ถอดคีย์ Empower Living แนวคิด และจุดยืนที่ชนะความท้าทายตลอด 30 ปี เอพีไทยแลนด์
เป็นที่รู้ซึ้งดีว่า สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ได้สร้างความวุ่นวายและพลิกโฉมทั้งโลกในทุกมิติอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นสังคม เศรษฐกิจ การเมือง รวมถึงวิถีชีวิตของผู้คน จนกล่าวได้ว่าเป็นโจทย์ใหญ่สุดอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อนสำหรับแบรนด์และภาคธุรกิจ
30 ปีแห่งความท้าทาย
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่โลกและภาคธุรกิจเผชิญกับความท้าทาย หากเทียบช่วงเจเนอเรชั่นเป็นคนสักคนก็อายุประมาณ 60-70 ปี ช่วงวัยหนุ่มของพวกเขาคือย้อนไป 30 ปีที่แล้ว ต่างต้องเคยเจอช่วงเปลี่ยนผ่านมาครั้งแล้วครั้งเล่า จากประสบการณ์ที่เคยผ่านวิกฤตครั้งสำคัญมาหลายครั้งหลายครา ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ เช่น วิกฤตต้มยำกุ้งปี 1997, วิกฤต Dot-Com ปี 2000, วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2008, วิกฤตยูโรโซนปี 2011, วิกฤตสาธารณสุข เช่น การแพร่ระบาดของไวรัสซาร์ส เมอร์ส และอีโบล่า รวมถึงวิกฤตทางธรรมชาติอย่างสึนามิที่ไทย-ญี่ปุ่น, แผ่นดินไหวที่เนปาล ตลอดจนภัยก่อการร้ายอย่าง วินาศกรรม 11 กันยายน หรือเหตุโจมตีในปารีส ปี 2015
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์ แต่ทุกร่องรอยล้วนสะท้อนให้เห็นว่าพวกเรารับมือภาวะถดถอยมาสู่อนาคตสดใสได้อย่างสง่างาม แม้สถานการณ์ที่ผ่านไปจะเกิดขึ้นในขอบเขตจำกัด เทียบไม่ได้กับวิกฤตโควิด-19 ที่สร้างความหวาดวิตกไปทั้งโลก แต่หลายฝ่ายต่างหวังว่าพวกเราจะผ่านมันไปได้จากความร่วมมือร่วมแรงเป็นหนึ่งเดียวกัน
แนวโน้มเทรนด์โลกส่งผลต่อวิถีแห่งอนาคต
แล้วหลังจากนี้ละจะเป็นอย่างไร?
นี่เป็นคำถามที่หลายคนต่างเดาและวิตกกันไปต่างๆ นานา รวมถึงภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่พยายามหา ‘ทิศทาง’ และ ‘ช่องทาง’ เพื่อให้ธุรกิจยังคงเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งเหล่านักวิชาการหลายฝ่ายต่างคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ เพื่อให้ทุกฝ่ายเตรียมรับมือ โดยเราได้สรุปมาไว้ดังนี้
1.การเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจ (shift in global economic power) : สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม (IFI) ภายใต้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA วิเคราะห์ว่า หลังสถานการณ์โควิด-19 เป็นการตอกย้ำความเป็นมหาอำนาจของจีนมากขึ้น เมื่อจีนเป็นประเทศแรกที่ได้รับผลกระทบและกลับมาฟื้นฟูได้รวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของจีน ประกอบกับการฟื้นฟูประเทศอย่างรวดเร็ว จะเป็นโอกาสให้จีนกลับมาผงาดด้านการค้าในอัตราเร่ง ในขณะที่อดีตมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรปจะตามหลัง เพราะยังอยู่ในระหว่างเยียวยาตัวเอง
2.สังคมจะก้าวเข้าสู่ระบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ (Digital Transformation) : เมื่อผู้คนพยายามหลีกเลี่ยงการติดเชื้อด้วยการอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ เทคโนโลยีจึงกลายเป็นทางออก เทรนด์การซื้อสินค้าออนไลน์, แพลตฟอร์มสื่อสารทางไกลต่างๆ การเรียนออนไลน์ ตลอดจนเทคโนโลยีดิจิทัลอื่นๆ กลับมาได้รับความนิยมแบบทันทีทันใด พฤติกรรมที่เปลี่ยนแบบฉับพลันในการพึ่งพาเทคโนโลยีของผู้บริโภค จะเป็นตัวเร่งให้ธุรกิจต้องพลิกโฉมก้าวกระโดด การใช้เทคโนโลยีในธุรกิจจะไม่ใช่แค่ ‘ทางเลือก’ แต่กลายเป็น ‘สิ่งจำเป็น’ ไปแล้ว
3. ความตื่นตัวด้านสุขอนามัยและสาธารณสุข (Health Awareness) : ผู้คนจะคุ้นชินกับวิถีใหม่ (New Normal) ในการรักษาความปลอดภัยต่อสุขอนามัยในชีวิตประจำวันยิ่งขึ้น เกิดความใส่ใจโครงสร้างพื้นฐานสาธารณสุขมากขึ้น เนื่องจากวิกฤตโควิด-19 ประชาชนจะหันมากระตุ้นให้ภาครัฐสร้างระบบการรักษาที่เข้าถึงได้อย่างเสมอภาค ไม่ปล่อยไปตามกลไกตลาดอย่างที่เคย
4.ความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental awareness) : ภาวะอากาศแปรปรวนทั่วทุกมุมโลก (climate change) ก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง รวมถึงอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องปรับตัว อย่างอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่นำไปสู่ทิศทางการออกแบบใหม่ๆ หรือวางผังเมือง เพื่อรับมือความผันแปรของอากาศ
5.การเปลี่ยนผ่านสังคมผู้สูงวัย (Aging society: Demographic shift) : จากรายงานสหประชาชาติระบุว่าปัจจุบันประชากรทั่วโลกมีอยู่ราว 7.6 พันล้านคน จะเพิ่มเป็น 8.6 พันล้านคน ในปี 2573 และคาดว่าจำนวนผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 60 ปี จะเพิ่มเป็น 2 เท่าในปีนั้น เช่นเดียวกับไทยที่จะมีผู้สูงวัยเพิ่มเป็น 17 ล้านคนภายในปี 2583 นี่จะเป็นความท้าทายทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ผู้ประกอบการจะต้องตระหนัก
6.การขยายตัวของสังคมเมือง (Accelerating Urbanization) : เป็นไปตามการเพิ่มจำนวนของประชากรโลก ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงไทยด้วย แนวโน้มนี้จะทำให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่จะมาตอบโจทย์พฤติกรรมคนเมือง และมาพร้อมความเจริญด้านสาธารณูปโภคต่างๆ
ผลวิจัยสังคมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตลอดกาล
จากการวิเคราะห์แนวโน้มต่างๆ นี้ มีหลายส่วนที่สอดคล้องกับผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคเมื่อปลายปี 2020 ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ‘เรามาถึงจุดเปลี่ยนแล้ว’ ไม่ว่าจะเป็นผลวิจัยของ Terra Hint Brand Series 2020 : Leading the Brand through crisis ที่มาจากกลุ่มตัวอย่างประชากรไทย 1,187 ตัวอย่าง ในหัวข้อ How Covid-19 is Changing lifestyle? ที่ได้ผลออกมาว่า ผู้คนใช้เวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้นถึง 61% ใช้บริการ Food Delivery 60% ซื้อสินค้าออนไลน์ถึง 55% ใช้เวลาทำอาหาร 45% และลองใช้เทคโนโลยีมากขึ้นถึง 37% (เทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 30%)
เป็นทิศทางเดียวกับผลวิจัย “Covid-19 is a pandemic that changes our life” ของ คันทาร์ อินไซท์ ประเทศไทย (KANTAR Thailand) บริษัทวิจัยข้อมูลเชิงลึกและที่ปรึกษาการตลาดระดับโลก ที่สำรวจผู้บริโภคในประเทศอาเซียนอย่าง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย ก็ได้ผลลัพธ์แนวทางเดียวกันโดยสรุปได้ว่าผู้บริโภคทั้ง 4 ประเทศ มีแนวโน้มสูงขึ้นที่จะช้อปปิ้งออนไลน์, ใช้บริการเดลิเวอรี่, มีกิจกรรมในออนไลน์มีเดีย-โซเชียลมีเดีย, ใส่ใจเรื่องสุขอนามัยและอาหารสุขภาพ, ใช้เวลาทำกิจกรรมที่บ้านมากขึ้น ไม่ว่าจะทำงาน ออกกำลังกาย หรือใช้เวลากับครอบครัว ไปจนถึงการค้นพบงานอดิเรกใหม่ๆ มาพัฒนาตัวเอง
เรียกว่าพฤติกรรมผู้บริโภคกำลังให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตในบ้าน และหันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
7 ขั้นความสำเร็จ สู่ความเป็น Empower Living
กระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรอบด้านนี้ กดดันให้ธุรกิจต้องพลิกกระบวนให้ทัน โดยเฉพาะภาคอสังหาที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง เมื่อผู้บริโภคโหยหาชีวิตในบ้านมากขึ้น ทำให้เริ่มคาดหวังบทบาทของบ้านเป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย ซึ่งหากให้ยกตัวอย่างแบรนด์ที่ก้าวข้ามการเปลี่ยนผ่านนี้มาได้มั่นคง หนึ่งในนั้นต้องมี เอพี ไทยแลนด์ ค่ายอสังหาริมทรัพย์ที่ยืดหยันมาตลอด 30 ปี
นี่คือตัวอย่างแบรนด์ที่แม้ผ่านสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง แต่ด้วยยึดมั่นในแนวทางการทำงานและรู้จักพลิกแพลง จึงทำให้เติบโตมาอย่างแข็งแกร่ง โดยเอพีเชื่อว่า “บ้าน” ไม่ได้เป็นเพียงที่อยู่อาศัย แต่เป็นพื้นที่เติมเต็มพลัง ให้ได้ใช้ชีวิตตามเป้าหมายที่ปรารถนา ไม่ว่าสถานะการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหนก็ตาม ที่สำคัญที่อยู่อาศัยต้องยืดหยุ่นรองรับความต้องการที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงได้ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้มีความสุขกับสิ่งต่างๆ รอบตัว และสามารถโฟกัสกับสิ่งที่ผู้อยู่อาศัยให้ความสําคัญ
เพราะการมี ‘ที่อยู่อาศัยที่ดี’ นอกจากความสุขของทุกคนในบ้านแล้ว ยังต้องเติมเต็มทุกเป้าหมายของการใช้ชีวิต แนวคิดเหล่านี้ เอพี เรียกว่า Empower Living
เคล็ด (ไม่) ลับสู่ความสำเร็จของแบรนด์หัวสร้างสรรค์นี้ เกิดจากสั่งสมประสบการณ์และบ่มเพาะมุมมอง จนตกผลึกมาเป็นแนวทางทั้ง 7 ที่ยึดมั่นมาอย่างยาวนาน ได้แก่
1.Empathy Mindset การมองทุกอย่างผ่านมุมมองของผู้อยู่อาศัย ด้วยการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ใช่มองจากมุมของตัวเอง ด้วยแนวคิดนี้ทําให้แบรนด์เข้าถึงความต้องการลึกๆ ของลูกค้าที่อาจไม่เคยถูกค้นพบมาก่อน ทำให้สามารถตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยและครอบครัวได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็ว ท่ามกลางสถานการณ์ที่ผันผวน นอกจากนี้การยึดมั่นใน Empathy Mindset ช่วยให้สามารถจัดลําดับความสําคัญผ่านมุมมองของลูกบ้าน จึงทําให้สินค้าและบริการของ เอพี ไทยแลนด์ ยังคงเชื่อมโยงกับลูกค้าอยู่เสมอ
2.Most Diverse Portfolio เชื่อในความต้องการที่แตกต่าง เอพีมองลึกถึงความปรารถนาการเชิงลึกในจิตใจของผู้อยู่อาศัย ดังนั้นจึงไม่ใช่แค่การออกผลิตภัณฑ์ตาม Living Trends แต่เกิดจากการศึกษาพฤติกรรมเฉพาะกลุ่ม เพื่อให้มีโซลูชั่นที่ตอบสนองความต้องการที่ลึกซึ้งที่สุด เพื่อให้บ้านบ่งบอกความเป็นตัวคุณมากที่สุด
3.Innovation From You...For You ไม่เพียงแค่ที่อยู่อาศัย แต่เอพี ไทยแลนด์ ยังคัดสรรนวัตกรรมที่คิดค้นโดยผู้เชี่ยวชาญ ผ่านกระบวนการ Design Thinking ยกตัวอย่างนวัตกรรมเพื่อความอุ่นใจ Katsan (คัดสรร)ที่ดูแลความปลอดภัยให้คนในบ้านและพื้นที่ส่วนกลาง, แพลตฟอร์มอัจฉริยะ Smart World ที่มุ่งสร้างสังคมคุณภาพให้กับลูกบ้าน เพื่อช่วยสื่อสารระหว่างลูกบ้านและนิติบุคคลเป็นไปอย่างราบรื่น จึงไม่ใช่แค่พัฒนาบ้านที่ดี แต่หมายความว่าการใช้ชีวิตในบ้านจะได้รับการดูแลครบทุกมิติ เพราะแพลตฟอร์มนี้ยังช่วยสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันร่วมกัน ภายใต้แนวคิด Sharing Community โดยเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ให้ลูกบ้านเชื่อมต่อกันมากขึ้น ทั้งในโลกความเป็นจริงและโลกดิจิตอล ให้ลูกบ้านต่างยูนิต หรือต่างโครงการ เข้ามามีส่วนร่วมในการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรื่องราวดีๆ เพื่อนำไปสู่การอยู่อาศัยที่มีความสุข
4.Continuity is the key ยิ่งสถานการณ์และความรู้สึกของผู้คนเปราะบางมากเท่าไหร่ ผู้นําอุตสาหกรรมยิ่งต้องยืนหยัดสร้างความมั่นใจมากเท่านั้น โดยเอพีปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการและข้อจํากัดของปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโปรแกรม One Click New Home เพื่อให้ลูกค้ายังชมโครงการต่างๆ ได้ตลอด 24 ชม. โดยไม่ต้องเข้ามาที่โครงการ
5.Little things make big difference เรื่องเล็กน้อยที่สุดก็ยังใส่ใจมากที่สุด การทํา 1 วันของการอยู่อาศัยให้ราบรื่นและมีความสุขนั้นเป็นเรื่องที่เอพีใส่ใจมาตลอด เอพีจึงให้ความสําคัญแม้รายละเอียดเล็กๆ ในการออกแบบ เช่น ทิศทางลม แสงแดด การจัดวางแพลนบ้าน การดูแลความปลอดภัย อย่างการอำนวยความสะดวกสบายแก่ลูกบ้านด้วยสถานีชาร์จรถไฟฟ้าสาธารณะทั่วประเทศไทยกว่า 50 สถานี หรือการติดตั้ง Smart Pod ล็อคเกอร์อัจฉริยะให้สามารถรับพัสดุได้ตลอด 24 ชม.และ Universal Design ทั้งในตัวบ้านและพื้นที่ส่วนกลางเพื่อรองรับสมาชิกทุกวัยในครอบครัว เป็นต้น
6.Community of the Future การสร้าง Life-Long Relationship เป็นสิ่งที่เอพีมุ่งมั่น เพื่อตอบสนองสังคมที่ให้ความสําคัญต่อคุณภาพชีวิต ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมคุณภาพที่รวบรวมคนที่เชื่อมั่นในพลังในการร่วมสร้างโลกที่ดีกว่า ผ่านกิจกรรมจาก AP Society ที่นอกจากช่วยกระชับความสัมพันธ์ลูกบ้านเอพีแล้ว ยังได้ช่วยเหลือสังคมอีกด้วย
7.Empower Individual Minds ไม่ใช่แค่ตัวที่อยู่อาศัย แต่เอพียังมุ่งเน้นสร้าง “พลังใจ" (Empower) ของคนไทยทั้งประเทศ เพื่อให้ค้นพบความหมายและเติมเต็มเป้าหมายในชีวิต ผ่านกิจกรรมสัมมนา Mind Symposium ที่จะช่วยเปิดแรงบันดาลใจจากวิทยากรชั้นแนวหน้าทั้ง 8 และนิทรรศการ House of Purpose ที่ให้ผู้อยู่อาศัยค้นพบตัวตนในมุมที่อาจไม่เคยรู้มาก่อน ผ่านประสบการณ์อินเตอร์แอคทีฟ โดยกิจกรรมเหล่านี้เอพีไม่ได้จํากัดตัวเองอยู่ในขอบเขตการเป็นแบรนด์ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น แต่ต้องการที่จะช่วยสร้างพลังให้ชีวิตผู้คนมากที่สุด ในแบบที่ไม่มีแบรนด์ทำมาก่อน
นี่คือจุดหมายตลอด 30 ปี ของแบรนด์เอพีในการสร้าง “Empower Living" เพื่อเติมเต็มทุกเป้าหมายของการใช้ชีวิต ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร