สศม. - สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ 1 ต.ค. 64 ดังนี้
1. เดือน ส.ค. 64 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศจำนวน 15,105 คน ขยายตัวที่ร้อยละ 100 ต่อปี
2. มูลค่าการส่งออกในเดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบช่วงเดียวกัน   ปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าในเดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 47.9 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
3. ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.8 ต่อปีขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ส.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -6.4 ต่อปี
4. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ส.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -4.1 ต่อปี
5. ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ส.ค. 64  หดตัวที่ร้อยละ -2.9 ต่อปี
6. การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ส.ค. ปีงบประมาณ 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 36.7 ต่อปี
7. รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ส.ค. ปีงบประมาณ 64 หดตัวที่ร้อยละ -29.0 ต่อปี
8. ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ส.ค. ปีงบประมาณ 64    ขาดดุลจำนวน -78,224 ล้านบาท
9. หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ส.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 57.0 ของ GDP
10. ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 12.4 ต่อปี
11. ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ส.ค. 64 หดตัวร้อยละ -8.3 ต่อปี

เครื่องชี้เศรษฐกจิ ไทย
เดือน ส.ค. 64 จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยและจำนวนผู้เยี่ยมเยือน ชาวไทยยังคงอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง จากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19

เดือน ส.ค. 64 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภทพิเศษ (Special Tourist Visa: STV) นักท่องเที่ยวกลุ่มสิทธิ พิเศษ (Thailand Privilege Card) นักธุรกิจ และกลุ่มสุขภาพ เดินทางเข้าประเทศจานวน 15,105 คน ลดลงจากเดือนก่อน เล็กน้อย โดยเป็นผลมาจากจากสถานการณ์โควิด-19 ใน ประเทศไทย ทั้งนี้ ขยายตัวที่ร้อยละ 100 ต่อปี เนื่องจากปัจจัย ฐานต่ำ โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจาก สหรัฐฯ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิสราเอล และจีน อีกทั้งในจำนวนนี้ยังเป็นนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาตามโครงการ “ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์” 12,345 คน ซึ่งโครงการดังกล่าวเปิดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้า มาเที่ยว จ. ภูเก็ต โดยไม่ต้องกักตัวและเมื่อครบ 14 วันแล้วก็ สามารถเดินทางไปยังจังหวัดอื่น ๆ ได้

ขณะที่การท่องเที่ยวของชาวไทย สะท้อนจากจำนวน ผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยในเดือน ส.ค. อยู่ที่ 893,565 คน หดตัว ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยหดตัวที่ร้อยละ -92.0 ต่อปี โดยมีสาเหตุมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้นในประเทศไทย ทำให้ ศบค. มีมติล็อกดาวน์พื้นที่ เสี่ยงสูงตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค. 64 เป็นต้นมา ขณะที่วันที่ 21 ก.ค. 64 สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ CAAT ประกาศควบคุมเที่ยวบินเข้าออกพื้นที่สีแดงเข้ม โดยห้าม สายการบินพาณิชย์ทุกสายการบินให้บริการเที่ยวบินในประเทศ ทั้งหมดเบื้องต้น 14 วัน ยกเว้นแต่เป็นเที่ยวบินที่เกี่ยวกับพื้นที่ นำร่องเปิดประเทศ หรือลงจอดกรณีฉุกเฉิน

 

มูลค่าการส่งออกในเดือน ส.ค. 64 มีมูลค่า 21,976 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการ ขยายตัวที่ร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปี ก่อน โดยยังคงเป็นระดับการขยายตัวที่ ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน
สำหรับสินค้าสาคัญที่ยังคงเป็นปัจจัยหนุนการส่งออกในเดือนดังกล่าว อาทิ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (17.8%) เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (10.5%) สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ามัน (68.3%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (44.3%) อัญมณีและเครื่องประดับที่ไม่รวมทองคำ (35.7%) กลุ่มผักผลไม้ฯ (84.8%) ผลิตภัณฑ์มันสาปะหลัง (48.4%) ข้าว (25.4%) ยางพารา (98.8%) และอาหารสัตว์เลี้ยง (17.3%) เป็นต้น เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายตลาดคู่ค้า หลักของไทย พบว่า มีการขยายตัวเกือบทุกตลาดสำคัญ โดยเฉพาะตลาดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป อินเดีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกของปี 64 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 15.3 ต่อปี

มูลค่าการนาเข้าในเดือน ส.ค. 64 มีมูลค่า 23,192 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวสูงที่ ร้อยละ 47.9 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
จากการขยายตัวของสินค้านาเข้าสำคัญที่ขยายตัวได้ดีทุก กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสินค้าเชื้อเพลิง (81.8%) กลุ่มสินค้าทุน (23.8%) กลุ่มสินค้าวัตถุดิบฯ (65.7%) กลุ่มสินค้า อุปโภคบริโภค (18.5%) กลุ่มยานพาหนะและอุปกรณ์ฯ (47.3%) ทั้งนี้ มูลค่าการนาเข้าช่วง 8 เดือนแรกของปี 64 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 31.0 ต่อปี สาหรับดุลการค้า ใน เดือน ส.ค. 64 ขาดดุลมูลค่า -1,216 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าสะสมของไทยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 64 เกินดุลมูลค่า 1,407 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม ในเดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลัง ขจัดผลทางฤดูกาล
หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ส.ค. 64 พบว่า ผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมขยายตัว ในหมวดพืชผลสาคัญและหมวดปศุสัตว์ที่ร้อยละ 20.6 และ 3.3 ตามลำดับ ขณะที่ผลผลิตในหมวดประมงหดตัวที่ ร้อยละ -13.6 โดยสินค้าเกษตรสาคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก ยางพารา มันสาปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ กลุ่มไม้ผล ไก่ และสุกร ขณะที่สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ กุ้งขาวแวนนาไม

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรม ในเดือน ส.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -3.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลัง ขจัดผลทางฤดูกาล
หากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตรในเดือน ส.ค. 64 พบว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวในทุกหมวด สินค้า โดยหมวดพชื ผลสาคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวด ประมง หดตัวที่ร้อยละ -6.8 -5.3 และ -10.1 ตามลาดับ โดยสินค้าเกษตรสาคัญที่ราคาเพิ่มขนึ้ ได้แก่ ยางพารา มันสาปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ามัน และไข่ไก่ ขณะที่สินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก สุกร ไก่ กลุ่มไม้ผล และกุ้งขาวแวนนาไม


ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ส.ค. 64 หดตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ -4.1 ต่อปี และหดตัวร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลของฤดูกาล

การขยายตัวของดัชนี MPI ในเดือน ส.ค. 64 เป็นผลมาจากการหดตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม อุตสาหกรรมจักรยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้าแร่และน้ำดื่ม บรรจุขวด และอุตสาหกรรมมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ ที่หดตัวร้อยละ -9.8 -6.8 -45.5 -17.1 และ -30.1 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้นและอุตสาหกรรมน้ำตาลที่ขยายตัวร้อยละ 12.5 12.1 11.9 6.1 และ 47.1 ต่อปี ตามลำดับ

ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก รวมภายในประเทศเดือน ส.ค. 64 หดตัวร้อยละ -2.9 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 8.1 เทียบกับเดือน ก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล
ปริมาณการจำหน่ายเหล็กในประเทศหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการหดตัวต่อเนื่องของเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างโดยเฉพาะเหล็กเส้นข้ออ้อยและเหล็กลวดที่หดตัวร้อยละ-48.7และ-12.4ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี การจำหน่ายเหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรมยังมีทิศทางขยายตัวได้ต่อเนื่องทำให้การจำหน่ายเหล็กภาพรวมในประเทศหดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ในระยะถัดไป การผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มากขึ้นตามสถานการณ์การระบาดมีแนวโน้มลดลงน่าจะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจภาพรวม รวมถึงภาคการก่อสร้างให้ฟื้นตัวได้มากขึ้นในชว่งที่เหลือของปี 64


ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

 

การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ส.ค. ปีงบประมาณ 64 เบิกจ่ายได้ท้ังสิ้น 251,010 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 36.7 ต่อปี ทำให้ 11 เดือนแรกเบิกจ่ายได้ 2,905,930 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.1 คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสม ท่ีร้อยละ 83.0 โดย
(1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้ 243,493 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 39.8 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 83.2 ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น (1.1) รายจ่ายประจา 203,554 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 60.1 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมท่ีร้อย ละ 89.9 และ (1.2) รายจ่ายลงทุน 39,939 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -15.0 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบกิ จ่ายสะสม ที่ร้อยละ 55.7
(2) รายจ่ายปีก่อน เบิกจ่ายได้ 7,517 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -20.7 ต่อปี คิดเป็นอัตรา เบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 80.4 ต่อปี

รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ส.ค. ปีงบประมาณ 64 ได้ 182,829 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -29.0 ต่อปี ทาให้ 11 เดือนแรกจัดเก็บได้ 2,105,023 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -2.6 ต่อปี โดยรายได้หดตัวจากภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ -54.5 ต่อปี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหดตัวร้อยละ -17.6 ต่อปี และกรมสรรพสามิตหดตัวร้อยละ -18.4 ต่อปี

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือน ส.ค. ปีงบประมาณ 64 พบว่า ดุลเงิน งบประมาณขาดดุลจานวน -78,224 ล้านบาท ทั้งนี้เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณแล้วพบว่าเกินดุล 66,066 ล้านบาท ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -12,158 ล้านบาท โดยในเดือนนี้ รัฐบาลมีการกู้เงิน 67,400 ล้านบาท ทาให้ดุลเงินสุดหลังกู้ขาดดุล 55,242 ล้านบาท ทั้งนี้จานวนเงินคงคลังปลายงวดอยู่ที่ 499,342 ล้านบาท

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ส.ค. 64 มีจานวนทั้งสิ้น 9,159,513.19 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 57.01 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 250,449.41 ล้านบาท
ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้ จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ากว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 70 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือ คิดเป็นร้อยละ 86.59 ของยอดหนี้สาธารณะและเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.3 ของยอดหนี้สาธารณะ



ที่มา : สำนักงานบริหารหน้ีสาธารณะ

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับ ราคาคงที่ในเดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 12.4 ต่อปี แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ -2.8
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าที่ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 46.7 ต่อปี จากปัจจัยฐานต่ำจากปีก่อน และทิศทางการนำเข้าที่ยังคงขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่าย ภายในประเทศหดตัวที่ร้อยละ-4.9 ต่อปี จากปัจจัยฐานสูงในปีก่อนที่มีปัจจัยพิเศษจำนวน 3,198 ล้านบาท อย่างไรก็ดีภาษีมูลค่าที่จัดเก็บได้ณระดับ ราคาคงที่ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ปี 64 ยังคงสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 17.4ต่อปี

ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ใน เดือน ส.ค. 64 หดตัวร้อยละ -8.3 ต่อปี และ หดตัวร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน หน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล
การจัดเก็บภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหารมิทรัพย์ ในเดือน ส.ค. 64 หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ในทุกหมวดการจัดเก็บโดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะที่หดตัวรอ้ยละ-5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 รอบ 3 ที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว และส่งผลกระทบต่อรายได้ การจ้างงาน และกำลังซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชน อย่างไรก็ดี สถานการณ์การแพร่ระบาดที่มีแนวโน้มดีขึ้น ตามการกระจายและฉีดวัคซีนที่มีความต่อเนื่อง รวมถึงการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้เศรษฐกิจภาพรวมค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นในช่วงถัดไป

ที่มา : กรมสรรพากร คำนวณโดย สศค.

เครื่องชี้เศรษฐกจิต่างประเทศ
สหรัฐฯ

  • ดัชนีราคากลางบ้าน เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทาง ฤดูกาลแล้ว) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผล ทางฤดูกาลแล้ว) โดยดัชนีปรับตัวชะลอลงในแทบทุกเขต ยกเว้นเขต South Atlantic และ New England ที่เร่งขึ้น ทั้งนี้ หากเทียบเป็นรายปีจะคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 19.2
  • จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (19-25 ก.ย. 64) ปรับตัวเพิ่มขึ้น ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 มาอยู่ที่ 3.62 แสนราย สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 3.48 แสนราย และเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่อยู่ที่ 3.51 แสนราย โดยยังคงมีความกังวล และมีความ ต้องการการดูแลในสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เพิ่มมากขึ้น


จีน

  • ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม (NBS) เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 49.6 จุด ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 50.1 จุด และเป็นการลดลงต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ท่ามกลางการ แพร่ระบาดของโควิด-19 ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหาคอขวดในการผลิต และโดยเฉพาะ ปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้า
  • ดัชนีฯ PMI นอกภาคอุตสาหกรรม (NBS) เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 53.2 จุด กลับมา เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 47.5 จุด จากดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในหมวดคาสั่งซื้อ สินค้าใหม่ คาสั่งซื้อใหม่เพื่อการส่งออก และการจ้างงาน เป็นสำคัญ
  • ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม (Caixin) เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 50.0 จุด กลับมาเพิ่มขึ้น หลังลดลงติดต่อกัน 3 เดือน โดยดัชนีในเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 49.2 จุด จากคาสั่งซื้อใหม่ ที่กลับมาเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบสามเดือน และระดับการบริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสาคัญ

ญี่ปุ่น

  • ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 64 หดตัวร้อยละ -3.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก การเพิ่มสูงขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า
  • อัตราว่างงาน เดือน ส.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อน


สหภาพยุโรป

  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ -4.0 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ -5.3 จุด เนื่องจากผู้บริโภคมีการคาดการณ์ในเชิงบวกต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ ทั่วไป
  • อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 7.5 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อน หน้า ที่อยู่ที่ร้อยละ 7.6 ของกาลังแรงงานรวม แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน

เวียดนาม

  • GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 64 หดตัวที่ร้อยละ -6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากไตรมาสก่อน หน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการหดตัวมากที่สุดตั้งแต่ประเทศ เริ่มบันทึกตัวเลขรายไตรมาส ที่มีรายงานในปี 2529
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -7.8 เนื่องจากผลผลิตของสินค้าอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลง จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 20.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดุลการค้า เดือน ก.ย. 64 เกินดุลที่ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ ขาดดุล -109.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -28.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -33.7 เนื่องจากยอดขายสินค้าประเภทที่พักและการบริการ อาหารเป็นสำคัญ
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้าง เป็นสำคัญ
  • ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 50.9 จุด คงที่จากเดือนก่อนหน้า

มาเลเซีย

  • มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 18.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • มูลค่าการนาเข้า เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 12.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าท่ีขยายตัวที่ร้อยละ 23.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดุลการค้า เดือน ส.ค. 64 เกินดุลที่ 21.4 พันล้านริงกิตมาเลเซีย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ เกินดุลที่ 13.8 พันล้านริงกิตมาเลเซีย
  • ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 48.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ อยู่ที่ระดับ 43.4 จุด

อินโดนีเซีย

  • ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ อยู่ที่ระดับ 43.7 จุด เนื่องจากการเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในบางพื้นที่ของประเทศ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน คงที่จากเดือนก่อนหน้า

เกาหลีใต้

  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 9.6 จากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูง กว่าคาดการณ์ของตลาดที่ร้อยละ 8.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 103.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ อยู่ที่ระดับ 102.5 จุด จากอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 52.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.2 จุด จากผลผลิตและคาสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาก
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 16.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอ ลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 34.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 31.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอ ลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 44.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุปสงค์ใน ประเทศปรับตัวดีขึ้นตามการฉีดวัคซีนที่เพิ่มสูงขึ้น
  • ดุลการค้า เดือน ก.ย. 64 เกินดุลที่ 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ เกินดุลที่ 1.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ฮ่องกง

  • ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 10.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับแรงหนุนจาก ยอดขายสินค้าในกลุ่ม อัญมณีและเครื่องประดับ เชื้อเพลิง สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นสาคัญ
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 25.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 26.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • มูลค่าการนาเข้า เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 28.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 26.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดุลการค้า เดือน ส.ค. 64 ขาดดุลที่ -26.3 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ ขาดดุลที่ -34.9 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง

ฟิลิปปินส์

  • ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 50.9 จุด เพิ่มข้ึนจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ท่ีระดับ 46.4 จุด

ไต้หวัน

  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 13.69 จากช่วงเดียวกันของปี ก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 14.36 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น ผลจากการผลิตที่ชะลอตัวลงในกลุ่มอุตสาหกรรม และการทาเหมืองแร่ เป็นสำคัญ
  • ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 64 หดตัวอยู่ที่ระดับ -4.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจาก เดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -9.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากยอดขายในกลุ่มพลังงาน เชื้อเพลงที่ขายตัวเพิ่มขึ้น เป็นสำคัญ
  • ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 54.7 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ อยู่ที่ระดับ 58.5 จุด และเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 63 ท่ามกลางปัญหาการขาด แคลนชิ้นส่วนการผลิต อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

สหราชอาณาจักร

  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ปี 64 ขยายตัวร้อยละ 23.6 จากช่วง เดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 เม่ือเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤกาลแล้ว)

เครื่องชี้ตลาดเงินตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับตลาด หลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาค ท่ีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) HSI (ฮ่องกง) และ CSI300 (เซี่ยงไฮ้) เป็นต้น เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 64 ดัชนีปิดท่ีระดับ 1,619.59 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขาย เฉลี่ยระหว่างวันที่ 27-30 ก.ย. 64 อยู่ที่ 104,629.74 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 27–30 ก.ย. 64 ต่างชาติ ขาย หลักทรัพย์สุทธิ -622.54 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1 ถึง 23 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งน้ี ระหว่างวันที่ 27-30 ก.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหล ออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -11,107.41 ล้านบาท และหากนับจากต้น ปีจนถึงวันที่ 30 ก.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 65,020.93 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 30 ก.ย. 64 เงินบาท ปิดที่ 33.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -1.19 จาก สัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์ สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับ ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลหลัก อื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.47 จากสัปดาห์ก่อน

Economic Indicators




Global Economic Indicators




​​​​​​​


ขอบคุณข้อมูลจาก Macroeconomic Policy Bureau Fiscal Policy Office Ministry of Finance 02-273-9020 Ext. 3259