สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สศม. รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ วันที่ 23 ก.ย. 64 ดังนี้
1. ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ส.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -35.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
2. ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 64 หดตัวร้อยละ -40.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ส.ค. 64 มีจานวน 13,845 คัน หดตัวที่ร้อยละ -35.0 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับ เดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ ร้อยละ -19.0

ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการยกเลิกจัดงาน Big Motor Sale 2021 ซึ่งโดยปกติจะจัดในช่วงเดือนสิงหาคม เนื่องจากมีมาตรการล็อกดาวน์ห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มจำนวนมาก ส่งผลให้กาลังซื้อลดลง ประกอบกับหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ สถาบันการเงินหลายแห่งยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ นอกจากนี้ สถานการณ์การขาดแคลน ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยังคงส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตยานยนตอ์ย่างต่อเนื่อง

 

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 64 มีจำนวน 28,331 คัน หดตัว ร้อยละ -40.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน และหดตัวร้อยละ -26.2 เมื่อเทียบกับ เดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล ตามปริมาณการจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ที่ หดตัวร้อยละ -40.9 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน

ยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศหดตัวในอัตราเร่ง โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการระบาดของ COVID-19 รอบใหม่ ส่งผลให้ประชาชนชะลอการใช้ จ่ายลง รวมถึงการระบาดของโควิดในหมู่แรงงาน บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ และปัญหาการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วนรถยนต์ ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องหยุด การผลิตรถยนต์ในบางรุ่นจนไม่สามารถส่งมอบให้ลูกค้าได้ อย่างไรก็ดีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของรัฐบาลในเดือนก.ย.64 น่าจะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น และช่วยให้การบริโภครถยนต์เชิงพาณิชย์ฟื้นตัวได้ดัขนีในระยะถัดไป

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
สหรัฐฯ
ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่เดือน ก.ค. 64 ที่หดตัวที่ร้อยละ -6.2 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยมียอดสร้างคอนโดมิเนียมใหม่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ทั้งนี้หากเทียบเป็นรายปี จะคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 17.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี ยอดสร้างบ้านใหม่ในสหรัฐฯ ยังคงได้รับผลกระทบจากราคาวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น และการขาดแคลนแรงงาน- ยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เป็นผลจากยอดใบอนุญาตก่อสร้างสาหรับบ้านเดี่ยวและ คอนโดมิเนียมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนนี้
ยอดขายบ้านมือสอง เดือน ส.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -2.0 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผล ทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผล ทางฤดูกาลแล้ว) โดยได้รับผลกระทบจากราคาบ้านที่เพิ่มสูงขึ้น สต็อกบ้านอยู่ในระดับต่า และ ราคาวัสดุสร้างบ้านที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ หากเทียบเป็นรายปีจะคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -1.5 จาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ราคากลางบ้านมือสอง เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 14.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ญี่ปุ่น
ธนาคารกลางประเทศญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ -0.1 ต่อปี เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย

สหภาพยุโรป
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ -4.0 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ -5.3 จุด เนื่องจากผู้บริโภคมีมุมมองในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจยูโรโซนที่มากขึ้น

ออสเตรเลีย
ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 57.3 จุด จาก 52.0 จุด ในเดือน ส.ค. 64 เนื่องจากคาสั่งซื้อจากโรงงานและผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น
ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน ก.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 44.9 จุด จาก 42.9 จุด ในเดือน ส.ค. 64 อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ PMI ยังคงต่ากว่า 50.0 จุด ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคบริการยังคง หดตัวอยู่ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเพิ่มเงื่อนไขการล็อคดาวน์

สิงคโปร์
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่ร้อยละ 2.5 เป็นผลมาจากราคาเสื้อผ้าเป็นสำคัญ

อินโดนีเซีย
ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี เพื่อสนับสนุน การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ฮ่องกง
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือน ก.ค. 64 ที่ปรับตัวสูงถึงร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันของปี จากการมีฐานต่ำ ซึ่งเกิดจากการที่รัฐบาลใช้มาตรการลดค่าเช่าให้แก่ผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดเมื่อปี 63 ทั้งนี้ หากขจัดผลของมาตรการให้เงินช่วยเหลือต่างๆ ของภาครัฐ (government’s one-off relief measures) จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 64 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากราคา สินค้าในกลุ่มสาธารณูปโภค การขนส่ง อาหารและเครื่องแต่งการที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นสำคัญ

ไต้หวัน
อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 64 อยู่ท่ีร้อยละ 4.08 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ท่ีร้อยละ 4.36 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งเป็นระดับท่ีต่ำท่ีสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 64 และเข้าใกล้ระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดที่ประมาณร้อย ละ 3.7- 3.8 ของ กำลังแรงงานรวม

เครื่องชี้ตลาดเงินตลาด อัตราแลกเปลี่ยน

ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคท่ีปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) CSI300 (เซี่ยงไฮ้) และ STI (สิงคโปร์) เป็นต้น เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,619.59 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขาย เฉลี่ยระหว่างวันที่ 20-22 ก.ย. 64 อยู่ที่ 82,650.82 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชี บริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 20–22 ก.ย. 64 ต่างชาติ ขาย หลักทรัพย์สุทธิ -618.27 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 2 ถึง 23 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 20-22 ก.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -8,719.30 ล้านบาท และหากนับจาก ต้นปีจนถึงวันท่ี 22 ก.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 77,835.72 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 22 ก.ย. 64 เงินบาท ปิดที่ 33.44 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -1.61 จาก สัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลยูโร ริงกิต ดอลลาร์สิงคโปร์ และ หยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุลวอน ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับ ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -1.26 จากสัปดาห์ก่อน

Economic Indicators

Global Economic Indicators

 

ขอบคุณข้อมูลจาก Macroeconomic Policy Bureau Fiscal Policy Office Ministry of Finance 02-273-9020 Ext. 3259