สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รายงานภาวะเศรษฐกิจ รายสัปดาห์ ณ 30 เม.ย. 64
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง รายงานเครื่องชี้ ภาวะเศรษฐกิจ รายสัปดาห์ ณ 30 เม.ย. 64 ดังนี้
1. รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน มี.ค. ปีงบประมาณ 64 ขยายตัวร้อยละ 10.4 ต่อปี
2. ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน มี.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 15.2 ต่อปี
3. ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน มี.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 17.8 ต่อปี
4. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 4.1 ต่อปี
5. ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน มี.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 21.2 ต่อปี
6. ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มี.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 18.4 ต่อปี
7. ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 26.3 ต่อปี
8. ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน มี.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 0.6 เช่นเดียวกันกับดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 12.8 ต่อปี
9. GDP เกาหลีใต้ ไตรมาส 1 ปี 64 ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี
Economic Indicators
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน มี.ค.ปีงบประมาณ 64 ได้ 171,136 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.4 ต่อปี โดยขยายตัวจากภาษีมูลค่าเพิ่ม 15.5 ต่อปี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ขยายตัว 14.7 ต่อปี และภาษีเงินได้นิติบุคคล ขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่อปี
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงท่ี ในเดือน มี.ค. 64 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 15.2 ตอ่ ปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 30.6 โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่าย ภายในประเทศขยายตัวท่ีร้อยละ 15.8 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็น ผลจากภาษีมูลค่าเพิ่มบางส่วนถูกเลื่อนจากเดือน ก.พ. 64 มาชำระในเดือน มี.ค. 64 ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจาก การนำเข้า ก็ขยายตัวได้ดีเช่นกันที่ร้อยละ 14.4 ต่อปี สอดคล้องกับทิศทางการนำเข้าของประเทศที่ขยายตัวได้ดี
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน มี.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 17.8 ตอ่ ปี ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนท่ี 2 และขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังปรับผลทางฤดูกาล โดยการจัดเก็บภาษีขยายตัวในทุกหมวดการจัดเก็บ โดยเฉพาะในหมวดการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะที่ขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 17.5 ต่อปี จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคท่ีเริ่มกลับมา หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ช่วงต้นปีเริ่มคลี่คลายลง (ยังไม่รวมผลของการระบาดรอบใหม่) และการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ประกอบกับการท่ี ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ยังมีรายการส่งเสริมการขายออกมาต่อเนื่อง รวมถึงมาตรการทางภาษีของภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นความต้องการของผู้ซื้อได้ดี ทั้งนี้ ยังต้องติดตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดรอบใหม่ ที่คาดว่าจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อสินทรัพยร์าคาสูงอย่างที่อยู่อาศัยให้ลดลงในระยะถัดไป
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 4.1 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลของฤดูกาล ทั้งนี้ การขยายตัวของดัชนี MPI ในเดือน มี.ค.64 เป็นผลมาจาก การขยายตัวในกล่มอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรม ยานยนต์ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์สำเร็จรูปที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 26.9 19.2 42.8 และ 15.5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อุตสาหกรรมที่ยังคงหดตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมผลิต เภสัชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์ท่ีใช้ยารักษาโรค อุตสาหกรรมปั่นใยสิ่งทอ และอุตสาหกรรมทอผ้าที่หดตัวร้อยละ -12.1 -6.7 -9.34 -16.1 และ -14.4 ตามลาดับ
ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวม ภายในประเทศเดือน มี.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 21.2 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 4.9 เทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังปรับผลทางฤดูกาล โดยเป็นการขยายตัวในเกือบทุกผลิตภัณฑ์เหล็ก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานต่ำในปีก่อน ประกอบกับเหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรมขยายตัวในระดับสูง เช่น เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่นรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 62.4, 36.4 และ 27.7 ต่อปี ตามลำดับมีทิศทางสอดคล้องกับภาคการผลิตและภาคการส่งออกที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามสถานการณ์การระบาดรอบใหม่ท่ี คาดว่าจะกระทบต่อความต้องการใช้เหล็กในประเทศ
ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มี.ค. 64 มีจานวน 24,509 คน ขยายตัว ได้ดีท่ีร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเมื่อเทียบกับ เดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวร้อยละ 8.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานตำ่ในปีที่แล้ว ประกอบกับ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในงานมอเตอร์โชว์ 2021 (Motor Show 2021) ส่งผลให้ต้วเลขยอดจองรถยนต์ดีกว่าท่ีคาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง ในไตรมาสที่ 1 ปี 64 ยังหดตัวที่ร้อยละ -24.0 เนื่องจากได้ร้บผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกท่ี 2
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 64 มีจานวน 49,786 คัน กลับมาขยายตัวใน ระดับสูงร้อยละ 26.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่น และขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังปรับผลทางฤดูกาล ขยายตัวตามปริมาณการจำหน่าย รถกระบะ 1 ตัน ที่ร้อยละ 25.8 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการจัดกิจกรรมและเร่งส่งมอบรถยนต์ภายในงาน Motor show 2021 ครั้งที่ 42 ระหว่างวันท่ี 24 มี.ค. - 4 เม.ย. 64 จากที่ปีก่อนงานดังกล่าวถูกเลื่อนไปเดือน ก.ค. 63 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควดิ -19 ส่งผลให้ในปีก่อนมีฐานท่ีต่ำกว่าปกติ ประกอบกับการออกมาตรการ เยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์การระบาดที่เริ่มคลี่คลายลง (ยังไม่รวมผลของ การระบาดรอบใหม่) และรายได้ภาคเกษตรที่ยังคงอยู่ในระดับสูง จากสถานการณ์ภัยแล้ง ที่น้อยกว่าปีก่อนเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ปริมาณจำหน่ายรถยนต์กลับมาเติบโตได้เป็นครงั้แรกในรอบปี
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน มี.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -15.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณา รายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน มี.ค. 64 พบว่า ผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวในหมวดพืชผลสำคัญ และหมวดปศุสัตว์ที่ร้อยละ 0.6 และ 2.8 ตามลำดับ ขณะท่ีผลผลิตในหมวดประมงหดตัวที่ร้อยละ -9.4 โดยสินค้าสำคัญที่ม่ีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก และสุกร ขณะที่ สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตลดลงได้แก่ กลุ่มุไม้ผลและกุ้งขาวแวนนาไม ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 64 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวที่ร้อยละ 1.3
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน มี.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณา รายหมวดราคาสินค้าเกษตรในเดือน มี.ค. 64 พบว่า ดัชนี ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในทุกหมวดสินค้าโดยหมวดพืชผลสำคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมง ขยายตัวท่ี ร้อยละ 16.4 1.8 และ 10.6 ตามลำดับ โดยสินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน กลุ่มไม้ผล สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม ขณะที่สินค้าที่ราคาลดลงได้แก่ข้าวเปลือก ไขไ่ก่ และไก่ ทั้งน้ีในช่วงไตรมาสแรกของปี 64 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมขยายตัว ได้ดีที่ร้อยละ 9.7
Global Economic Indicators
US
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ปี 64 (เบื้องต้น) กลับมาขยายตัวเพิ้มขึ้นจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน หรือคิดเป็นร้อยละ 6.4 เมื่อคำนวนแบบ annualized rate และเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยเดือน ก.พ. 64 ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 12.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 12.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 จากเดือนก่อนหน้า (หลังปรับผลทางฤดูกาล แล้ว) เป็นผลจากดัชนีราคาที่ปรับเพิ่มขึ้น ในเขต West North Central และ Mountain เป็นสำคัญ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ร้อยละ 0.00-0.25 ตอ่ ปี โดยจะคงไว้จนกว่าภาวะตลาดแรงงานจะบรรลุเป้าหมายการจ้างงานอย่าง เต็มศัยภาพตามท่ีเฟดประเมินไว้ และอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นถึงระดับร้อยละ 2 ต่อปี นอกจากน้ี จะยังคงเพิ่มการถือครองหลักทรัพย์ของ กระทรวงการคลังอีกอย่างน้อย 8 หมื่นล้านดอลลาร์ / เดือน และ เพิ่มการถือครองหลักทรัพย์ที่มีหนี่จำนองค้ำประกัน (MBS) อีกอย่างน้อย 4 หมื่นล้านดอลลาร์ / เดือน จำนวนผู้ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (18-24 เม.ย. 64) มีจำนวน 5.53 แสนราย ปรับตัวลดลงจาก สัปดาหก์อ่นหน้าซึ่งเป็นระดับที่ตำ่ที่สุด นับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดมาตั้งแตเ่ดือนมี.ค.63 อย่างไรก็ดีตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ครั้งแรกรายสัปดาห์นี้ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดที่อยู๋ที่ ระดับ 2.3 แสนราย
China
ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 51.1 จุดชะลอลงจากเดือน มี.ค. 64 ท่ีอยู่ท่ีระดับ 51.9 จุดเป็นผลจากคำสั่งซื้อใหม่และยอดการส่งออกที่ชะลอลงสอดคล้องกับดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน เม.ย. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 54.9 จุด ปรับตัวลดลงจากเดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 56.3 จุด อย่างไรก็ดี ดัชนีฯ PMI ทั้งภาคอุตสาหกรรม และบริการยังคงสูงกว่าระดับ 50.0 จุด สะท้อนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ดีหลังวิกฤตโควิด-19
Eurozone
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ระดับ -8.1 เพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ -10.8 และเป็นระดับท่ีสูงที่สุด นับตั้งแต่เดือน ก.พ. 63 เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับการเร่งฉีดวัคซีนของภูมิภาคยูโรโซนนอกจากนี้ ภาค ครัวเรือน เริ่มมีมุมมองที่เป็นบวกกับภาพรวมเศรษฐกิจในอนาคต
Japan
อัตรากาว่างงานเดือน มี.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 จากร้อยละ 2.9 ในเดือน ก.พ. 64 ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค.64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ดัชนีฯ PMI ภาคบริการเดือน เม.ย. 64 ยังปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 53.6 จุดจาก 52.7 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากกิจกรรมในโรงงานเพิ่มขึ้น และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย
Singapore
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อนลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 16.5 จากสินค้าในหมวดการผลิตทางชีวการแพทย์ที่ปรับตัวลดลงเป็นสำคัญ ขณะท่ีดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ไตรมาสที่ 1 ปี 64 อยู่ท่ี 38 จุด เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่อยู่ที่ 32 จุดอย่างไรก็ดี อัตราการว่างงานไตรมาสที่ 1 ปี 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันกับปีก่อนปรับตัวลดลง จากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.2
Weekly Financial Indicators
ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) JCI (อินโดนีเซีย) และ DJIA (สหรัฐอเมริกา) เป็นต้น ดัชนี SET ปรับตัวลดลงในช่วงต้นสัปดาห์แ ละทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นจนถึงปลายสัปดาห์ โดยเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 64 ดัชนีปิดท่ีระดับ 1,590.46 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่าง วันที่ 26 – 29 เม.ย. 64 อยู่ที่ 91,351.87 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะท่ีนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชี หลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งน้ี ระหว่างวนั ท่ี 26 – 29 เม.ย. 64 ต่างชาติซื้อหลักทรัพย์ส์ทธิ 4,612.81 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น ในช่วง 0 ถึง 8 bpsโดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ ระหว่างวนั ที่ 26 - 29 เม.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 11,989.82 ล้านบาท และหากนับจากต้นปี จนถึงวันที่ 29 เม.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 28,022.65 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันท่ี 29 เม.ย. 64 เงินบาทปิดที่ 31.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าข้ึน ร้อยละ 0.25 จากสัปดาห์ก่อนหน้าสอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ อาทิ เงินสกุลยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ปรับตัวแข็งค่าขึ้น จากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะท่ีเงินสกลุเยนปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อ่นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งน้ีเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้น ร้อยละ 0.18 จากสัปดาห์ก่อน
ข้อมูลเศรษฐกิจไทย
ข้อมูลเศรษฐกิจคู่ค้าไทย 15 ประเทศ