ถอดรหัส Ananda Unboxing 5 Service Apartment : เปิดตัว 5 เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำระดับโลก ดิ แอสคอทท์ลิมิเต็ด
คุณชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) มองเห็นศักยภาพในตลาดธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ เปิดตัว Business Model สร้างธุรกิจ recurring income ด้วยความร่วมมือระหว่าง 3 บริษัทใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กลุ่มมิตซุย ฟูโดซัง และ ดิ แอสคอทท์ ลิมิเต็ด (The Ascott Limited หรือ Ascott) เบอร์ 1 ของโลก ที่เข้ามาเป็น Partner Strategic
ชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)
โดย โครงการเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ 5 โครงการ รวม 1,809 ยูนิต มูลค่า 12,000 ล้านบาท คือ
- โครงการแอสคอทท์ ทองหล่อ บางกอก (Ascott Thonglor Bangkok) มูลค่า 3,500 ล้านบาท
- โครงการแอสคอทท์ แอมบาสซี่ สาทร (Ascott Embasst Sathorn) มูลค่า 3,400 ล้านบาท
- โครงการซัมเมอร์เซ็ต พระราม 9 (Summerset Rama 9) มูลค่า 2,500 ล้านบาท
- โครงการไลฟ์ สุขุมวิท 8 บางกอก (Lyf Sukhumvit 8) มูลค่า 700 ล้านบาท
- โครงการซัมเมอร์เซ็ต พัทยา (Summerset Pattaya) มูลค่า 1,900 ล้านบาท
ทำไม? เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ เปรียบเทียบกับ โรงแรม
พบว่า ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 อัตราการเข้าพักภาพรวม (Occupancy rate) ของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์อยู่ที่ประมาณ 50% - 55% ในขณะที่โรงแรมอยู่ที่ประมาณ 27% ซึ่งอัตราการเข้าพักของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์สูงกว่าโรงแรมเนื่องมาจากดีมานด์ของการเข้าพักแบบ Long stay ยังคงมีอยู่จากกลุ่มชาวต่างชาติ ซึ่งต่างจากโรงแรมที่เน้นการเข้าพักแบบ Short stay จากกลุ่มนักท่องเที่ยวเพียงกลุ่มเดียว ทำให้วิกฤตการณ์โควิด-19 ในครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ไม่มากนักถ้าเทียบกับธุรกิจโรงแรม เพราะเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ มีความคล้ายกับคอนโดมิเนียมในบางประการ และสอดคล้องกับนิยาม หรือพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ ที่มีแนวคิดว่า อยากเป็นเจ้าของตลอดเวลาหรือเปล่า หรือเพียงแค่อยากได้ลอง ได้สิทธิการใช้ ซึ่งจะเป็น Generationship ที่เราจะเห็นส่วนนี้มากขึ้น
ในภาพรวม บริษัท อนันดาฯ พยายามหา Business Model ใหม่ๆ เพื่อให้เกิด Recuring Income ที่มากกว่าการสร้างอสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียว ดังนั้น เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ จึงเป็นกลยุทธ์ใหม่ที่เข้ามาสร้างรายได้ในส่วนนี้
ตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์เป็นตลาดที่น่าสนใจ ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้า Long stay ได้เป็นอย่างดี เพราะ
- มีอัตราการเข้าพัก (Occupancy Rate) ที่สูงแตกต่างจากโรงแรมแล้ว
- มีบริการที่ครบครัน ในรูปแบบโรงแรมแต่จ่ายน้อยกว่า
- มีขนาดห้องที่ใหญ่กว่าสามารถพักอาศัยได้ทั้งครอบครัว
- มีราคาเช่าต่อเดือนที่อาจจะสูงกว่าคอนโดมิเนียม แต่ไม่แพงเท่ากับโรงแรม
สำหรับ Mr. Brian Tan ซึงเป็น Country General Manager ของ Ascott Limited ในประเทศไทย และประเทศลาว กล่าวถึง Ascott Limited คือ ส่วนหนึ่งของกลุ่ม Capitaland Investment (CLI) ซึ่งเป็น บริษัทบริหารและจัดการอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำและมีความแข็งแกร่งมากในแถบเอเชีย
ปัจจุบันนี้นั้น Capitaland มี Fund Under Management (FUM) มากกว่า 84,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และมี Real Estate Asset Under Management (RE AUM) มากกว่า 120,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ โดยโครงการอสังหาฯ ในมากกว่า 35 ประเทศ ในกว่า 200 เมือง ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ อสังหา ประเภท residential, commercial, business park, logistic hub, serviced residences, โรงแรม, senior living, และ co-living
บริษัทฯ เป็นหนึ่งใน Top 10 Real estate investment managers ของโลก อีกทั้งยังมี 7 กอง REIT และมี 25 private equity funds ภายใต้ Capitaland Financial ที่สำคัญ บริษัทฯ ยังเป็น Center of Excellence ที่ดูแลเรื่อง community development, innovation, customer service, sustainability, และ digital innovation
ในส่วนของ Global footprint ของ Ascott นั้น บริษัทฯ มีแบรนด์ จำนวน 15 แบรนด์ ใน มากกว่า 35 ประเทศ ในมากกว่า 200 เมือง และ มียูนิต มากกว่า 128,000 ยูนิต ในโครงการกว่า 800 แห่ง และมีหนึ่งกองทรัสต์ คือ The Ascott Residence Trust ในประเทศสิงคโปร์ และ 1 private equity fund
สำหรับ 15 แบรนด์ ประกอบด้วย 7 serviced residence เริ่มที่ สุดยอดแบรนด์ คือ Ascott ต่อด้วย The Crest Collection โดยมี 3โครงการในกรุงปารีส ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และอยู่ในระดับเดียวกับ The Ascott Residences ตลอดจน Somerset Residences, Citadines Aparthotel, Quest Apartment Hotel ซึ่งมีอยู่หลักๆ ในประเทศออสเตรเลีย แบรนด์ Lyf ก็เป็นที่เป็นโครงการแบบ Co-living ที่บริษัทฯ ได้พัฒนาขึ้นเอง และ Domitys ที่เป็น Senior living brand โดยเป็นการ Joint Venture กับผู้ให้บริการ Senior Living ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป
ตลอดจนโรงแรม ทั้งหมด 8 แบรนด์ ที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในส่วนของโรงแรม ทางบริษัทฯ ได้เข้าสู่ธุรกิจโรงแรมเมื่อ 2-3 ปีก่อน จากการเข้าซื้อกิจการของ Tauzia Hotel Management ในประเทศอินโดนีเซีย ที่มีโครงการโรงแรมกว่า 120 โครงการในประเทศอินโดนีเซีย โดยมี PREFERENCE เป็นแบรนด์แบบ Unique Lifestyle เช่นเดียวกับ Vertu hotel ส่วนทางของ Citadines Hotels นั้นก็เป็นเครือเดียวกับ Citadines Aparthotel ส่วน Harris hotel, Fox Hotel นั้นเป็นแบรนด์ระดับทั่วไปของเรา ส่วนทาง Fox Lite, Yello, และ POP! Hotel นั้นก็ แบรนด์โรงแรม สำหรับกลุ่มราคาประหยัด จึงจะเห็นได้ว่าบริษัทฯ มีแบรนด์ในทุกระดับตั้งแต่ 2 ดาว จนถึง 5 ดาว การที่เรามีแบรนด์ถึง 15 แบรนด์ ทำให้เราสามารถเข้าถึงหลากหลายกลุ่มลูกค้า และสามารถรองรับความต้องการที่หลากหลายได้
ทำไม Developer ต่างๆ และ อนันดา ถึงตัดสินใจร่วมงานกับ Ascott มีเหตุผล ที่น่าสนใจ คือ
1. การที่บริษัทฯ มี Sales Driver ที่แข็งแกร่งมาก มี Corporate Clients มากกว่า 94,000 รายและมีสมาชิกกว่า 1.8 ล้านคน
2. เทคโนโลยี มีแพคเกจทางเทคโนโลยีมากกว่า 15 แพคเกจ ซึ่งช่วยในการบริหารงานและค่าใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า ส่วนของ Brand Value นั้น แบรนด์ Ascott, Somerset, CItadines นั้น เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ระดับโลก ด้วย 15 แบรนด์ และมากกว่า 128,000 ห้อง ได้รับรางวัลมากกว่า 28 รางวัลในช่วงสองปีที่ผ่านมา จากทั่วโลก
3. การเป็น serviced residence owner-operator เจ้าแรกที่ได้รับการรับรองจาก Bureau Veritas เพื่อให้มั่นใจได้ว่า property นั้น สะอาด ปลอดภัย ปลอดเชื้อ สำหรับทุกๆ คนที่มาใช้บริการ serviced residences
4. ตัวธุรกิจนั้น มีความเป็น Pandemic-resilient ซึ่งเห็นได้จาก ADR ที่เพิ่มขึ้น 7%, Occupancy เพิ่มขึ้น 24% และ RevPAR ที่เพิ่มขึ้นถึง 38%
5. มุมมองที่เป็น owner-centric ซึ่งไม่ใช่แค่มา invest กับเรา แต่เรายังมีช่องทางให้ divest ได้ เช่น Ascott residence trust และ Ascott Serviced Residence Global Funds เราเองนั้นก็เป็น owner ด้วยเช่นกันทำให้เรามีความเข้าใจใน Asset Enhancement Initiative (AEI) ซึ่งจะ uplift ADR ได้ถึง 20%
Mr. Brian Tan กล่าวเพิ่มเติมว่า มีความยินดี และภูมิใจเป็นอย่างมาก ที่ได้ร่วมงานกับ Ananda ด้วยการเป็น Strategic Partner ทั้งนี้ในประเทศไทย บริษัทฯ มี 24 โครงการ และ 5,000 ห้อง ซึ่งจำนวนมากกว่า 1,800 ห้อง นั้นเป็นของอนันดาฯ ทำให้อนันดาฯ เป็นพาร์ตเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยสำหรับ Ascott Limited และเป็น 1 ใน 5 พาร์ตเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สำหรับแนวทางที่จะฟื้นตัวจาก pandemic ซึ่งในส่วนของการ Recovery นั้น มีการทำอยู่แล้ว และในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา การ Revenge Travel ก็กำลังเกิดขึ้นจาก จากจำนวน occupancy ที่เพิ่มขึ้น และในปีหน้า จะได้เห็นการ Rebound ทำให้เห็นการเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากช่วง pandemic ในสองปีที่ผ่านมา ได้ผ่านพ้นไป
ภาพลักษณ์ของแบรนด์ ต่างๆ สำหรับ แบรนด์ Ascott นับเป็นแบรนด์ระดับ Hi-End ที่มีอยู่ในเมืองหลักๆ เน้นความเป็น Timeless Tradition ทั้งใน สิงคโปร์ เซิ่นเจิ้น และทองหล่อ กรุงเทพฯ รากฐานของแบรนด์ Ascott นั้นคือ ความเป็น Icon & Landmark มีการใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ มีคุณค่าทางจิตใจ และความรู้สึกแก่ผู้เข้าพัก เป็นดัง private sanctuar ส่วนแบรนด์ Somerset คือ Inspired living ของที่อยู่อาศัยในเขตเมือง
MR. CHRISTOPHER CHANG HEAD OF SERVICED APARTMENTS BUSINESS UNIT, ANANDA DEVELOPMENT กล่าวถึง การ Identify Location ของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ โดยดูจากทำเลสำคัญที่มี Expat เยอะที่สุด คือที่ใด เริ่มจาก สาทร ทำเล CBD ตลอดกาล ตามด้วย พระราม 9 ที่กำลังกลายเป็น New CBD ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ออฟฟิศ ประมาณ 1,000,000 ตารางเมตร ตามด้วยสุขุมวิท 8 เพียง 150 เมตร จากสถานีนานา ที่นี่นับเป็นจุดศูนย์กลางของนักท่องเที่ยวทั้งยุโรป และอเมริกา ในช่วงก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทำเลนี้มี Occupency Rate มากถึง 90-100% มาถึงทองหล่อ ที่เรียกได้ว่าเป็น Center of luxury & lifestyle สำหรับคนไทย หรือ Expat นับเป็นเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์แรกๆ ที่ติดถนนสุขุมวิทในโซนทองหล่อ และสุดท้ายที่พัทยา ได้ที่ดินใจกลางพัทยา ตรงข้าม Central Fesitival Pattaya เป็นโซนที่ไม่ว่าจะเกิดวิกฤติใด ก็สามารถ Recover กลับมาได้เร็วที่สุด และมี Occupency rate สูงที่สุดในพัทยา
1. โครงการแอสคอทท์ ทองหล่อ บางกอก (Ascott Thonglor Bangkok) ระดับ 5 ดาว ของแบรนด์ Ascott จำนวน 451 ห้อง เป็นทำเลที่รองรับกลุ่มญี่ปุ่น เกาหลี จีน สหรัฐอมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายสำหรับที่นี่ มุ่งเน้นเป็น Long style 50%
2. โครงการแอสคอทท์ แอมบาสซี่ สาทร (Ascott Embasst Sathorn) จำนวน 393 ห้อง เป็นทำเลออฟฟิศ และ Business Travel ตรงข้ามซอยคอนแวนท์ ที่มีโรงพยาบาล BNH ก็จะมี Medical Tourism จึงไม่น่าแปลกใจที่ทำเลนี้มีลูกค้าเป็นชาวจีน อันดับ 1 เพราะบินมาหาหมอที่เมืองไทย มีจุดนี้เป็นจุดดึงดูด โดยมี hilight ที่น่าสนใจ คือ วิว 360 องศา มองเห็นแม่น้ำเจ้าพระยา ตึกมหานคร สวนลุมพินี
3. โครงการซัมเมอร์เซ็ต พระราม 9 (Summerset Rama 9) จำนวน 445 ห้อง เป็นทำเลที่มี Occupency ประมาณ 90% และมีค่าเช่าออฟฟิศในบริเวณนี้ใกล้เคียงกับทำเลสาทร ซึ่ง ซัมเมอร์เซ็ต พระราม 9 จะเป็น Hi-End เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์แห่งแรกบนย่านพระราม 9 ที่ติดถนนใหญ่ เนื่องจากทำเลนี้ มีออฟฟิศเกรด A ค่อนข้างมาก ทำให้กลุ่มลูกที่นี่ เป็นลูกค้าบริษัทจากยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แล้วตามด้วยลูกค้าชาวจีน สร้างเสร็จเรียบร้อย เตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ธันวาคม 2564 นี้
4. โครงการไลฟ์ สุขุมวิท 8 บางกอก (Lyf Sukhumvit 8) เป็นแบรนด์แนวคิดใหม่ ที่มี co-living space ขนาดห้องไม่ใหญ่มาก เน้นความเป็น smart living, Internet hi-speed
5. โครงการซัมเมอร์เซ็ต พัทยา (Summerset Pattaya) รีสอร์ทสไตล์โรงแรม ทำเลนี้กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย มองถึงกลุ่มลูกค้าชาวไทยด้วย เพราะเวลาไปเที่ยวแบบครอบครัวใหญ่ๆ มักต้องจองห้องโรงแรมทีละ 2-3 ห้อง ซึ่งข้อดีของการเป็นเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ คือมีห้องขนาดใหญ่ ทั้ง 2 - 3 ห้องนอน ในราคาที่ถูกกว่าการจองโรงแรม จึงเหมาะสำหรับ Family Travel โครงการนี้จึงมี water park บนตึกสูง 30 กว่าชั้น รองรับลูกค้าชาวไทย จีน รัสเซีย อินเดีย และเกาหลีใต้
Mr. Brian Tan เพิ่มเติมด้วยว่า เนื่องด้วยอสังหาริมทรัพย์แบบ service residence นั้นแทบทั้งหมดมีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรม ทำให้ไม่ได้มองแค่ตลาด serviced residence แต่ยังมองไปถึงตลาดโรงแรมด้วย
อย่างที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 นั้น ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรมอย่างรุนแรง จ้องบอกเลยว่า ช่วงก่อนการแพร่ระบาดโควิด-19 บริษัทฯ ได้เห็นการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยว ในปี 2015 เป็นอย่างมาก มีจำนวนนักท่องเที่ยวถึง 30 ล้านคน และในระยะเวลาเพียง 4 ปี จำนวนนักท่องเที่ยวได้เพิ่มขึ้นเป็น 40 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นการเติบโตที่สูงมาก และประเทศไทยเอง ก็เป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวลำดับต้นๆ ของโลก
เมื่อมองกันในมุมนี้นั้น ตลาดโรงแรมในประเทศไทยก็เป็นตลาดที่มีศักยภาพและสามารถเติบไตได้อย่างมาก แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ได้เข้ามาทำลายการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ ยอด occupancy rate ก็ลดลงจาก 79% ในปี 2018 เหลือเพียง 77% ใน 2019 และ เหลือเพียง 23% ในปี 2020 และในปีนี้ ถือว่า ocuupancy rate นั้น ต่ำที่สุด อยู่ที่ 21% ในพื้นที่กรุงเทพฯ แต่ถึงกระนั้นบริษัทฯ ยังมองเห็นถึงความเป็น pandemic-resilient เพราะในขณะที่ปีที่แล้ว occupancy rate เฉลี่ยนั้นอยู่ที่ 23% แต่ occupancy rate ของบริษัทฯ อยู่ที่ 35-55% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยอย่างมาก
สำหรับกลุ่มผู้อยู่อาศัยระยะยาวนั้น ลูกค้ายังพักอยู่กับเราตลอดช่วงโควิด-19 ไม่ได้จากไปไหน เพราะมีธุรกิจที่ต้องดูแล หรือมีเหตุผลที่ทำให้ต้องอยู่ จึงต้องให้เครดิตกับทีมการตลาด เอเยนต์ และพาร์ตเนอร์อย่างมาก ที่แม้ว่านักท่องเที่ยวจะหายจากไป แต่ทีมงานก็ยังสามารถทำให้ลูกค้าอยู่กับโครงการ และรักษาธุรกิจให้เป็นบวกอยู่ได้ มีไม่กี่คนที่สามารถทำได้ และในปีนี้ ที่ตลาดเริ่มฟื้นตัว ถึงแม้จะมีโควิดสายพันธุ์เดลต้า แต่ธุรกิจก็ยังมั่นคงต่อได้ ในไตรมาส 4 นั้น เราได้เห็นสัญญานการเติบโตที่ดีขึ้น และจะยิ่งดีขึ้นในปีหน้า ยิ่งเชื่อมั่นว่ามีแนวโน้มในทางบวก แต่ก็ยังอยู่บนพื้นฐานของการไม่ประมาท
ทิศทางของตลาด serviced apartment ว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง
Mr. Brian Tan พูดถึง ทิศทางของตลาด ที่หมายความถึง demand และ supply สิ่งหนึ่งที่เป็นโอกาสในตลาด serviced apartment นั้นคือ ตลาดนี้ยัง underserved เมื่อเทียบกับตลาดโรงแรม ซึ่งคำว่า underserved นั้นหมายความว่า supply นั้นอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับ demand และ demand ก็อยู่ในระดับสอดคล้องกับ supply ถ้าเราดูจากสถิติของตลาดนี้เมื่อห้าปีก่อน นั้น อยู่ที่ 15,000 ห้อง และเพิ่มเป็น 17,500 ห้อง ในปี 2019 ซึ่งเป็นการเติบโตแบบปกติที่ราวๆ 3% ในส่วนของ supply เมื่อเรามาดูที่จำนวนของ expat ในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ ซึ่งเติบโตขึ้นจาก 135,000 คน เป็น 230,000 คน ในช่วงเวลาสี่ปี ซึ่งก็เป็นการเติบโตถึง 14% ในส่วนของดีมานด์ ดังนั้นราจะเห็นได้ว่า demand นั้นยังมีอยู่มากกว่า supply ในตลาดนี้ แต่ถ้าเรามองแค่ในกรุงเทพฯ ดีมานด์จะอยู่ที่ 3% ซึ่งก็ใกล้เคียงกับการเติบโตของ supply ในกรุงเทพฯ ดังนั้น จึงมองว่า ตลาดนี้ ยังเป็นตลาดที่ดี และยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก
ในส่วนของ Expat ในกรุงเทพฯ ตอนนี้มีจำนวนอยู่ที่ 90,000 คน ในปี 2019 และในช่วงสองปีที่ผ่านมาตัวเลขลงมาอยู่ที่ 80,000 คน แต่ก็ถือว่าค่อนข้างคงที่ เพราะตัวเลขก่อนปี 2017 ก็อยู่ที่ 80,000 ซึ่งตอนนี้ตัวเลข ก็ยังไม่ได้ตกลงไปจากตอนนั้น ทุกๆ คนชอบเมืองไทย เมืองไทยนั้น มีทุกอย่างสำหรับคนทุกระดับและทุกฐานะ ทำให้ expat นั้นอยากอยู่อาศัยในเมืองไทย และทำให้กรุงเทพฯ เป็นเป้าหมายต้นๆ ที่ expat อยากจะมาอยู่อาศัย
อนาคตยังมีแผนความร่วมมือระหว่าง Ananda และ Ascott ในการทำโครงการอื่นๆ ที่สามารถร่วมกันทำได้ เพราะ บริษัทแม่ อย่าง Capitaland นั้นมีความเชี่ยวชาญในหลากหลายธุรกิจ เช่น Business park, logistic hub เป็นต้น ก็ยินดีที่จะมองหาโอกาสในธุรกิจอื่นๆ ร่วมกัน
แม้จะโควิดสายพันธ์โอไมครอน แต่จากที่เรารู้กัน มันก็มีสัญญานที่ดี เพราะแม้ว่าโอไมครอนจะติดต่อง่าย แต่ก็มีอาการไม่รุนแรงมากเหมือนเดลต้า ในประเทศที่พบโอไมครอนก็ยังไม่พบการระบาดหนัก ยังเร็วไปที่จะสรุปหรือบอกอะไรเกี่ยวกับโอไมครอน แม้ว่าข่าวของโอไมครอนจะทำให้เกิดการยกเลิกการเข้าพักในโรงแรม
การที่เราอยู่กับไวรัสนี้มาได้ตลอดสองปีนั้น ทำให้หลายๆ ประเทศเลือกที่จะอยู่กับไวรัส หรือที่เรียกว่า Endemic คือ ยอมรับและ อยู่กับมัน เช่นในประเทศนอร์เวย์ ที่ได้วางให้อยู่ในระดับเดียวกับไข้หวัดใหญ่ คือเราต้องอยู่กับมันต่อไปนั่นเอง และเราก็ได้คุยกับ Industry expert อย่าง STR ซึ่งประเมิน occupancy rate ของปีหน้า ไว้ที่ 55% อันนี้ คือ ก่อนเจอโอไมครอน จากนั้นก็มีการประเมินอีก เราก็คิดว่าตัวเลขน่าจะลง แต่ตัวเลขจากการประเมินอีกครั้งนั้นกลับขึ้นเป็น 57% ซึ่งแปลว่า โอไมครอนจะไม่ส่งผลกระทบมากต่ออุตสาหกรรม hospitality เพราะคนส่วนมากก็ไม่อยากล็อคดาวน์แล้ว อยากออกไปเที่ยว อย่างเช่นในสิงคโปร์ที่พอมีข่าวของการเปิด travel lane กับบางประเทศ ผู้คนก็แห่เข้าไปจองตั๋วเครื่องบินจนเวบของ Singapore Airlines นั้นล่ม
และคิดว่า เราผ่านจุดแล้วร้ายของวิกฤตโควิดมาแล้ว เราได้เริ่มเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน คนส่วนใหญ่ก็มีภูมิคุ้มกันแล้ว ไม่ว่าจะจากวัดซีน หรือภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อ เราจึงได้เห็นสถานที่ที่คนมากมายมารวมตัว เช่น ในสนามกีฬาในยุโรป และรวมถึงในห้างที่เมืองไทย ซึ่งก็แสดงว่าเราพร้อม และสามารถที่จะอยู่ร่วมกับไวรัสได้ ซึ่งเราก็ต้องเดินหน้าใช้ชีวิตกันต่อไป
ตัวอย่างค่าห้องพัก Ascott Thonglor Bangkok ในราคาที่ไม่ต่างจากคอนโดมิเนียม แต่บริการแบบโรงแรม
- ห้อง Standard 3,500 บาทต่อวัน และ 65,000 บาทต่อเดือน
- ห้อง Studio (+kitchen) 4,000-4,500 บาทต่อวัน และ 75,000-80,000 บาทต่อเดือน
- ห้อง 1B 5,000-5,500 บาทต่อวัน และ 85,000-90,000 บาทต่อเดือน
- ห้อง 2B 7,500-9,000 บาทต่อวัน และ 95,000-100,000 บาทต่อเดือน
- ห้อง 3B มีเพียง 3 ยูนิตเท่านั้น 12,000-15,000 บาทต่อวัน และ 130,000-150,000 บาทต่อเดือน