บทวิเคราะห์สงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์
บทวิเคราะห์ และจัดทำโดย นายธรรมฤทธ์ิ คุณหิรัญ และ นายญาณพัฒน์ สุขสาราญ
ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง
#บทความนี้สะท้อนความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน และไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับหน่วยงานต้นสังกัดของผู้เขียน
1. สาเหตุสงคราม
ความขัดแย้งของอิสราเอล-ปาเลสไตน์นั้น มีมาอย่างยาวนานเกือบ 100 ปี โดยความขัดแย้งคร้ังล่าสุด เริ่มต้น เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2564 เกิดเหตุปะทะในบริเวณมัสยิดอัลอักซอ (Al-Aqsa Mosque) ระหว่างตำรวจอิสราเอล และประชาชนชาวปาเลสไตน์เป็นเหตุให้ในวันที่ 10 พ.ค. 2564 กลุ่มฮามาส (Hamas) ได้ตัดสินใจตอบโต้จากท่ีตั้งในฉนวนกาซ่า (Gaza) ด้วยการยิงจรวดจำนวนมาก กระจายไปยังเป้าหมายต่าง ๆ ทั่วอิสราเอล และมีการโต้กลับจากอิสราเอล ส่งผลให้เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2564 มีรายงานคนงานไทยในอิสราเอลเสียชีวิต 2 ศพ จากการถูกกลุ่มติดอาวธุฮามาสในปาเลสไตน์ยิงจรวดจากกาซา ข้ามชายแดนมาโจมตีบริเวณภาคใต้ของอิสราเอล
2. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ไทย
2.1 สัดส่วนส่งออก - นำเข้าไทยไปอิสราเอล
อิสราเอลเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการขยายตัวทางเศรษฐกิจอันดับต้นๆในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยอิสราเอลเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) เมื่อปี 2553 และ เป็นประเทศที่ติดอันดับต้นๆ ของประเทศที่มีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนามากที่สุดในโลกและการมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมในระดับสูงจนติดอันดับโลกในเรื่องความคล่องตัวในการทำธุรกิจ
ในปี 2563 ท่ีผ่านมาการค้ารวมระหว่างไทย - อิสราเอลมีมูลค่า 1,022.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -19.7 จากปีก่อนหน้า โดยมีมูลค่าส่งออก 593.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น อัญมณี และเครื่องประดับ เม็ดพลาสติก ข้าว ผลิตภัณฑ์ยางเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น และมีมูลค่าการนำเข้า 428.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ -22.5 จากปีก่อนหน้า สินค้านำเข้าสำคัญ เช่น ยุทธปัจจัย เครื่องจักรไฟฟ้า และส่วนประกอบเครื่องมือเครื่องใช้เก่ียวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
โดยท่ีอิสราเอลเป็นปะเทศคู่ค้าลำดับท่ี 41ในด้านมูลค่าการส่งออกและเป็นประเทศคู่ค้าลำดับที่ 39 ในด้านมูลค่าการนำเข้าของไทยในตลาดโลก (โดยเมื่อพิจารณาประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง 15 ประเทศ อิสราเอลเป็นประเทศคู่ค้าลำดับที่ 4ในด้านมูลค่าการส่งออกและเป็นประเทศคู่ค้าลำดับท่ี 6 ในด้านมูลค่าการนำเข้าของไทย)1
อย่างไรก็ดี สัดส่วนการนำเข้า และการส่งออกระหว่างไทย – อิสราเอล เมื่อเทียบกับ ปริมาณการค้าต่างประเทศของไทย ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ โดยการนำเข้าและการส่งออกระหว่างไทย – อิสราเอล ในปี 2563 มี Market Share เพียงร้อยละ 0.21และ 0.26 ตามลำาดับ (รายละเอียดตามตารางด้านล่าง)
2.2 การลงทุนไทยอิสราเอล
ในปัจจุบัน นักลงทุนไทยยังเข้ามาลงทุนในอิสราเอลจำนวนน้อยมาก ทั้งท่ีอิสราเอลเป็นประเทศที่เปิดกว้างรับนักลงทุนต่างชาติถือหุ้นได้ 100% (ยกเว้น ด้านการทหารและความมั่นคง) โดยสาขาที่รัฐบาลอิสราเอลสนับสนุนเป็นพิเศษได้แก่ เคมีอินทรีย์ เครื่องมือแพทย์ พลังงานชีวภาพโทรคมนาคม และ ICT ทั้งน้ี ปัญหาที่นักลงทุนไทยและต่างชาติกังวล คือ เรื่องของความปลอดภัยจากภาวะสงคราม และต้นทุนการลงทุนที่สูง ทั้งในส่วนของค่าแรงขั้นต่ำ (ท่ีอิสราเอล 53,000 บาท/เดือน) ค่าเช่าพื้นที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าสาธารณูปโภคแพง เป็นต้น
สำหรับการลงทุนจากอิสราเอลในไทยน้ัน เมื่อพิจารณาจากข้อมูลจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ระบุว่า ในช่วงปี 2556-2563 มีโครงการลงทุนของอิสราเอล ซึ่งได้รับการส่งเสริมจาก BOI จำนวน 15 โครงการมีมูลค่าการลงทุน รวมประมาณ 366 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุน ในสาขาอุตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และซอฟแวร์ และกิจการเจียระไนเพชร
2.3 แรงงานไทยอิสราเอล
ประเทศอิสราเอล ถือเป็นตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ Top Ten (ทั้งนี้ จากข้อมูล ณ เม.ย. 2564 มีจำนวนแรงงานไทย 18,728 ราย (คิดเป็นร้อยละ 17.1 ของแรงไทยในต่างประเทศทั้งหมด) โดยแรงงานไทยส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรมของอิสราเอล) ทั้งน้ี จากเหตุการณ์โจมตีท่ีเกิดข้ึนในพื้นท่ีฉนวนกาซา เมื่อวันท่ี 18 พ.ค. 2564 ส่งผลให้แรงงานไทยในอิสราเอลซึ่งพักอาศัยท่ีนิคมอุตสาหกรรมเกษตร Ohad ใกล้พื้นที่ฉนวนกาซา เสียชีวิตจำนวน 2 ราย โดยทางสถานทูตไทยได้มีการลำเลียงแรงงานไทยซึ่งมีอยู่ราว 4,000 คน ที่ทำงานในนิคมฯ ที่ติดเขตฉนวนกาซา ออกจากพื้นที่แล้วจำนวนหน่ึง
2.4 ท่องเที่ยวไทยอิสราเอล (ก่อนเหตุการณ์โควิด-19)
ในช่วงก่อนปี 2562 จำนวนนักท่องเที่ยวอิสราเอลที่เดินทางมาเที่ยวยังประเทศไทยมีจำนวนมากเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศในทวีปตะวันออกกลาง และมีแนวโน้มเพิ่มข้ึนตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมาโดยในปี 2562 มีจำนวนนักท่องเท่ียวจำนวน 195,856 คน (คิดเป็นร้อยละ 0.49 ของจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติรวม ที่เข้ามาประเทศไทยในปี 2562 ท่ี 39.92 ล้านคน) โดยไทยมีรายได้จากการท่องเท่ียวในปีดังกล่าว 518.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็นร้อยละ 0.84 ของรายได้รวมของการท่องเท่ียวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในปี 2562 ท่ี 61,572.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยรายได้จากนักท่องเท่ียวอิสราเอลเฉลี่ยเท่ากับ 82,156 บาท/คน ซึ่งสูงกว่ารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 47,896 บาท/คน สะท้อนว่านักท่องเที่ยวอิสราเอล เป็นนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง (High-Value Tourists)