ไฮไลท์จากงานสัมมนา “วัคซีนเศรษฐกิจ กระตุ้นอสังหาริมทรัพย์โค้งสุดท้ายปี 2564”
ในงานสัมมนา “วัคซีนเศรษฐกิจ กระตุ้นอสังหาริมทรัพย์โค้งสุดท้ายปี 2564” ซึ่งจัดโดย เว็บไซต์ TerraBKK วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐฯ, สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย, ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทผู้พัฒนาอสังหาฯชั้นนำ ได้มีการเสนอประเด็นสำคัญ ที่มีผลดีต่อการพัฒนาธุรกิจอสังหาฯในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่น่าสนใจในแง่มุมที่หลากหลาย โดยสรุปเป็นประเด็นสำคัญดังนี้
รัฐฯ เร่งหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผ่านนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบหนักในช่วงไตรมาสที่ 2 โดย GDP ติดลบ 12.1% ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลังที่ควบคุมสถานการณ์ covid ได้ ก็จะเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้เร็ว ต้องยอมรับว่าปีที่แล้วสาเหตุที่ GDP ติดลบ สาเหตุหลักมาจากเรื่องของการท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป เพราะไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวถึง 12% ของ GDP ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็นประมาณ 18 % ของ GDP
ซึ่งช่วงต้นปีเกิดโควิด ไทยต้องปิดประเทศ ทำให้การเดินทางเข้าหายไปในช่วงปลายปีที่แล้ว แม้จะเริ่มเปิด long Stay Visa จำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาหลักหมื่นคนต่อเดือน ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวปี63 เหลือ 6.7 ล้านคน เมื่อเทียบกับก่อนโควิดที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 40 ล้านคน ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวจากเดิมที่ 2 ล้านล้านบาท เหลือเพียง 300 ล้านบาท หายไปถึง 1.7 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ต้องประเมินว่าเศรษฐกิจน่าจะได้รับผลกระทบจากการระบาดนับล็อคดาวน์เดือนกรกฎาคมถึง สิงหาคม แต่ก็เริ่มกลับมาฟื้นตัวในช่วงเดือนกันยายน หลังคลายล็อกดาวน์ 1 กันยายน จะเห็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งตอนนี้ภาครัฐเองก็อยู่ในแผนที่เราจะเริ่ม Opening ประเทศ โดยก็จะมีจังหวัดต่าง ๆ ที่เริ่มเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น หลังจากจังหวัดภูเก็ตพื้นที่นำร่องที่เปิดดำเนินการ ตามด้วยพื้นที่พังงา-กระบี่ และพื้นที่รอบเกาะสมุย ซึ่งในระยะถัดไปจะขยายไปยังจังหวัดอื่น ๆ อาทิ เชียงใหม่, เพชรบุรี, ชลบุรี, กรุงเทพฯ และบุรีรัมย์
ดังนั้นจากวันนี้จนถึงสิ้นปีจนถึงต้นปี 2565 ก็จะได้เห็นแผนการ reopening ประเทศไทยที่จะเปิดรับการเดินทางระหว่างประเทศกับเข้ามา มองว่า การท่องเที่ยวก็จะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น
แน่นอนว่าธุรกิจบริการ, ภาคการผลิต, ส่งออก, โรงแรม, ร้านอาหาร ได้รับผลกระทบจากโควิดโดยตรง ซึ่งตั้งแต่ช่วงต้นปีมาถึงช่วงไตรมาสที่ 3 ทำให้หน่วยงานด้านเศรษฐกิจของภาครัฐ ประเมินภาพเศรษฐกิจไทยในจะขยายตัวประมาณ 0.7-1.3%
ส่วนในปี 2565 คาดว่า จะได้เห็นเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้ประมาณ 4% จากปัจจัย 4 หลัก คือ เศรษฐกิจโลกที่มีผลต่อการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวเป็นบวก แล้วก็ได้นโยบายภาครัฐที่จะดำเนินการต่อเนื่อง ด้วยเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเบ็ดเสร็จ จากพรก.กู้เงิน 1 ล้านล้านในปีที่แล้ว ซึ่งมีการเบิกจ่ายไปเป็นส่วนใหญ่
แต่ก็ต้องระวังปัจจัยเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งก็ค่อยๆปรับตัวดีขึ้น จากการฉีดวัคซีนที่เข้ามามากขึ้น ก็น่าจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี รวมถึงหนี้ภาคครัวเรือนกับภาคธุรกิจในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกพักหนึ่งกว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัว หลังจากที่การท่องเที่ยว-กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการเดินทางต่าง ๆ กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ซึ่งภาครัฐเองก็ตั้งเป้าว่าจะฉีดวัคซีนให้ได้ 70% ของของประชากร เป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้มีการ เปิดประเทศ ส่วนการกู้เงินกู้เพิ่มเติม 50 ล้านล้านบาท ในงบประมาณปี 65 เป็นงบประมาณแบบขาดดุล ทั้งในงบประมาณ และในพรบ.เงินกู้ มาตรการสินเชื่อของธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารของรัฐฯ ซึ่งสามารถที่จะผลักดันให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โจทย์สำคัญในอนาคตในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า มองว่า จะเป็นเรื่องของการส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน – การลงทุนภาครัฐ ซึ่งภาคอสังหาฯ ในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญ โดยถือเป็นการลงทุน ที่ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมกำลังเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ – นักลงทุนจากนี้จนถึงต้นปีหน้า
สรุปว่าในระยะสั้น ภาครัฐฯ จะดูแลเรื่องของการฉีดการควบคุมการแพร่ระบาดการฉีดวัคซีน เพื่อการเปิดประเทศอย่างอย่างเหมาะสมจนถึงต้นปีหน้า ส่วนระยะปานกลางก็คงจะต้องเป็นเรื่องของการเร่งการลงทุนภาคเอกชนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือ EEC และการพัฒนาสมาร์ทซิตี้
“วัคซีนโควิด -19” ปัจจัยเร่งความเชื่อมั่นนักลงทุน
ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ในช่วงที่โควิด-19 มีการแพร่ระบาดทำให้เกิดจุดเปลี่ยนในเรื่องของความเชื่อมั่น แต่หลังจากที่การระบาดเริ่มลดลงก็จะเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นในเรื่องของการจับจ่าย เศรษฐกิจสามารถเปิดได้มากขึ้น แม้ว่าบางกิจกรรม จะยังไม่เปิด ทำให้การซื้อการขายในตลาดทุนยังเห็นแนวโน้มไม่มากในตอนนี้ แต่ก็เริ่มเห็นสัญญาณว่านักลงทุนเข้ามาสนใจซื้อ-ขาย ในระยะต่อไป
ซึ่งในระยะสั้นการฉีดวัคซีนที่มากขึ้นเป็นอีกหนึ่งตัวกระตุ้นความเชื่อมั่นที่เริ่มกลับมาในไทยได้มากขึ้น และอีกตัวคือ เรื่องของนโยบายเศรษฐกิจเงินการคลัง ที่มีผลเป็นจุดเปลี่ยนในแง่ของความเชื่อมั่นของกลุ่มนักลงทุน ตามที่กระทรวงการคลัง ได้มีการอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายต่าง ๆ อาทิ เราไม่ทิ้งกัน, เราชนะ, ยิ่งใช้ยิ่งได้, บัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ เหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นการจับจ่ายได้เป็นอย่างดี รวมถึงรัฐบาลก็เพิ่งมีการปรับเพดานหนี้สาธารณะ คิดว่าช่วยได้ก็ทำให้คนมั่นใจได้ระดับหนึ่ง
ในฝั่งของภาคการเงินในปีที่แล้ว ลดดอกเบี้ยลงมาก และยังมีมาตรการในการช่วยกันต่าง ๆ ในปีนี้ก็ยังคงดอกเบี้ยในระดับต่ำแล้วก็มีเรื่องของการทํา Soft Loan ทำให้เห็นภาพว่ามันจะช่วยเรื่องของความเชื่อมั่นในระดับหนึ่ง จุดสุดท้ายที่เป็นนโยบายที่ดีต่อการลงทุนในภาคต่าง ๆ ต่อไป มองว่าเรื่องของนักลงทุนต่างชาติ
ถึงแม้ว่า TerraBKK มีข้อมูลบอกว่า ในปีที่ผ่านมาชาวต่างชาติเข้ามาเป็นกำลังซื้อในภาคอสังหาฯโดยรวมมีไม่มากนัก ส่วนหนึ่งเห็นว่าเกิดจากในช่วงที่ผ่านมามีปัญหาในเรื่องของการโอนการอะไรต่าง ๆ เพราะลูกค้าต่างชาติไม่สามารถเดินทางเข้ามาทำธุรกรรมในประเทศไทย ซึ่งเห็นด้วยกับการที่รัฐบาลออกมาตอบโจทย์ในเรื่องของการให้สิทธิประโยชน์กับเรื่องของนักลงทุนต่างชาติ หรือว่าชาวต่างชาติที่จะเข้ามาอยู่ในประเทศไทยที่ จะหนุนให้นักลงทุนที่มีศักยภาพเข้ามาทำงานหรือมาเกษียณอายุที่ไทยก็จะทำให้เกิดเม็ดเงินไหลเข้าประเทศได้มากขึ้น
ส.สินเชื่อที่อยู่อาศัย เสนอตั้ง “กองทุนส่งเสริม-อุดหนุนที่อยู่อาศัย” หนุนกำลังซื้อลูกค้า
คุณกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กล่าวว่า นโยบายการเงินและสินเชื่อ เป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อธุรกิจอสังหาฯ ซึ่งเราจะสามารถกระตุ้นทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์ และทำให้ระบบของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยมั่นคงได้อย่างไร โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าระดับ Economy จึงอยากจะเสนอว่าประเทศไทย เราน่าจะมีกองทุนสำหรับสนับสนุนการออมก่อนกู้ เรียกว่า “กองทุนส่งเสริม-อุดหนุนที่อยู่อาศัย” เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการและประชาชน โดยเสนอว่า เราควรจะมีสิ่งที่เรียกว่า “โบนัส FAR” ซึ่งได้เคยเสนอเรื่องนี้กับกทม.แล้ว เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพื้นที่ก่อสร้างเพิ่มขึ้นจะได้มีกำไรมากขึ้น
ทำให้สามารถที่จะทำธุรกิจได้ดีขึ้น โดยที่ผ่านมาเคยพูดคุยกับ กทม. ประมาณ 40% และได้มาเพียง 20% ก่อน ทำให้ในปัจจุบันนี้ถ้าเราไปดูผังเมืองผู้ประกอบการ ถ้าสามารถช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยจะได้พื้นที่ “โบนัส FAR” เพิ่ม 20% และกทม. ก็ได้เพิ่ม “โบนัส FAR” ให้กับผู้ประกอบการอื่นให้ได้ “โบนัส FAR” เพิ่ม 20% ด้วย คือ ถ้ามีพื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ห้องน้ำก็ได้ด้วย ทำให้ข้อเสนอที่จะทำให้มีการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและปานกลางก็เลยไม่มีใครสนใจ
ก็เลยคิดว่าเราน่าจะมีระบบที่จะให้“โบนัส FAR” เพิ่ม 20% กับผู้ประกอบการให้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 20% สูงได้ถึง 40% โดยผู้ประกอบการสามารถที่จะได้พื้นที่ FAR เพิ่มขึ้นได้มาก ทำให้ธุรกิจได้ผลตอบแทนมากขึ้น
โดยมีเงื่อนไข คือ ให้แบ่งส่วนหนึ่งของผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น ไปเข้ากองทุนอุดหนุนที่อยู่อาศัย ซึ่งกองทุนนี้เมื่อได้เงินมาจากผู้ประกอบการที่ได้ “โบนัส FAR” ซึ่งบางอย่างที่เรามีอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างสำหรับผู้ประกอบการ เช่น ถ้ามีพื้นที่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าอาจจะได้พื้นที่ FAR สูงขึ้น หรือในพื้นที่พาณิชยกรรมหนาแน่นที่สามารถก่อสร้างพื้นที่ได้สูงขึ้น ส่วนที่สูงขึ้นเกินปกติเนี่ยก็จะถือว่าเป็นโบนัส FAR ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการได้ผลตอบแทนสูงขึ้น ทางกองทุนนี้ก็จะขอแบ่งกำไรหรือผลตอบแทนที่สูงขึ้นส่วนหนึ่ง เข้าไปในกองทุนที่อยู่อาศัย แล้วกองทุนนี้จะใช้ไปสำหรับสนับสนุนการออมเงินดาวน์
โดยผู้ที่ออมเงินดาวน์ตามกำหนดระยะเวลาแล้ว จะสามารถได้โบนัส Saving ทำให้ผู้ซื้อสามารถมีกำลังใจที่จะออมเงิน สำหรับเงินดาวน์ที่อยู่อาศัยมากขึ้น โดยเราอาจจะให้เงินผลตอบแทนของการเงินออมเงินดาวน์สูงตั้งแต่ 25 - 50% ตามระดับรายได้ ตามความคิดที่เสนอกับคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ทำให้ช่วยเหลือทางด้านผู้ประกอบการแล้วก็ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่มีรายได้น้อยและปานกลางทำให้เราสามารถขยายกำลังซื้อไปด้วย
โดยผู้ที่มีเงินออมจากระบบจะสามารถกู้เงินธนาคารได้ง่ายขึ้น เพราะว่าถ้าเรามีเงินดาวน์สูงขึ้นการกู้เงินก็ได้ง่ายขึ้น และสามารถที่จะออมเป็นระยะเช่น 1 ปี หรือ 2 ปี ในช่วงที่ผู้ประกอบการก่อสร้างที่อยู่อาศัยขณะเดียวกันก็จะลดอัตราการปฎิเสธสินเชื่อได้ด้วย ซึ่งกรณีนี้สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เห็นด้วยและพร้อมให้ความร่วมมือด้วย ก็จะเป็นอีกหนึ่งระบบที่จะสร้างให้ธุรกิจอสังหาฯ และกำลังซื้อของประชาชนในระยะยาวมีความเข้มแข็ง มั่นคง
“AP Thailand” งัดกลยุทธ์ 3 ภูมิคุ้มกัน ปรับตัวเร็วผสานองค์กร มุ่งสู่ความสำเร็จสวนกระแสโควิด-19
คุณวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลยุทธ์ความสำเร็จของเอพีในช่วงวิกฤต เกิดจากการปรับตัวมาตลอด กว่า 30 ปีที่ผ่านมา เอพี ได้ผ่านวิกฤตมาตลอด ทำให้ปรับเปลี่ยนลักษณะการทำงาน ให้สอดคล้อง โดยนับตั้งแต่3-4 ปีที่แล้ว ได้ไปตามลักษณะของเทรนด์ในตลาดเป็นเรื่องของ decentralized เรียกว่าการบริหารจัดการต้องเป็นคนที่การตัดสินใจอะไรต่าง ๆ ต้องเป็นคนที่อยู่ใกล้ๆกับลูกค้ามาก ๆ เราเรียกว่าเป็น independent responsible Leaders คือ เราสร้างผู้นำอิสระในทุกๆระดับชั้นของการทำงาน ซึ่งผู้นำจะเป็นผู้ที่มีภาวะที่พร้อมที่จะแก้ปัญหารู้ว่าจะต้องทำยังไงต่อเมื่อมีความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป มีการเสนอแนะ และพร้อมรับผิด-รับชอบ ซึ่งเชื่อว่า independent responsible Leaders จะเป็นตัวหนึ่งที่ขับเคลื่อนองค์กรได้เร็ว ในช่วงที่โควิดเข้ามาใหม่ เกิดภาวะคลุมเครือ แต่เอพีสามารถปรับตัวได้เร็วมาก
นอกจากนี้ต้องใส่ใจเรื่องของการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้ทุกคนสามารถสร้างนวัตกรรมได้ เป็นการพัฒนาสิ่งที่เราทำอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นใน 2-3 ปีที่ผ่านมา เราจะมีการปรับกระบวนการ โดยมีการใส่นวัตกรรมใหม่ ๆ เข้าไป ทั้งเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยี และก็ไม่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเติมเข้าไปอยู่ตลอดเวลา ผ่านพนักงานกลุ่ม Gen Y และก็ Gen Z ที่เอพีเปิดโอกาสให้คิดให้ได้ทดลองทำ
สุดท้ายนะครับเป็นกลยุทธ์สุดท้ายคือ Everything Digital โดยในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา พยายามใช้งานทุกระบบผ่านระบบดิจิทัล เช่น กระบวนการซื้อที่ดินดูผ่านทาง Google Map แล้วดูที่ดินเป็นแปลงๆได้ และสามารถวิเคราะห์ได้ว่าที่ดินแปลงนั้นศักยภาพเป็นยังไงบ้าง ไปจนถึงกระบวนการรับซื้อที่ดิน ไปจนถึงกระบวนการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า ก็เอาเรื่องของ Building information modeling เข้ามา ซึ่งจะประหยัดต้นทุนส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพให้กับลูกค้าได้มากขึ้น รวมถึงการทราบถึงความต้องการ หรือ ฟีเจอร์ของคนกำลังมองหาบ้าง
ในส่วนการทำตลาดลิงค์ไปต่อจนถึงเรื่องของ Digital Marketing ทำให้ยิงโฆษณาผ่านมทาง Facebook, Google ได้แม่นยำขึ้น และสุดท้ายเรื่องระบบหลังบ้านของเราเนี่ยแล้วก็มีระบบบริหารคนที่เป็น vendor ต้องเชื่อมต่อข้อมูลทุกอย่างจนถึงการจ่ายเงิน ซึ่งสามารถวางบิลได้บนระบบได้เลย ด้วยกลยุทธ์ 3 อย่าง ที่ทำให้เรากับพันธมิตร และ Eco System มีการปรับปลี่ยนได้ทันที ทำให้ทุกฝ่ายทำงานได้อย่างสบายใจ และเอพีเองก็ได้รับfeedback ที่ดีในการที่เราเราใช้ดิจิตอลตัวนี้เข้ามาทำ
ส่วน Repair for the world's เราพยายามสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเอพี 3 ข้อ คือ ภูมิคุ้มกันเรื่องระบบการหายใจ โดยส่วนของบริษัทก็คือกระแสเงินสด รายการที่จะต้องมาหล่อเลี้ยงพนักงาน- คู่ค้า และการเจริญเติบโตของธุรกิจ โดยเราก็บริหารส่วนหนี้สินต่อทุนของเราไม่ให้เกิน 1 ซึ่งหากมีการโอนได้เยอะในสัดส่วนของเราก็จะยิ่งดีขึ้นมันก็เป็นโอกาสของเราในการที่มันจะกลับไป โดยจับจังหวะที่เป็นวิกฤตของประเทศ เห็นโอกาสว่าเราสามารถที่จะฉกฉวยโอกาสตรงนี้ได้ในวันที่เรามีความแข็งแรงทางด้านการเงิน
อันที่สองก็คือภูมิคุ้มกันที่เกี่ยวกับป้องกันโรคร้าย ต้องมีอาวุธที่มันหลากหลาย เพื่อที่จะรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งในที่นี้ต้องดูเรื่องการบาลานซ์ portfolio ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเชื่อว่า demand เหล่านี้ ก็จะมีการเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ต่าง ๆ หมายความว่าถ้าเรามี portfolio ที่พร้อม และการบริหารจัดการที่พร้อม ซึ่งก็จะเห็นอยู่แล้วว่าตั้งแต่ปีที่แล้ว เอพี มีการเปิดตัวบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมเยอะมาก
และสุดท้าย ภูมิคุ้มกันที่จะรับความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป คือเรื่องของการกระแสดิสรัปชั่นของเทคโนโลยี หมายถึงต้องเท่าทัน ต้งอมีคนใน Gen Y-Z คนรุ่นใหม่เข้ามาในองค์กรเพื่อที่จะเอาความรู้ความสามารถในการที่ปรับเปลี่ยนวิธีคิดทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งในเอพีมีคนทำงานในกลุ่ม Gen Y กว่า 84% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด ซึ่งคนเหล่านี้จะเป็นคนที่มีความสามารถในการเรียนรู้แล้วก็ปรับเปลี่ยนวิธีการให้เข้ากับกระแสดิสรัปชั่นที่จะเกิดขึ้นได้
แต่ก็ต้องให้ความสำคัญกับคนที่มีประสบการณ์ด้วย การปรับให้คนทั้ง 2 กลุ่ม มีความคิดและวิธีการทำงานที่แตกต่างกันมากมีตัวเชื่อมเพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากๆ โดยเข้าใจบริบทของแต่ละคนซึ่งกันและกันพยายามที่จะปรับวิธีการทำงานของเราเพื่อให้เข้าไปอีกฝั่งนึง ผ่านกระบวนการคิด Design Thinking ที่ทุกคนจะเข้าใจว่านี่คือวิธีการทำงานแบบ AP
เชื่อว่าภายใต้วิกฤตมักจะมีโอกาส เพราะคนต้องการทุก Generation ต้องการหาบ้านอยู่อาศัยหลังใหม่ หรือบ้านที่ตออบรับ aging Society ผู้ประกอบการจำเป็นต้องสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าและคู่ค้าของเราอันนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำ และพร้อมรับคลื่นการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ