทางความคิด ส่วนตัวคนไทยเองนั้นมีความคุ้นเคยกับการเกิดรัฐประหารเป็นอย่างดี ทำให้คนไทยไม่ตื่นตระหนกและคุ้นเคยกับการปฏิบัติตัวตามมาตรการของทางรัฐบาล ทำให้ในช่วงวิกฤตโควิด 19 คนไทยส่วนใหญ่ได้พักเรื่องการเมืองลงชั่วคราวและหันมาประสานให้ความร่วมมือกับทางภาครัฐในการต่อสู้และรับมือกับวิกฤตโควิด 19

[4] การใช้โซเชียลมีเดีย – ผู้คนในกรุงเทพฯมีจำนวนผู้ใช้ facebook มากกว่าจำนวนประชากรเสียด้วยซ้ำ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่คนไทยจะรับข่าวสารต่างๆ ผ่านทางโซเชียลมีเดียอย่าง facebook ซึ่งเป็นช่องทางที่ทำให้รับข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว และวัฒนธรรมโซเชียลมีเดียในไทย ได้ส่งผลต่อการรับมือวิกฤตโควิด 19 ดังนี้

   [a] ความเร็วในการรับข่าวสาร – การที่คนไทยส่วนใหญ่มีอาการติดโทรศัพท์และมองดูหน้าจอโทรศัพท์ตลอดเวลานั้นได้ส่งผลดีต่อการรับรู้และกระจายข่าวจากทางการในช่วงวิกฤตโควิด19 ถึงแม้คนไทยหลายคนจะไม่มีโทรทัศน์ที่บ้าน แต่คนไทยหลายคนก็ยังสามารถรับรู้ข่าวสารได้ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ทำให้คนไทยรับรู้และไหวตัวต่อความเปลี่ยนแปลงในช่วงวิกฤตโควิด19 ได้อย่างทันท่วงที 

   [b] การคัดกรองข่าวสาร – เมื่อก่อนที่จะมีการรับรู้เรื่อง “ข่าวปลอม” นั้น คนไทยได้มีการแชร์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ โดยปราศจากการตรวจสอบความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของตัวเนื้อหา ทำให้เกิดผลเสียต่างๆ ตามมา แต่เมื่อเวลาได้ผ่านไป คนไทยส่วนมากได้มีการตรวจเช็คความน่าเชื่อถือของข่าวต่างๆ ในโซเชียลมีเดียก่อนที่จะทำการแชร์ออกไป และในช่วงวิกฤตโควิด 19 ในส่วนของหลายๆ สำนักข่าวในไทยได้มีการจัดทำในส่วนของ การรวบรวมข่าวปลอม เพื่อเป็นการช่วยยืนยันความน่าเชื่อถือของข่าวที่ถูกกระจายอยู่ในโซเชียลมีเดีย ซึ่งเมื่อผสานกับพฤติกรรมการตรวจสอบข่าวของคนไทย ทำให้คนส่วนใหญ่ในสังคมไทยเริ่มมีการการตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของข่าวก่อนที่จะทำการแชร์ออกไป ทำให้ช่วยในการรับรู้และปฏิบติตามมาตรการป้องกันโควิด 19 เป็นไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น  

[5] ความเชื่อในการทำบุญ – คนไทยนั้นมีความเชื่อในเรื่องการทำบุญโดยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่น สิ่งนี้ได้สะท้อนออกมาในช่วงวิกฤตโควิด 19 ผ่านทางองค์กรและกลุ่มชุมชนต่างๆ ที่ได้ทำโครงการพิเศษเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด 19 เช่น การบริจาคแจกจ่ายอาหารด้วยตู้ปันสุข หรือ การรวมตัวไปทำความสะอาดบ้านพักผู้สูงอายุที่ขาดแคลนบุคลากร ซึ่งความช่วยเหลือเหล่านี้เป็นเรื่องดีๆ ที่ช่วยลดความตึงเครียดในสังคมและเสริมสร้างกำลังใจในช่วงวิกฤตโควิด 19 

Please help us by participating in this questionnaire. >> Click

Credit: https://in.reuters.com/article/us-health-coronavirus

Credit: https://fortune.com/2020/05/22

ประเด็นที่ 2 บทบาทของรัฐบาลไทย

[1] การบังคับใช้มาตรการได้ทันท่วงที – เมื่อเราพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายแรกในประเทศไทยในช่วงเดือนมกราคม รัฐบาลไทยก็เข้าสู่มาตรการเฝ้าระวังทันที ซึ่งในเวลานั้นรัฐบาลของหลายประเทศยังคงอยู่ในช่วงถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องโควิด 19 และนับตั้งแต่เวลานั้นรัฐบาลไทยก็ได้ออกหลายมาตรการมาอย่างฉับพลันเพื่อลดและชะลออัตราความเสี่ยงการแพร่กระจายของไวรัสโควิด 19 ถึงแม้ว่าคนไทยส่วนหนึ่งจะมีการต่อต้านมาตรการต่างๆในช่วงแรก แต่เมื่อทุกคนได้รับรู้ถึงปัญหาและผลกระทบจากไวรัสโควิด 19 ทุกคนก็พร้อมใจกันที่จะให้ความร่วมมือกับมาตรการต่างๆ เพื่อให้ประเทศไทยรับมือกับวิกฤตโควิด 19 ได้อย่างราบรื่น 

[2] ระบบสาธารณสุข - ระบบสาธารณสุขในประเทศไทยเป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับมุมมองต่อระบบสาธารณสุขในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างสิ้นเชิง เพราะระบบสาธารณสุขในประเทศไทยนั้นอยู่ในระดับที่ดีมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ทำให้คนมากมายจากหลายประเทศเลือกที่จะมาใช้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทย ประเทศไทยมีบุคลากรชั้นนำทางการแพทย์ที่มีบทบาทในทั้งภาครัฐและเอกชน  มีส่วนช่วยอย่างมากในการรับมือกับวิกฤตโควิด 19 ครั้งนี้ ทางส่วนของกระทรวงสาธารณสุขนั้นก็ได้เป็นหัวเรือในการออกมาตรการรับมือโควิด 19 ต่างๆ โดยยึดจากข้อมูลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก ทำให้การรับมือโควิด 19 เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับในประเทศอื่นๆ 

[3] อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน – อสม นั้นเป็นองค์กรที่ไม่ค่อยได้ถูกรับการพูดถึงในระดับนานาชาติเท่าที่ควร ในอดีตช่วงการระบาดของโรคเอดส์ อสม มีบทบาทอย่างมากในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส เอชไอวี ซึ่งเป็นบ่อเกิดของโรคเอดส์ และในวิกฤตโควิด 19 นี้ อสม ก็มีบทบาทอย่างมากในการตรวจสอบและป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 โดยการตรวจตราทุกครัวเรือนในหมู่บ้านและแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมในช่วงวิกฤตโควิด 19 และจัดตั้งจุดตรวจเข้าออกภายในหมู่บ้านเพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโควิด 19 ตามหมู่บ้านต่างๆ ในประเทศไทย

 

ประเด็นที่ 3 การเข้าถึงปัจจัยอุปโภคบริโภคและบริการต่างๆ

[1] ภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง – ประเทศไทยมีภาคเอกชนในด้านต่างๆ ที่สามารถรวมตัวกันได้อย่างรวดเร็วยามที่ประเทศไทยเกิดวิกฤต ในช่วงโควิด 19 เราได้เห็นภาคเอกชนสามารถการตอบสนองต่อนโยบายต่างๆ จากรัฐได้อย่างทันท่วงที เช่น การเพิ่มการผลิดของหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอลล์, การบังคับใช้ Social Distancing ตามซูเปอร์มาเกตและร้านค้าต่างๆ, การเพิ่มจำนวนบุคลากรในการให้บริการรับส่งอาหาร ซึ่งทำให้ช่วยในการป้องกันและชะลอการแพร่กระจายของไวรัสโควิด 19 รวมถึงช่วยให้ประชาชนที่อยู่กับบ้านได้รับความสะดวกมากขึ้น

[2] ระบบสาธารณูปโภค – ในช่วงวิกฤตโควิด 19 ประสิทธิภาพของระบบสาธารณูปโภคในประเทศไทย ได้ถูกรักษาไว้ในระดับเดียวเหมือนในช่วงเวลาปกติ ซึ่งทำให้ไม่เกิดวิกฤตขาดแคลน น้ำประปา ไฟฟ้า ซึ่งช่วยลดความตึงเครียดลงได้บ้างเมื่อเทียบกับในอีกหลายๆประเทศ ทำให้การจัดการไวรัสโควิด 19 เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

[3] สังคมดิจิตอล –ในยามที่คนไทยทุกคนต้องอยู่กับบ้านในช่วงวิกฤตโควิด 19 นี้ คนไทยส่วนใหญ่ได้หันมาใช้บริการต่างๆ ผ่านช่องทางดิจิตอลในมือถือและคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น ทำให้คนส่วนใหญ่สามารถใช้ชีวิตอยู่บ้านตามมาตรการล็อคดาวน์โดยที่สามารถซื้อของและจ่ายเงินได้เหมือนในเวลาปกติ ซึ่งการที่คนส่วนใหญ่ลดการออกนอกบ้านลงก็ทำให้ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและการแพร่กระจายของโควิด19 ลงไป 

[4] ระบบการจัดหาอาหาร – สิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีพคือระบบการจัดหาอาหาร ในช่วงวิกฤตโควิด 19 รัฐบาลไทยได้มีการออกมาตรการเพื่อช่วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาและผลิตอาหาร ทำให้คนไทยไม่ต้องกังวลกับเรื่องการขาดแคลนอาหารตลอดดช่วงมาตรการล็อคดาวน์

 

Please help us by participating in this questionnaire. >> Click

คุณภาพชีวิตของชาวต่างชาติในประเทศไทย

ในบทความนี้เราได้พูดถึงประเด็นต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความมีประสิทธิภาพในการจัดการกับวิกฤตโควิด 19 ของไทย ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าในอีกหลายๆ ประเทศ ในอีกด้านหนึ่งนอกจากประเทศไทยจะถูกหลายๆประเทศชื่นชมในการจัดการเรื่องโควิด19 แล้วนั้น ชาวต่างชาติส่วนใหญ่ยังมองประเทศไทยว่าเป็นประเทศที่น่าอยู่มากๆ ในหลายๆ เรื่อง อาทิเช่น

[1] ราคาที่พักอาศัยและบริการที่พอจับต้องได้ – ราคาค่าเช่าคอนโดมิเนียมหรูสองห้องนอนในทำเลที่ดีมากๆ ในประเทศไทยนั้นราคาราวๆ 50,000 บาทต่อเดือน 

[2] ความหลากหลายของการบริการ – ไม่เพียงแค่ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในประเทศไทยจะถูกกว่าในหลายๆประเทศ แต่ยังมีความหลายหลายในการบริการต่างๆ เช่น คุณสามารถพบร้านอาหารนานาชาติในหลากหลายระดับราคาให้เลือกสรร, ร้านค้าต่างๆที่สามารถรองรับคนทุกชาติได้

[3] โรงเรียนนานาชาติ – ประเทศไทยนั้นเต็มไปด้วยโรงเรียนนานาชาติมากมายทั่วประเทศในทุกระดับการสอนตั้งแต่ อนุบาลจนถึงในระดับมหาวิทยาลัย ที่มีหลักสูตรการสอนตามมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ 

[4] ความปลอดภัย – ประเทศไทยนั้นมีอัตราอาชญากรรมที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ประเทศไทยมี safety index สูงเป็นอันดับสามและ อัตราอาชญากรรมอยู่ในอันดับ 7 จากบรรดา 11 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

[5] ความมีไมตรีจิต – นิสัยของคนไทยโดดเด่นในเรื่องของความเอาใจใส่ดูแล ในสายตาของชาวต่างชาติ คนไทยมีชื่อเสียงเรื่องจิตใจที่ยินดีให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่น 

[6] การบริการด้านรักษาพยาบาล - ประเทศไทยมีชื่อเสียงด้านการแพทย์โดยเฉพาะในกลุ่มโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเครื่องมือที่ทันสมัยและการบริการที่เป็นเลิศ ซึ่งดึงดูดให้ชาวต่างชาตินิยมมาใช้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทย 

[7] การยอมรับในทุกกลุ่มคน – สิ่งหนึ่งที่โดดเด่นมากในประเทศไทย คือเปิดกว้างและการยอมรับผู้คนจากหลากหลายกลุ่มคน เช่น ประเทศไทยมีชื่อเสียงในการเป็นประเทศที่ยอมรับและเปิดกว้างในการแสดงออกอย่างอิสระสำหรับกลุ่ม LGBTQ เป็นต้น

จากบทความนี้ เราได้กล่าวถึงความสำเร็จในการจัดการกับวิกฤตโควิด 19 ของประเทศไทย ซึ่งได้มาด้วยการร่วมมือร่วมใจของทุกๆฝ่ายและประชาชนคนไทย ทำให้ประเทศไทยมีชื่อเสียง เหมาะแก่การมาเยือน และมาพักอาศัย และทำให้ประเทศไทยนั้นกลายเป็น ที่พักอันแสนปลอดภัย สำหรับทุกๆ คน  

Are you interested in having your safe haven in Thailand? Please help us learn more about your interest by responding to the following questionnaires. We gladly appreciate your time and response.

 

Download report here >>> Click