อีกหนึ่งยานยนต์ที่มีความสำคัญต่อการขนส่งที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่ารถยนต์คือ เครื่องบิน ซึ่งเราก็ทราบกันดีว่า เครื่องบินนั้นสามารถเดินทางได้ระยะทางไกล และใช้เวลาน้อยกว่ายานพาหนะอื่นๆ แต่สิ่งที่ตามมาคือการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการเดินทางในปริมาณมหาศาล ยิ่งเครื่องบินเดินทางระยะทางไกลมากเท่าไร การปล่อยก๊าซคาร์บอนก็มากขึ้นด้วยเช่นกัน เครื่องบินเองก็ต้องมีพลังงานทางเลือกเพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอนเช่นกัน ทางผู้ผลิตเครื่องบินอย่าง Airbus ก็กำลังมุ่งพัฒนาทางเลือกของพลังงานทดแทนของเครื่องบิน โดยใช้ พลังงานไฮโดรเจน โดยตั้งเป้าไว้ว่า จะทำการผลิตเครื่องบินพลังงานไฮโดรเจนออกสู่ตลาดในปี 2035 ซึ่งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากประเทศฝรั่งเศส ที่สำนักงานใหญ่ของ Airbus นั้นตั้งอยู่

           

            ที่มา dw.com

            ทางแอร์บัส ก็ได้ออกแบบเครื่องบินพลังงานไฮโดรเจนไว้ด้วยกัน ถึง สาม คอนเซปต์โดยในคอนเซปต์แรกนั้น จะเป็นเครื่องบินที่มีเครื่องยนต์แบบ Turbofan หน้าตาเครื่องบินก็จะเล็กกว่า Airbus A320 Neo ซึ่งบินได้ระยะทางราว 3,700 กิโลเมตร บินได้ด้วยความเร็ว 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งระยะทางที่ทำได้นี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อ การบินระยะทางไกลหรือข้ามทวีป

           

            ที่มา airbus.com

                  คอนเซปต์ที่สองนั้น จะเป็นเครื่องบินแบบ Turboprop ซึ่งใช้บินในระยะทางที่ไม่ไกลมากนัก เราอาจไม่ค่อยได้เห็นเครื่องลักษณะนี้ในประเทศไทยแพร่หลายเท่าไหร่ ที่เคยเห็นก็เป็น ATR 72 ของ Bangkok Airways แต่จะเครื่อง Turboprop เห็นแพร่หลายในยุโรปและสหรัฐอเมริกาในรูปแบบของ Regional jets ซึ่งเครื่องบินไฮโดรเจนในคอนเซปต์ที่สองนี้นั้นบินได้ด้วยความเร็ว 600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าเครื่องยนต์ Turboprop ปกติถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

          

            ที่มา airbus.com

                  คอนเซปต์ที่สามนั้นเป็นคอนเซปต์ที่ค่อนข้างแหวกแนว เป็นการออกแบบโดยความร่วมมือของ สายการบิน KLM และ Delft University of Technology ซึ่งเป็นการผสานตัวเครื่องบินเข้ากับส่วนปีกและถังไฮโดรเจน ตัวเครื่องบินจะมีรูปตัว V  แต่ก็ยังเป็นเพียงคอนเซปต์ที่ยังไม่ครอบคลุมทุกพารามิเตอร์ของการเดินทางโดยเครื่องบิน

           

            ที่มา KLM.com

                  นอกเหนือจากการออกแบบ หนึ่งในความท้าทายคือเรื่องของระบบการขนส่งและจัดเก็บก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งจากการศึกษาโดย International Energy Agency พบว่า การปรับปรุงและใช้ infrastructure ที่มีอยู่แล้วของการส่งก๊าซธรรมชาติ นั้น เป็นแนวทางที่คุ้มราคา โดยไฮโดรเจนสามารถถูกส่งผ่านทางระบบท่อ หรือ ทางรถขนส่ง ในส่วนของทางสนามบินก็สามารถสร้างจุดผลิตก๊าซไฮโดรเจนเองด้วยเช่นกันถ้าอยู่ใกล้แหล่งพลังงานทดแทน เพราะถ้าทั้ง ecosystem ต้องการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอน กระบวนการผลิตไฮโดรเจนก็ต้องเป็นกระบวนการที่ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอน และ ใช้พลังงานสะอาด ด้วยเช่นกัน